เล็บขบ – วิธีป้องกัน รักษา

เล็บขบเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไร?
เล็บขบเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไร?

“เล็บขบ” หรือ “เล็บเท้าคุด” เป็นปัญหาที่เกิดได้ทั่ว ๆ ไป ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดและความรำคาญให้กับผู้ที่เป็น เล็บขบสามารถเกิดขึ้นได้หากคุณตัดเล็บเท้าให้ลึกเกินไปโดยเฉพาะที่ด้านข้างของนิ้วโป้ง เช่นเดียวกับหลาย ๆ คน เมื่อคุณตัดแต่งเล็บเท้าคุณอาจต้องการตัดเล็บให้เล็บเข้าโค้งเข้ากับรูปทรงของนิ้วเท้าของคุณ แต่เทคนิคนี้อาจกระตุ้นให้เล็บเท้าของคุณงอกเข้าไปในใต้ผิวหนังของนิ้วเท้าได้ เล็บขบจะขุดเข้าไปในผิวหนังของคุณและทำให้เกิดการเจ็บปวด อีกทั้งเล็บขบอาจเกิดขึ้นได้หากคุณสวมรองเท้าที่คับหรือสั้นเกินไปด้วย (1)

เมื่อคุณมีเล็บขบเป็นครั้งแรกมันอาจจะแข็ง บวม และรู้สึกรำคาญ ต่อมาอาจมีอาการแดง ติดเชื้อ และจะรู้สึกเจ็บมาก เล็บขบเป็นอาการเจ็บปวดที่พบบ่อยโดยเฉพาะในวัยรุ่นและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกนิ้ว เล็บขบอาจส่งผลให้เกิดรอยแดง มีอาการปวด บวมที่มุมเล็บ และอาจติดเชื้อตามมาในไม่ช้า บางครั้งอาจเห็นหนองจำนวนเล็กน้อยไหลออกมาจากบริเวณนั้น เล็บขบอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อย่างไรก็ตามสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการสวมรองเท้าที่แน่น การดูแลเล็บ และตัดแต่งเล็บที่ไม่เหมาะสม (1)

เล็บขบ

เล็บขบจะเกิดขึ้นบริเวณขอบหรือมุมของเล็บ ซึ่งเล็บส่วนนั้นจะงอกเข้าไปในผิวหนังข้างเล็บ (แทงเข้าไปในเนื้อ) ซึ่งนิ้วหัวแม่เท้ามีแนวโน้มที่จะเกิดเล็บขบมากที่สุด เนื่องจากมีขนาดใหญ่และเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของเท้า หากใส่รองเท้าที่คับเกินไป นิ้วหัวแม้เท้าคือส่วนที่ถูกกดมากที่สุดฉะนั้นมันหมายถึงโอกาสที่จะเกิดเล็บขบเป็นไปได้สูง หากมีอาการไม่รุนแรมมากคุณสามารถรักษาเล็บขบได้เองที่บ้าน (3) แต่อย่างไรก็ตามหากมีเกิดภาวะแทรกซ้อนคุณต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจะสูงขึ้น หากคุณเป็นโรคเบาหวาน หรือภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี (1),(2)

เล็บขบ เกิดจากอะไร?

เล็บขบเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง จากข้อมูลของ National Health Services (NHS) เล็บขบอาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีเท้าที่มีเหงื่อออกมากอย่างวัยรุ่น ส่วนผู้สูงอายุอาจมีความเสี่ยงสูงด้วยเช่นกันเนื่องจากเล็บเท้าจะหนาขึ้นตามอายุ (3)

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอีกหลายอย่างที่อาจทำให้เล็บขบได้ ได้แก่ (1)

  • การตัดเล็บเท้าไม่ถูกต้อง แนะนำให้ตัดเล็บแบบตรง ๆ เนื่องจากการตัดเล็บด้านข้างอาจกระตุ้นให้เล็บงอกเข้าไปในผิวหนังได้
  • มีเล็บเท้าโค้งผิดปกติ
  • สวมรองเท้า ถุงเท้าหรือถุงน่อง ที่กดนิ้วเท้ามากเกินไป
  • มีการบาดเจ็บที่เล็บเท้า
  • มีสุขอนามัยของเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่รักษาเท้าให้สะอาด หรือไม่ทำให้เท้าแห้งก่อนสวมถุงเท้า
  • มีความบกพร่องทางพันธุกรรม
สวมรองเท้า ถุงเท้าหรือถุงน่อง ที่กดนิ้วเท้ามากเกินไป

การใช้เท้าของคุณอย่างเต็มที่ในระหว่างกิจกรรมกีฬาสามารถทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะมีเล็บขบได้โดยเฉพาะ กิจกรรมที่คุณต้องใช้เท้าซ้ำ ๆ หรือกดเท้าเป็นเวลานานอาจทำให้เล็บเท้าเสียหาย และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเล็บขบได้ กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่

  • บัลเล่ต์
  • ฟุตบอล
  • ต่อยมวย
  • ฟุตบอล

อาการของเล็บขบ เป็นอย่างไร?

เล็บขบอาจเจ็บปวดและมักจะแย่ลงเป็นระยะ อาการในระยะเริ่มต้น ได้แก่ (3)

  • ผิวหนังข้างเล็บเริ่มอ่อนนุ่ม แต่ในบางรายอาจบวมหรือแข็ง
  • ปวดเมื่อมีการกดทับที่นิ้วเท้า
  • มีหนองที่สร้างขึ้นรอบ ๆ นิ้วเท้า

หากนิ้วเท้าของคุณติดเชื้ออาจมีอาการต่าง ๆ อาจรวมถึง (3)

  • ผิวหนังบวมแดง
  • มีอาการเจ็บปวด
  • เลือดออก
  • หนองไหล
  • มีการเจริญเติบโตของผิวหนังบริเวณนิ้วเท้ามากเกินไป
อาการของเล็บขบเป็นอย่างไร?

วิธีการรักษา เล็บขบ

เล็บขบที่ยังไม่ติดเชื้อสามารถรักษาที่บ้านได้ อย่างไรก็ตามถ้าหากเล็บเท้าของคุณมันสามารถทะลุผิวหนังหรือมีสัญญาณของการติดเชื้ออาทิเช่น บวมแดง หรือมีหนอง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที (3)

วิธีการรักษาง่าย ๆ

    • แช่เท้าในน้ำอุ่นประมาณ 15 ถึง 20 นาที 3 – 4 ครั้งต่อวัน
    • ดันผิวออกจากขอบเล็บเท้าด้วยสำลีชุบน้ำมันมะกอก
    • ใช้ยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ เช่น acetaminophen (Tylenol) สำหรับความเจ็บปวด
    • ใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่เช่น polymyxin และ neomycinหรือครีมสเตียรอยด์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ลองทำวิธีนี้ที่บ้านสัก 2 – 3 วันถึง 2 – 3 สัปดาห์ หากอาการปวดแย่ลง หรือคุณรู้สึกลำบากในการเดินหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เนื่องจากเล็บขบควรไปพบแพทย์ และหากเล็บเท้าไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่บ้านหรือเกิดการติดเชื้อ คุณอาจต้องผ่าตัด ในกรณีที่มีการติดเชื้อให้หยุดการรักษาที่บ้านทั้งหมดและรีบไปพบแพทย์

แช่เท้าในน้ำอุ่นประมาณ 15 ถึง 20 นาที 3 – 4 ครั้งต่อวัน

การผ่าตัดรักษา

การผ่าตัดรักษาเล็บขบมีหลายประเภท การผ่าตัดหรือการถอดเล็บ จะเป็นการเอาเล็บขบออกมาจากผิวหนัง แพทย์ของคุณจะฉีดยาชาที่นิ้วเท้าของคุณแล้วทำให้เล็บเท้าแคบลง ปกติแล้วการกำจัดเล็บบางส่วนมีประสิทธิภาพถึง 98 %ในการป้องกันเล็บขบในอนาคต ในระหว่างการถอดเล็บบางส่วนด้านข้างของเล็บจะถูกตัดออกเพื่อให้ขอบตรงทั้งหมด นอกจากนี้แพทย์ของคุณอาจรักษานิ้วเท้าของคุณด้วยสารประกอบที่เรียกว่าฟีนอลซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เล็บโตขึ้น (1)

หลังการผ่าตัด

หลังการผ่าตัดแพทย์จะส่งคุณกลับบ้านพร้อมกับพันนิ้วเท้า คุณอาจต้องยกเท้าให้สูงขึ้นในอีก 1-2 วัน และสวมรองเท้าแบบพิเศษเพื่อให้นิ้วเท้าของคุณรักษาได้อย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวให้มากที่สุด โดยปกติผ้าพันแผลของคุณจะถูกถอดออกในเวลา 2 วันหลังการผ่าตัด แพทย์ของคุณจะแนะนำให้คุณสวมรองเท้าแบบเปิดนิ้วเท้าและทำการแช่น้ำเกลือทุกวันจนกว่านิ้วเท้าของคุณจะหายดี คุณจะได้รับยาบรรเทาอาการปวดและยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

เล็บเท้าของคุณมีแนวโน้มที่จะงอกกลับมาภายในไม่กี่เดือนหลังจากการผ่าตัดกำจัดเล็บบางส่วน ถ้าทำการถอดเล็บทั้งหมดเล็บเท้าที่ถอดออกอาจต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการงอกกลับมา

หลังการผ่าตัดแพทย์จะส่งคุณกลับบ้านพร้อมกับพันนิ้วเท้า

ภาวะแทรกซ้อนของเล็บขบ

หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อที่เล็บขบอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระดูกที่นิ้วเท้าได้ การติดเชื้อที่เล็บเท้าอาจทำให้เกิดแผลที่เท้า แผลเปิดและการสูญเสียเลือดไปยังบริเวณที่ติดเชื้อ การติดเชื้อที่เท้าอาจจะรุนแรงมากขึ้นถ้าคุณมีโรคเบาหวาน แม้แต่เล็บเท้าที่ถูกตัด ขูด หรือคุดเพียงเล็กน้อยก็อาจติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขาดเลือดและความไวของเส้นประสาท พบแพทย์ทันทีหากคุณเป็นโรคเบาหวานและกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อที่เล็บขบ (1)

หากคุณมีความผิดปกติทางพันธุกรรมเล็บขบอาจจะกลับมาอีก หรือปรากฏบนนิ้วเท้าหลาย ๆ นิ้วพร้อมกัน คุณภาพชีวิตของคุณอาจได้รับผลกระทบจากความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาเท้าที่เจ็บปวดอื่น ๆ ซึ่งต้องได้รับการรักษาหรือการผ่าตัดหลายครั้ง ในกรณีนี้แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ตัดเล็บเท้าออกบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อเอาเล็บเท้าออก

วิธีป้องกันการเกิดเล็บขบ

  • ตัดเล็บเท้าให้ตรงและตรวจสอบให้แน่ใจว่าขอบเล็บไม่โค้งเข้า
  • หลีกเลี่ยงการตัดเล็บเท้าสั้นเกินไป
  • สวมรองเท้า ถุงเท้าและถุงน่องในขนาดที่เหมาะสม
  • สวมรองเท้าหุ้มส้นเหล็กหากคุณทำงานในสภาพที่เป็นอันตราย
  • หากเล็บเท้าของคุณโค้งหรือหนาผิดปกติอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเล็บขบ
ตัดเล็บเท้าให้ตรงและตรวจสอบให้แน่ใจว่าขอบเล็บไม่โค้งเข้า

อ้างอิง 

(1) Ingrown toenail: Overview

(2) Ingrown toenail treatment

(3) Ingrown toenail