7 อาหารที่กินแล้วอาจทำให้เกิดสิว

สิวเกิดได้กับทุกคนและคุณจะเบื่อมากหากเป็นสิว เพราะสิวมีหลายประเภทและเกิดขึ้นได้หลายที่บนใบหน้าและตามร่างกาย สิวที่พบมากที่สุดคือสิวหัวดำ สิวอักเสบ สิวเสี้ยนและสิวหนอง ซึ่งแน่นอนว่าบนใบหน้าของเรามีสิวได้หลายชนิด ไม่มีทางที่จะเกิดสิวชนิดเดียวแน่นอน เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าสิวเป็นสภาพผิวทั่วไปที่ส่งผลกระทบต่อประชากรเกือบ 10% ของโลก ปัจจัยหลายอย่างที่นำไปสู่การพัฒนาของสิวรวมถึงการผลิตซีบัม เคราตินและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน รูขุมขนที่อุดตันและการอักเสบด้วย (1) การที่เรามีสิวนั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายเราจะเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อคลีนเซอร์ โทนเนอร์ ยาแต้มสิวและอาหารเสริมต่าง ๆ นั่นเองแต่แน่นอนเราหยุดปัญหานี้ได้หากทานอาหารอย่างถูกต้อง

ความเชื่อมโยงระหว่างอาหารกับสิวเป็นที่ถกเถียงกัน แต่งานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าอาหารสามารถมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสิว (1) บทความนี้เราจะบอกถึง “7 อาหารที่อาจทำให้เกิดสิว” และพูดคุยว่าทำไมคุณภาพของอาหารของคุณจึงสำคัญด้วย สิ่งที่เราคิดมาตลอดในเรื่องของอาหารกับสิว คือเราคิดว่าช็อกโกแลตและอาหารมัน ๆ นั้นทำให้เกิดสิว หากคำถามนี้ยังวนเวียนอยู่ในชีวิตของคุณวันนี้เราจะมาไขคำตอบกันหากพร้อมแล้วก็ไปกันเลยค่ะ

7 อาหารที่อาจทำให้เกิดสิว

1. ธัญพืชที่ผ่านการขัดสีและน้ำตาล

คนที่เป็นสิวมักจะกินธัญพืชหรือคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีมากกว่าคนที่เป็นสิวเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย อาหารที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีได้แก่ (3)

  • ขนมปังแครกเกอร์ ซีเรียลหรือขนมหวานที่ทำจากแป้งขาว
  • พาสต้าที่ทำด้วยแป้งขาว
  • ข้าวขาวและเส้นหมี่
  • โซดาและเครื่องดื่มรสหวานอื่น ๆ
  • สารให้ความหวาน เช่น น้ำตาลอ้อย น้ำเชื่อมเมเปิ้ลหรือน้ำผึ้ง

การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าผู้ที่บริโภคน้ำตาลเพิ่มบ่อย ๆ มีความเสี่ยงในการเกิดสิวมากขึ้น 30% ในขณะที่ผู้ที่รับประทานขนมอบและเค้กเป็นประจำมีความเสี่ยงมากกว่า 20% (4) ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้อาจอธิบายได้จากผลของคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขีดสีนั้นมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลิน คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการกลั่นจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นระดับอินซูลินจะเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยในการส่งน้ำตาลในเลือดออกจากกระแสเลือดและเข้าสู่เซลล์ของคุณ อย่างไรก็ตามอินซูลินในระดับสูงไม่ดีสำหรับผู้ที่เป็นสิว อินซูลินทำให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนทำงานมากขึ้นและเพิ่มปัจจัยการเจริญเติบโตที่คล้ายอินซูลินแบบที่1 (IGF-1) สิ่งนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาของสิว โดยการทำให้เซลล์ผิวเติบโตได้เร็วขึ้นและเพิ่มการผลิตซีบัม (5) ในทางกลับกันอาหารที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลินสูงขึ้น มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของสิวที่ลดลง (6)

2. ผลิตภัณฑ์นม

การศึกษาจำนวนมากพบความเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์นมกับความรุนแรงของสิวในวัยรุ่น การศึกษาสองชิ้นพบว่าคนหนุ่มสาวที่บริโภคนมหรือไอศกรีมเป็นประจำมีแนวโน้มที่จะเป็นสิวมากกว่า 4 เท่า (7) อย่างไรก็ตามการศึกษาอาจยังไม่มีคุณภาพสูงพอ การวิจัยในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่วัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวเป็นหลักและแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างนมกับการเกิดสิว นมเป็นที่รู้กันว่าเพิ่มระดับอินซูลินโดยไม่ขึ้นกับผลต่อน้ำตาลในเลือดซึ่งอาจทำให้ความรุนแรงของสิวแย่ลง (8) นมวัวยังมีกรดอะมิโนที่กระตุ้นให้ตับผลิต IGF-1 มากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาของสิวแม้ว่าจะมีการคาดเดาว่าทำไมการดื่มนมอาจทำให้สิวแย่ลง (9) แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่านมมีบทบาทโดยตรงหรือไม่ จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่ามีปริมาณหรือชนิดของนมที่เฉพาะเจาะจงที่อาจทำให้สิวรุนแรงขึ้นด้วย

อาหารจานด่วน

3. อาหารจานด่วน

สิวมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการรับประทานอาหารสไตล์ตะวันตกที่อุดมไปด้วยแคลอรี่ ไขมันและคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี (10) อาหารจานด่วน เช่น เบอร์เกอร์ นักเก็ต ฮอทดอก เฟรนช์ฟราย โซดา และมิลค์เชค เป็นอาหารหลักของอาหารตะวันตกทั่วไปและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดสิว การศึกษาหนึ่งในวัยรุ่นจีนและคนหนุ่มสาวกว่า 5,000 คนพบว่าอาหารที่มีไขมันสูงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 43% ในการเกิดสิว (11) ซึ่งการศึกษาในชายชาวตุรกี 2,300 คนพบว่าการกินเบอร์เกอร์หรือไส้กรอกบ่อย ๆ นั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 24% ในการเกิดสิว (4) มันอาจไม่ชัดเจนว่าทำไมการกินอาหารจานด่วนอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิว แต่นักวิจัยบางคนบอกว่าอาจส่งผลต่อการแสดงออกของยีนและปรับเปลี่ยนระดับฮอร์โมนในลักษณะที่ส่งเสริมการพัฒนาของสิว

4. อาหารที่เต็มไปด้วย Omega 6

อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 6 จำนวนมากเช่นเดียวกับอาหารตะวันตกทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับระดับการอักเสบและสิวที่เพิ่มขึ้น (5) อาจเป็นเพราะอาหารตะวันตกมีข้าวโพดและน้ำมันถั่วเหลืองจำนวนมากซึ่งอุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 6 และอาหารบางชนิดที่มีไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาและวอลนัท ความไม่สมดุลของกรดไขมันโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 ทำให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะอักเสบซึ่งอาจทำให้ความรุนแรงของสิวเพิ่มมากขึ้น (12)

ช็อกโกแลต

5. ช็อกโกแลต

หลายคนเชื่อว่าช็อคโกแลตเป็นสาเหตุของสิว อย่างไรก็ตามการสำรวจอย่างไม่เป็นทางการหลายชิ้นเชื่อมโยงการกินช็อกโกแลตกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดสิว แต่ยังไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าช็อกโกแลตทำให้เกิดสิว จากการศึกษาล่าสุดพบว่าผู้ชายที่เป็นสิวที่บริโภคดาร์กช็อกโกแลต 99% 25 กรัมต่อวันมีจำนวนแผลสิวเพิ่มขึ้นหลังจากผ่านไปเพียงสองสัปดาห์ (13) การศึกษาอื่นพบว่าผู้ชายที่ได้รับแคปซูลผงช็อกโกแลต 100% ทุกวันมีแผลจากสิวมากขึ้นหลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ (14) สาเหตุที่ช็อกโกแลตอาจเพิ่มสิวนั้นไม่ชัดเจน แม้ว่าการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าการกินช็อกโกแลตจะเพิ่มปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวซึ่งอาจช่วยอธิบายการค้นพบเหล่านี้ได้ (15)

6. เวย์โปรตีน

เวย์โปรตีนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยอดนิยม เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโน ลิวซีนและกลูตามีน กรดอะมิโนเหล่านี้ทำให้เซลล์ผิวเติบโตและแบ่งตัวได้เร็วขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การก่อตัวของสิว (16) กรดอะมิโนในเวย์โปรตีนยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายผลิตอินซูลินในระดับที่สูงขึ้นซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาของสิว กรณีศึกษาหลายกรณีรายงานความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคเวย์โปรตีนกับสิวในนักกีฬาชาย (17) การศึกษาอื่นพบความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างความรุนแรงของสิวและจำนวนวันในการเสริมเวย์โปรตีนด้วย การศึกษาเหล่านี้สนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างเวย์โปรตีนและสิว (18) แต่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่าเวย์โปรตีนทำให้เกิดสิวหรือไม่

7. อาหารที่คุณแพ้

สิ่งนี้ได้รับการสนับสนุนจากข้อเท็จจริงที่ว่ายาต้านการอักเสบ เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับสิวรุนแรงและผู้ที่เป็นสิวมีระดับโมเลกุลการอักเสบในเลือดสูง (19) วิธีหนึ่งที่อาหารอาจทำให้เกิดการอักเสบคือการทานอาหารที่คุณแพ้ การแพ้อาหารเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณระบุว่าอาหารเป็นภัยคุกคามและเริ่มมีภูมิคุ้มกันโจมตี (20) ส่งผลให้โมเลกุลของการอักเสบในระดับสูงไหลเวียนไปทั่วร่างกายซึ่งอาจทำให้สิวรุนแรงขึ้น เนื่องจากมีอาหารมากมายนับไม่ถ้วนที่ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสามารถตอบสนองได้ วิธีที่ดีที่สุดในการหาสาเหตุเฉพาะของคุณคือการรับประทานอาหารที่ฝ่ายโภชนาการจัดให้ นอกจากนี้คุณสามารถทำการทดสอบการแพ้อาหารได้ด้วยการทำ Mediator Release Testing (MRT) เพราะสามารถช่วยระบุได้ว่าอาหารชนิดใดนำไปสู่การอักเสบที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันด้วย


อ้างอิง 

(1) Evolving perspectives on the etiology and pathogenesis of acne vulgaris

(2) Acne: the role of medical nutrition therapy

(3) Differences in Dietary Glycemic Load and Hormones in New York City Adults with No and Moderate/Severe Acne

(4) Acne: prevalence and relationship with dietary habits in Eskisehir, Turkey

(5) Implications for the role of diet in acne

(6) A low-glycemic-load diet improves symptoms in acne vulgaris patients: a randomized controlled trial

(7) Acne and dairy products in adolescence: results from a Norwegian longitudinal study

(8) Inconsistency between glycemic and insulinemic responses to regular and fermented milk products

(9) Insulin-Like Growth Factor-1 Increases the Expression of Inflammatory Biomarkers and Sebum Production in Cultured Sebocytes

(10) Dietary intervention in acne: Attenuation of increased mTORC1 signaling promoted by Western diet

(11) The epidemiology of adolescent acne in North East China

(12) Omega-3 fatty acids in inflammation and autoimmune diseases

(13) Dark chocolate exacerbates acne

(14) Double-blind, Placebo-controlled Study Assessing the Effect of Chocolate Consumption in Subjects with a History of Acne Vulgaris

(15) Chocolate consumption modulates cytokine production in healthy individuals

(16) Metabolism. Differential regulation of mTORC1 by leucine and glutamine

(17) Whey protein precipitating moderate to severe acne flares in 5 teenaged athletes

(18) Incidence of acne vulgaris in young adult users of protein-calorie supplements in the city of João Pessoa–PB

(19) New developments in our understanding of acne pathogenesis and treatment

(20) Relation between food provocation and systemic immune activation in patients with food intolerance