ร่างกายของมนุษย์เป็นอะไรที่ซับซ้อนมากทั้งในเรื่องระบบภายนอก ระบบภายใน เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือด เซลล์สมอง ฯลฯ ทุกอย่างนี้เกิดความซับซ้อนมากและยากที่จะเข้าใจ หากเราไม่ได้เรียนมาหรือศึกษาอย่างถ่องแท้ แต่ความซับซ้อนที่ว่านี้เป็นประโยชน์มากหากเราได้เรียนรู้ คุณเคยสงสัยเกี่ยวกับทฤษฎีสมองซีกซ้ายหรือสมองซีกขวาไหม ? หากสงสัยคุณสงสัยเกี่ยวกับมันว่าอย่างไร มีความเชื่อกันว่าสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวานั้นทำงานต่างกัน คนที่มีความเด่นในเรื่องคณิตศาสตร์นั่นหมายความว่าสมองซีกซ้ายทำงานมากกว่าขวา แต่หากคุณมีดนตรีในหัวใจ มีความสร้างสรรค์นั่นแปลว่าสมองซีกขวานั้นทำงานมากกว่าด้านซ้าย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดต่อต่อกันมาแต่ยังไม่แน่ชัดหรือไม่ หากคุณสงสัยวันนี้เราก็มีบทความเกี่ยวกับการ “ไขคำตอบเกี่ยวกับทฤษฎีสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา” มาฝากกันเพื่อให้คุณได้ศึกษาข้อเท็จจริงและได้เรียนรู้ในเรื่องของสมองของเรามากขึ้น พร้อมกับเสนอเคล็ดลับการดูแลสมองให้ดีขึ้นอีกด้วย หากพร้อมแล้วก้ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
สมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร ?
สมองของมนุษย์เป็นอวัยวะที่ซับซ้อนมันเซลล์ประสาทประมาณ 100 พันล้านเซลล์และ 100 ล้านล้านของการเชื่อมต่อและเชื่อมโยงของสมอง (1) สมองของคุณเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งที่คุณ คิด รู้สึก และทำ สมองของคุณแบ่งออกเป็นสองซีกภายในแต่ละครึ่งซีกนั้นจะแตกต่างกันและควบคุมฟังก์ชันบางอย่างต่างกันด้วย สมองทั้งสองข้างนั้นจะมีลักษณะเหมือนกันมาก แต่ก็มีความแตกต่างอย่างมากในการประมวลผลข้อมูล แม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันแต่สมองทั้งสองซีกของคุณจะไม่ทำงานโดยเป็นอิสระจากกัน ส่วนต่าง ๆ ของสมองเชื่อมต่อกันด้วยเส้นใยประสาท หากการบาดเจ็บที่สมองทำให้การเชื่อมต่อระหว่างสองข้างขาดลงคุณก็ยังทำงานได้ แต่อาจจะขาดการบูรณาการ สมองของมนุษย์มีการจัดระเบียบตัวเองใหม่อยู่ตลอดเวลา สามารถปรับเปลี่ยนได้ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือผ่านประสบการณ์ชีวิต เพราะสมองออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังคงทำแผนที่สมอง เราได้รับข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นว่าส่วนใดควบคุมการทำงานที่จำเป็น ข้อมูลนี้มีความสำคัญต่อการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโรคทางสมอง การบาดเจ็บและวิธีการฟื้นตัวจากโรคของสมองเหล่านี้ด้วย (2)
ทฤษฎีสมองซีกซ้าย / สมองซีกขวา
ทฤษฎีสมองซีกซ้ายหรือสมองซีกขวานั้นหมายความว่าสมองซีกใดซีกหนึ่งของเรานั้นมักจะมีด้านที่เด่นกว่า หากคุณคิดวิเคราะห์และมีระเบียบเป็นส่วนใหญ่แสดงว่าคุณเป็นคนที่มีความโดดเด่นในสมองซีกซ้าย หากคุณมีแนวโน้มที่จะมีความคิดสร้างสรรค์หรือมีศิลปะมากขึ้นแสดงว่าคุณมีความโดดเด่นในสมองซักขวา ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าสมองทั้งสองซีกทำงานต่างกัน สิ่งนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในทศวรรษ 1960 ด้วยการวิจัยของนักจิตวิทยาและผู้ได้รับรางวัลโนเบล Roger W. Sperry สมองซีกซ้ายจะมีการวิเคราะห์และมีระเบียบมากกว่าสมองซีกขวา บางครั้งเรียกว่าสมองดิจิทัล มันจะดีกว่าในสิ่งต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียนและการคำนวณจากการวิจัยของ Sperry ยังแสดงให้เห็นว่าสมองซีกซ้ายยังเชื่อมต่อกับ ตรรกะ, การจัดลำดับ, การคิดเชิงเส้น, คณิตศาสตร์ ส่วนสมองซีกขวามีการมองเห็นและใช้งานง่ายกว่า บางครั้งเรียกว่าสมองแอนะล็อก มีวิธีคิดที่สร้างสรรค์กว่าและมีระเบียบน้อยกว่ามาก การวิจัยในสมัยก่อนของ Sperry ชี้ให้เห็นว่าสมองซีกขวายังเชื่อมต่อกับจินตนาการ, การคิดแบบองค์รวม, ศิลปะ, จังหวะดนตรี, ตัวชี้นำอวัจนภาษาและการสร้างภาพความรู้สึก (3)
ตอนนี้เรารู้ว่าสมองทั้งสองด้านแตกต่างกัน แต่จำเป็นต้องเป็นไปตามที่เรามีสมองที่โดดเด่นเช่นเดียวกับที่เรามีมือด้านที่ที่ถนัดหรือไม่? ยังคงเป็นเรื่องของความสงสัยอยู่แต่ทีมนักประสาทวิทยาได้ทำการทดสอบหลักฐานนี้ หลังจากการวิเคราะห์สองปี พวกเขาไม่พบว่าข้อพิสูจน์ว่าทฤษฎีนี้ถูกต้อง การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กของคน 1,000 คนเผยให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วสมองของมนุษย์ไม่ได้มีด้านใดดีมากกว่าอีกด้านหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วสมองซีกหนึ่งก็ไม่ได้แข็งแกร่งไปกว่าอีกซีกหนึ่งด้วย สมองทั้งสองซีกถูกมัดเข้าด้วยกันจากการรวมกลุ่มของใยประสาททำให้เกิดเส้นทางด่วนของข้อมูล แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะทำงานแตกต่างกันแต่ก็ทำงานร่วมกันและเสริมซึ่งกันและกัน คุณไม่ได้ใช้สมองเพียงด้านเดียวในแต่ละครั้งอย่างแน่นอน (4)
ไม่ว่าคุณจะทำหน้าที่เชิงตรรกะหรือสร้างสรรค์คุณจะได้รับข้อมูลจากสมองทั้งสองด้าน ตัวอย่างเช่นสมองซีกซ้ายให้เครดิตกับภาษา แต่สมองซีกขวาช่วยให้คุณเข้าใจบริบทและน้ำเสียง สมองซีกซ้ายจัดการกับสมการทางคณิตศาสตร์ แต่สมองซีกขวาช่วยในการเปรียบเทียบและประมาณการคร่าว ๆ ปกติแล้วลักษณะบุคลิกภาพทั่วไป ความชอบส่วนบุคคลหรือสไตล์การเรียนรู้ไม่ได้แปลเป็นแนวคิดที่ว่าคุณมีสมองซีกซ้ายหรือสมองซีกขวา ถึงกระนั้นมันก็เป็นความจริงที่ว่าสมองทั้งสองด้านของคุณแตกต่างกันและบางส่วนของสมองของคุณก็มีความพิเศษแต่ฟังก์ชันบางอย่างอาจแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละบุคคล
เคล็ดลับในการดูแลสมองให้เฉียบแหลม
จากข้อมูลของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ การทำให้สมองของคุณทำงานอยู่ตลอดเวลาอาจช่วยเพิ่มพลังและอาจสร้างเซลล์สมองใหม่ นอกจากนี้ยังแนะนำว่าการขาดการกระตุ้นทางจิตอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ นี่คือเคล็ดลับบางประการที่จะช่วยกระตุ้นสมองของคุณ
- ใช้เวลาในแต่ละวันด้วยการอ่าน เขียนหรือทั้งสองอย่าง
- อย่าหยุดเรียนรู้ เข้าชั้นเรียนไปบรรยายหรือพยายามเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ
- รับมือกับความท้าทายเช่น การเล่นเกม คำไขว้ และปริศนาซูโดกุ
- เล่นเกมกระดาน เกมไพ่หรือวีดีโอเกมส์
- ทำงานอดิเรกใหม่ ๆ ที่คุณต้องให้ความสำคัญมันตลอด
นอกจากการฝึกความคิดแล้วสมองของคุณยังได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายที่ดีอีกด้วย การออกกำลังกายแบบแอโรบิคเพียง 120 นาทีต่อสัปดาห์สามารถช่วยพัฒนาการเรียนรู้และความจำได้ หลีกเลี่ยงการทานอาหารขยะและให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดที่คุณต้องการผ่านอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และแน่นอนอย่าลืมตั้งเป้าหมายว่าจะนอนหลับให้เต็มอิ่มทุกคืนด้วย (5)
เคล็ดลับในการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์
หากคุณกำลังพยายามสร้างความครีเอทีฟ คุณสามารถเริ่มต้นได้หลายวิธี ดังนี้
- อ่านหนังสือและรับฟังความคิดสร้างสรรค์ของผู้อื่น คุณอาจค้นพบต้นกำเนิดของความคิดที่คุณสามารถเติบโตหรือปลดปล่อยจินตนาการของคุณเองให้เป็นอิสระ
- ลองอะไรใหม่ ๆ หางานอดิเรกที่สร้างสรรค์ เช่น เล่นเครื่องดนตรี วาดรูปหรือเล่านิทาน งานอดิเรกที่ผ่อนคลายสามารถช่วยให้จิตใจของคุณล่องลอยไปยังสถานที่ใหม่ ๆ
- มองเข้าไปข้างในตนเอง วิธีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองลึกซึ้งขึ้นและสิ่งที่ทำให้คุณเลือกได้ ทำไมคุณถึงสนใจกิจกรรมบางอย่างจดจ่อและไม่สนกิจกรรมอื่น ๆ เลยอันนี้คุณต้องหาคำตอบ
- เปลี่ยนชีวิตใหม่ เดินทางไปยังสถานที่ที่คุณไม่เคยไปบ้าง ดื่มด่ำกับวัฒนธรรมอื่น เรียนวิชาที่คุณไม่เคยเรียนมาก่อน
- คำแนะนำและเคล็ดลับเพิ่มเติม
- เมื่อคุณได้แนวคิดใหม่ ๆ ให้จดไว้และพัฒนาต่อไป
- ระดมความคิด เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาและพยายามหาทางแก้ไขหลาย ๆ วิธี
- เมื่อทำงานบ้านง่าย ๆ เช่น ล้างจาน ให้ปิดทีวีและปล่อยใจให้หลงไปกับเรื่องราวใหม่ ๆ
- พักผ่อน ผ่อนคลายและหัวเราะเพื่อให้ความรู้สึกของคุณได้ไหลเวียนเรื่องราวแบบใหม่กันบ้าง เพราะแม้แต่สิ่งที่สร้างสรรค์เช่นเดียวกับดนตรีก็ต้องใช้เวลาความอดทนและการฝึกฝน ยิ่งคุณฝึกฝนกิจกรรมใหม่ ๆ มากเท่าไหร่สมองของคุณก็จะปรับตัวเข้ากับข้อมูลใหม่มากขึ้นเท่านั้น
อ้างอิง
(2) Why is The BRAIN Initiative needed?