วิธีแก้ อาการเมาค้าง – การดื่มต่อเพื่อ ‘ถอน’ ช่วยได้จริงไหม

เมื่อพูดถึงแอลกอฮอล์หลายคนก็ยิ้มเลยค่ะ เพราะมันเป็นเครื่องดื่มสุดฮิตที่หากได้ดื่มที่ไหนความสนุกก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั่น คุณดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงใดกันบ้าง? ดื่มทุกวัน? ดื่มเฉพาะวันเกิด? หรือดื่มเฉพาะวันหยุด? แน่นอนว่าหากเริ่มดื่มแล้ว คุณอาจจะหยุดมันไม่ได้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีทั้งแบบขม แบบหวานและแบบอร่อยที่ทานได้ง่าย คุณสามารถเลือกดื่มได้ตามชอบ สิ่งที่เรารู้ดีก็คือลิมิตของการดื่มแอลกอฮอล์ของเรานั้นไม่ทำกัน บางคนเมายาก บางคนเมาง่าย ซึ่งแน่นอนว่าทั้งสองแบบก็เมาเหมือนกันหมด

คุณเคยประสบกับอาการ “เมา” หรือไม่? หากเคยคุณจะต้องรู้ดีว่าอาการแฮงค์มันน่าเบื่อมากขนาดไหน เพราะนอกจากจะไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรไปบ้างแล้ว ตื่นมายังเพลียสุด ๆ อีกด้วย ใครก็ตามที่เคยเมาหรือดื่มมากเกินไปจะรู้ดีว่าผลที่ตามมาจะทำให้คุณ ปวดหัว, ป่วย, เวียนศีรษะและขาดน้ำ แอลกอฮอล์ทำให้คุณฉี่มากขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การขาดน้ำ การขาดน้ำเป็นสาเหตุของอาการเมาค้างหลายอย่าง (1),(2) ซึ่งไม่มีวิธีรักษา ไม่มียาวิเศษสำหรับแก้อาการเมาค้าง แต่มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงและช่วยบรรเทาความรู้สึกที่ไม่สบายตัวได้ หากวันนี้คุณกำลังอยากหาวิธีในการแก้เมาค้าง เรามีมาแนะนำค่ะ อีกทั้งเรายังจะมาขอไขความกระจ่างเกี่ยวกับคำพูดที่ว่า “จั่งซี่มันต้องถอน” หรือการดื่มเพิ่มเพื่อถอนแอลกอฮอล์ว่าช่วยได้จริงหรือไม่ ? หากพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ

เคล็ดลับเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเมาค้าง

  • อย่าดื่มมากไปเกินกว่าที่ร่างกายของคุณสามารถรับมือได้ หากคุณไม่แน่ใจว่าลิมิตการดื่มแอลกอฮอล์ของคุณมีเท่าไหร่ให้ระวัง
  • อย่าดื่มตอนท้องว่าง ก่อนเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเช่นพาสต้า ข้าวหรือไขมัน อาหารจะช่วยชะลอการดูดซึมแอลกอฮอล์ของร่างกาย
  • อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีสีเข้มหากคุณพบว่าคุณรู้สึกไวต่อมัน เพราะเครื่องดื่มสีเข้มเหล่านี้มีสารเคมีจากธรรมชาติที่เรียกว่าคอนเจนเนอร์ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดและเนื้อเยื่อในสมองระคายเคืองและอาจทำให้อาการเมาค้างแย่ลง
  • ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำอัดลมที่ไม่มีฟองระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิดของเครื่องดื่มที่มีฟองจะช่วยเร่งการดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายของคุณ
  • ดื่มน้ำสักแก้วก่อนเข้านอน วางแก้วน้ำไว้ข้างเตียงเพื่อจิบหากคุณตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืน
การรับมือกับอาการเมาค้าง

การรักษาอาการเมาค้าง

การรับมือกับอาการเมาค้างนั้นเกี่ยวข้องกับการคืนความชุ่มชื้นให้ร่างกายเพื่อช่วยจัดการกับอาการเจ็บปวด เวลาที่ดีที่สุดในการเติมน้ำคือก่อนเข้านอนหลังการดื่ม ปกติแล้วยาแก้ปวดสามารถช่วยแก้ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อได้ (ควรใช้อย่างระมัดระวัง) อาหารที่มีน้ำตาลอาจช่วยให้คุณรู้สึกสั่นน้อยลง ในบางกรณีอาจต้องใช้ยาลดกรดเพื่อทำให้กระเพาะอาหารของคุณดีขึ้นก่อนด้วย ซุป Bouillon (น้ำซุปบาง ๆ จากผัก) เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่ดีซึ่งสามารถเติมทรัพยากรที่หมดลงได้ นอกจากนี้ยังง่ายสำหรับกระเพาะอาหารที่บอบบางในการย่อย คุณสามารถทดแทนของเหลวที่สูญเสียไปได้ด้วยการดื่มของเหลวที่อ่อนโยนต่อระบบย่อยอาหารของคุณ เช่น น้ำเปล่า น้ำโซดาและเครื่องดื่มไอโซโทนิก (2),(4)

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

การดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น การดื่มเพื่อถอน หรือหากเปรียบเทียบสำนวนในภาษาอังกฤษก็จะได้ว่า “hair of the dog” หากเทียบกับสำนวนไทยก็คือ “หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง” มันมาจากความคิดเก่าแก่ที่ว่าบางครั้งสาเหตุของโรคก็สามารถเป็นยารักษาได้ (3) ซึ่งวิธีการดื่มเข้าไปอีกเพื่อถอนแอลกอฮอล์นั้นไม่ได้ช่วยอะไร การดื่มในตอนเช้าเป็นนิสัยที่มีความเสี่ยงและคุณอาจจะชะลอการเกิดอาการจนกว่าแอลกอฮอล์ส่วนเกินจะหมดไป หากคุณเคยดื่มหนัก แพทย์จะแนะนำให้รออย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนดื่มแอลกอฮอล์อีก ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการเมาค้างก็ตาม วิธีนี้ก็เพื่อให้ร่างกายมีเวลาฟื้นตัว

หน่วยของแอลกอฮอล์

ด้วยเครื่องดื่มและขนาดแก้วที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ช็อตไปจนถึงไพน์ เราอาจจะไม่ต้องพูดถึงขวดเพราะทำให้สับสนได้ง่ายว่าเครื่องดื่มของคุณมีกี่หน่วย แนวคิดเรื่องการนับหน่วยแอลกอฮอล์ได้รับการแนะนำครั้งแรกในสหราชอาณาจักรในปี 2530 เพื่อช่วยให้ผู้คนติดตามการดื่มได้ หน่วยเป็นวิธีง่าย ๆ ในการแสดงปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ในเครื่องดื่ม หนึ่งหน่วยเท่ากับแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 10 มล. หรือ 8 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณแอลกอฮอล์ที่ผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยสามารถประมวลผลได้ในหนึ่งชั่วโมง ซึ่งหมายความว่าในทางทฤษฎีควรมีแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในเลือดของผู้ใหญ่ แม้ว่าจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล จำนวนหน่วยในเครื่องดื่มขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดื่มและความแรงของแอลกอฮอล์ (5)

ตัวอย่างเช่นเบียร์ชนิดเข้มข้นหนึ่งไพน์มีแอลกอฮอล์ 3 หน่วยในขณะที่เบียร์ความเข้มข้นต่ำในปริมาณเท่ากันมีมากกว่า 2 หน่วย การรู้จักหน่วยของคุณจะช่วยให้คุณควบคุมการดื่มได้ เพื่อรักษาความเสี่ยงต่อสุขภาพจากแอลกอฮอล์ให้อยู่ในระดับต่ำหากคุณดื่มมันอยู่ตลอด

คำแนะนำสำหรับผู้ดื่มเป็นประจำ

  • เพื่อรักษาความเสี่ยงต่อสุขภาพจากแอลกอฮอล์ คุณควรบริโภคมันให้อยู่ในระดับต่ำอยู่เสมอ
  • อย่าดื่มแอลกอฮอล์เกิน 14 หน่วยต่อสัปดาห์
  • กระจายการดื่มของคุณเป็นเวลา 3 วันขึ้นไปหากคุณดื่มเป็นประจำมากถึง  14 หน่วยต่อสัปดาห์
  • หากคุณต้องการลดแอลกอฮอล์ลง พยายามสร้างให้มีวันปลอดแอลกอฮอล์หลาย ๆ วันในแต่ละสัปดาห์

*** 14 หน่วยเทียบเท่ากับเบียร์ความเข้มข้นปานกลาง 6 ไพน์ (3 ลิตร) หรือไวน์แอลกอฮอล์ต่ำ 10 แก้ว

การคำนวณหน่วยแอลกอฮอล์

การใช้หน่วยเป็นวิธีที่ง่ายกว่าในการแสดงปริมาณแอลกอฮอล์ของเครื่องดื่มโดยปกติจะแสดงโดยการวัดแอลกอฮอล์ตามปริมาตร (ABV) มาตรฐาน ABV คือการวัดปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรของเหลวทั้งหมดในเครื่องดื่ม คุณจะพบ ABV บนฉลากของกระป๋องและขวดบางครั้งเขียนว่า “vol” หรือ “ปริมาณแอลกอฮอล์” หรือคุณสามารถถามพนักงานของบาร์เกี่ยวกับเครื่องดื่มบางชนิดได้ (6) ตัวอย่างเช่น ไวน์ที่ระบุว่า “12% ABV” หรือ “ปริมาณแอลกอฮอล์ 12%” หมายความว่า 12% ของปริมาตรของเครื่องดื่มนั้นเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ คุณสามารถคำนวณจำนวนหน่วยที่มีอยู่ในเครื่องดื่มใด ๆ โดยการคูณปริมาตรรวมของเครื่องดื่ม (เป็นมิลลิลิตร) ด้วย ABV (วัดเป็นเปอร์เซ็นต์) แล้วหารผลลัพธ์ด้วย 1,000 (7)

    • ความแข็งแรง (ABV) x ปริมาตร (มล.) ÷ 1,000 = หน่วย

ตัวอย่างเช่น ในการคำนวณจำนวนหน่วยในหนึ่งไพน์ (568ml) ของเบียร์เข้มข้น (ABV 5.2%):

    • 5.2 (%) x 568 (มล.) ÷ 1,000 = 2.95 หน่วย

สำหรับวิธีการที่รวดเร็วใช้เครื่องคิดเลขคิดหน่วยแอลกอฮอล์

มาทำความรู้จักหน่วยของคุณ

ประเภทเครื่องดื่ม จำนวนหน่วยแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขนาดเล็ก (25ml, ABV 40%) 1 หน่วย
Alcopop (275ml, ABV 5.5%) 1.5 หน่วย
ไวน์แดง ขาวหรือโรเซ่แก้วเล็ก (125ml, ABV 12%) 1.5 หน่วย
เบียร์หรือไซเดอร์แบบขวด (330ml, ABV 5%) 1.7 ยูนิต
เบียร์หรือไซเดอร์กระป๋อง (440ml, ABV 5.5%) 2 หน่วย
เบียร์หรือไซเดอร์แอลกอฮอล์ต่ำ(568ml, ABV 3.6%) 2 หน่วย
ไวน์แดง ขาวหรือโรเซ่แก้วมาตรฐาน (175ml, ABV 12%) 2.1 หน่วย
เบียร์หรือไซเดอร์ที่มีแอลกอฮอล์สูงกว่า (568ml, ABV 5.2%) 3 หน่วย
ไวน์แดง ขาวหรือโรเซ่แก้วใหญ่ (250ml, ABV 12%) 3 หน่วย

อ้างอิง 

(1) Hangovers

(2) Alcohol Hangover

(3) The “hair of the dog”: a useful hangover remedy or a predictor of future problem drinking?

(4) Treatment and prevention of alcohol hangover

(5) Alcohol intake: measure for measure

(6) Understanding standard drinks and drinking guidelines

(7) Alcohol units