เคล็ดลับการดูแลช่องปาก เพื่อ “สุขภาพฟัน” ที่ดี !

เรื่องของฟัน เป็นเรื่องที่เราต้องดูแลค่ะ เพราะเราต้องพบเจอผู้คนมากหน้าหลายตาในแต่ละวันและเราก็จำเป็นต้องยิ้ม แต่ทว่าหากยิ้มออกมาแล้วฟันของคุณมีสีเหลือง เมื่อพูดกับใครก็อาจจะมีกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์ ถึงแม้ว่ามันอาจจะดูเป็นเรื่องง่าย ๆ ในการจัดการ แต่มันก็ทำให้เราสูญเสียความมั่นใจอยู่ไม่น้อย แต่เรื่องนี้เราสามารถป้องกันได้ค่ะ รับรองว่าไม่ยากอย่างแน่นอน 

การดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของช่องปากนั้น เป็นกุญแจสำคัญในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากรอยยิ้ม การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนนอนอีก 1 ครั้ง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และการตรวจสุขภาพกับทันตแพทย์เป็นประจำ สามารถช่วยให้ฟันของคุณแข็งแรง แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่อสุขภาพฟันเป็นอย่างมาก เพราะมันอาจจะทำให้ฟันผุได้ วันนี้เราก็มีเคล็ดลับดี ๆ ในการใช้ชีวิตเพื่อทำให้สุขภาพฟันของคุณดีขึ้นค่ะ หากพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะดีต่อฟันของคุณ

สิ่งที่คุณทานและดื่มอาจทำให้ฟันผุได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จึงมีความสำคัญต่อฟันของคุณ อาหารที่สมดุลมีมากมายตั้งแต่ผักและผลไม้เช่นเดียวกับอาหารประเภทแป้ง เช่น ขนมปัง ข้าว มันฝรั่ง และพาสต้า นอกจากนี้คุณควรกินแหล่งโปรตีน เช่น เนื้อ ปลา ไข่ ถั่ว หรือแหล่งโปรตีนอื่น ๆ และอาหารจากนมเราขอแนะนำให้เลือกตัวเลือกที่มีไขมันต่ำกว่า กินอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันและน้ำตาลสูงในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น (1)

ลดน้ำตาลเพื่อป้องกันฟันผุ

การจำกัดปริมาณของน้ำตาลที่คุณกินและดื่ม มันมีความสำคัญมากเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุ น้ำตาลจำนวนมากที่เรากินและดื่ม มักจะอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด (2) เช่น

  • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ได้แก่ น้ำอัดลม เครื่องดื่มฟองนม แอลกอฮอล์ และอื่น ๆ
  • ขนม ช็อคโกแลต เค้ก และบิสกิต
  • น้ำผลไม้ รวมทั้งน้ำผลไม้สดที่ไม่หวาน และสมูทตี้
  • ขนมปัง ขนมอบ และพายผลไม้
  • พุดดิ้ง
  • การเติมน้ำตาลในอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ 
  • ซีเรียลอาหารเช้าที่มีน้ำตาล
  • แยม น้ำผึ้ง และน้ำเชื่อม
  • ไอศกรีม และซอร์เบต
  • ผลไม้แห้ง หรือผลไม้ในน้ำเชื่อม
  • น้ำเชื่อม และซอสหวาน

ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำปั่น วันละ 1 แก้ว

น้ำตาลเกิดขึ้นตามธรรมชาติในอาหาร เช่น ผลไม้ และนม แต่เราไม่จำเป็นต้องลดน้ำตาลประเภทนี้ แต่เมื่อผลไม้ถูกคั้นหรือปั่นเช่นเดียวกับในสมูทตี้ น้ำตาลจะถูกปล่อยออกจากโครงสร้างของผลไม้ เมื่อปล่อยออกมาแล้วน้ำตาลเหล่านี้สามารถทำลายฟันของคุณได้ ซึ่งจากการศึกษาในเบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปได้ แต่การศึกษาในเด็กและวัยรุ่น ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มน้ำผลไม้ 100% กับการกัดเซาะของฟัน หรือโรคฟันผุ (3) ดังนั้นคุณควรดื่มน้ำผลไม้หรือสมูทตี้ในเวลารับประทานอาหาร โดยเครื่องดื่มของคุณไม่ว่าจะเป็น น้ำผลไม้ น้ำผัก หรือสมูทตี้ ไม่ควรเกิน 150 มล./วัน ซึ่งเป็นแก้วเล็ก ๆ

การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ ทำลายฟันอย่างไร ?

การสูบบุหรี่สามารถทำให้ฟันของคุณเป็นสีเหลืองได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีกลิ่นปากและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหงือก (4) รวมทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามอีกมากมาย เช่นเดียวกันกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมันสามารถกัดกร่อนผิวด้านนอกของฟันซึ่งนำไปสู่การสูญเสียเคลือบฟัน ในกรณีนี้คุณอาจต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการอุดฟัน (5) นอกจากนี้การดื่มมากเกินไปยังเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาโรคมะเร็งในปาก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของมะเร็งในช่องปากคือผลของการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกัน (6) คาดว่าผู้ที่ดื่มสุราและสูบบุหรี่หนักมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากเพิ่มขึ้น 38 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มหรือสูบบุหรี่

อาหาร และเครื่องดื่ม อาจทำให้ฟันของคุณเหลืองได้

จากการศึกษาผลของเครื่องดื่มต่อสีฟัน หลังการฟอกสีฟัน พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ไวน์แดง ชา และกาแฟ ล้วนเป็นตัวการที่ส่งผลให้ฟันเหลือง (7) คุณต้องดื่มให้น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้ฟันของคุณเปื้อน ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยของคุณสามารถทำให้ฟันของคุณสะอาดได้ซึ่งอาจช่วยลดการฟันเหลืองได้  หากคุณต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลือกอื่น ๆ เช่น การฟอกสีฟันให้พูดคุยกับทันตแพทย์ของคุณ 


อ้างอิง 

(1) Lifestyle tips for healthy teeth

(2) Sugars and Dental Caries: Evidence for Setting a Recommended Threshold for Intake

(3) 100% Fruit Juice and Dental Health: A Systematic Review of the Literature

(4) Smoking, Gum Disease, and Tooth Loss

(5) Impact of Alcohol Dependency on Oral Health – A Cross-sectional Comparative Study

(6) Cancer Risk Associated with Alcohol and Tobacco Use: Focus on Upper Aero-digestive Tract and Liver

(7) The effect of different drinks on tooth color after home bleaching