เมารถ เมาเรือ – แก้ได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ !

เมารถ เมาเรือ - แก้ได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
เมารถ เมาเรือ - แก้ได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

เชื่อว่ามีหลาย ๆ คน เวลาที่เดินทางไปไหนมาไหน มักจะมีอาการที่เรียกว่า “เมารถ” หรือ เมาเรือ” เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และแน่นอนว่าอาการนี้เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ส่งผลทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัว และการเดินทางก็จะเต็มไปด้วยความทุกข์ ทำไมถึงต้องเรียกว่าเมารถหรือเมาเรือ ? เหตุผลก็เพราะว่าอาการนี้มักจะทำให้เรามีอาการเหมือนคนเมาที่ไม่ค่อยมีสติ และไม่สามารถที่จะควบคุมตัวเองได้ บางคนอาจรู้สึกว่าบ้านหมุน จนปวดหัวมาก และนั่นจะทำให้อาเจียนออกมา อาการเมารถหรือเมาเรือ อาจเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวบางประเภท เช่น เมื่อเรือหรือรถเริ่มเคลื่อนไหว หรือเมื่อจ้องภาพที่เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เป็นต้น ซึ่งมีการศึกษาชิ้นหนึ่งในปี 2013 ชี้ให้เห็นว่าภาพยนตร์ 3 มิติอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้เช่นกัน (1) ซึ่งอาการเมารถหรือเมาเรือยังไม่ถือเป็นโรคนะคะ และบางคนก็ไม่เคยมีอาการนี้เลย แม้จะนั่งรถหรือนั่งเรือก็ตาม

อาการเมารถ จะเกิดขึ้นกับบางคนที่มีความไวทางประสาทที่รับรู้การเคลื่อนไหวบางอย่างเป็นพิเศษ ซึ่งบุคคลประเภทนี้เมื่อนั่งรถหรือเรือมักใช้เวลาไม่นานก็จะเกิดอาการเมารถทันที แน่นอนว่า เราสามารถกินยาเพื่อป้องกันอาการเมารถได้ แต่ยาส่วนใหญ่ก็มีฤทธิ์ที่ทำให้เราง่วงนอนมาก (2) ทำให้การเดินทางไม่สนุก หลายคนอาจจะมองว่าการเมารถนั้นไม่อันตราย แต่เราขอบอกเลยว่าไม่จริงค่ะ เพราะหากคุณเมารถและอาเจียนออกมาอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ และทำให้ความดันโลหิตต่ำได้ วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับการอาการเมารถกันค่ะ ไปดูกันว่ามีวิธีใดที่สามารถแก้ไขอาการนี้ได้บ้าง

สาเหตุของ อาการ เมารถ หรือ เมาเรือ

อาการเมารถ เป็นอาการวูบที่มักเกิดขึ้นเมื่อคุณเดินทางโดย รถยนต์ เรือ เครื่องบิน หรือรถไฟ อวัยวะรับความรู้สึกในร่างกายของคุณจะส่งสัญญาณไปยังสมองของคุณทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดหัว คลื่นไส้ หรืออาเจียน อาการเมารถ เกิดขึ้นจากประสาทการทรงตัวไม่สมดุล อาการจะปรากฏขึ้นเมื่อระบบประสาทส่วนกลางได้รับความที่ขัดแย้งกับระบบประสาทสัมผัส เช่น หูชั้นใน ดวงตา หรือฝ่าเท้า อวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ระบบประสาทของเรารับรู้ว่าส่วนใดของร่างกายที่กำลังสัมผัสกับพื้นอยู่ แต่เมื่อไหร่ที่ที่ดวงตาของเราไม่สัมพันธ์กับกับการทรงตัว มันจะส่งผลให้สมองเกิดความสับสน และทำให้เกิดการเมารถ (3),(4) ตัวอย่างเช่น เมื่อนั่งรถ ร่างกายของคุณจะมีพฤติกรรมต่อไปนี้

  • ดวงตามองเห็นต้นไม้ที่เดินผ่านไปมา และบันทึกการเคลื่อนไหว
  • หูชั้นในของคุณสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวได้
  • กล้ามเนื้อ และข้อต่อ รับรู้ว่าร่างกายของคุณกำลังนั่งนิ่ง
  • สมองรับรู้ถึงการตัดการเชื่อมต่อระหว่างข้อความเหล่านี้

นอกจากนี้การกระทำหลายอย่างอาจทำให้เกิดอาการเมารถ เช่น

  • เล่นเครื่องเล่นในสวนสนุก
  • อ่านหนังสือขณะกำลังเคลื่อนไหว
  • เล่นวิดีโอเกมและภาพยนตร์
  • ชมภาพยนตร์ 3 มิติ (1)
อ่านหนังสือขณะกำลังเคลื่อนไหว

อาการเมารถเป็นอย่างไร?

  • เหงื่อออก ตัวเย็น
  • เวียนหัว
  • มีความเหนื่อยล้า
  • เกิดอาการปวดหัว
  • เกิดความหงุดหงิด
  • ไม่มีสมาธิ
  • น้ำลายเพิ่มขึ้น คลื่นไส้และอาเจียน
  • ผิวสีซีด
  • หายใจเร็วมากผิดปกติ
เวียนหัว

อาการเมารถส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง กรณีที่รุนแรงมาก และหากผู้ที่เมารถมีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับโรคของหู การทรงตัว และระบบประสาท เพื่อช่วยในการวินิจฉัยอาการเมารถ แพทย์จะถามเกี่ยวกับอาการและจะหาสาเหตุของปัญหา (เช่น การนั่งเรือ การนั่งเครื่องบิน หรือการขับรถ)

วิธีบรรเทาอาการเมารถด้วยตัวคุณเอง

สิ่งที่ควรทำ

    • ลดการเคลื่อนไหวเมื่อนั่งหน้ารถ หรือนั่งกลางเรือ
    • มองตรงไปข้างหน้า โดยใช้สายคาที่คงที่เราขอแนะนำให้มองตรงที่เส้นขอบฟ้า
    • สูดอากาศบริสุทธิ์ถ้าเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น เปิดหน้าต่างรถเพื่อรับอากาศด้านนอก
    • หลับตา และหายใจช้า ๆ (จดจ่ออยู่กับการหายใจ)
    • หากเด็กที่นั่งไปกับคุณมีอาการเมารถให้เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กด้วยการพูดคุย ฟังเพลง หรือร้องเพลง
    • หยุดพักจากการเดินทางชั่วคราว เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ ดื่มน้ำ หรือไปเดินเล่น
    • ลองใช้ขิงซึ่งคุณสามารถรับประทานขิงแบบเม็ดหรือน้ำขิงก็ได้
สูดอากาศบริสุทธิ์ถ้าเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น เปิดหน้าต่างรถเพื่อรับอากาศด้านนอก

สิ่งที่ไม่ควรทำ

    • อย่าดูภาพยนตร์ หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างเดินทาง
    • อย่ามองไปที่วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถที่แล่นผ่าน หรือคลื่นที่กำลังถาโถมเข้ามา
    • อย่ารับประทานอาหารมื้อหนัก อาหารรสจัด หรือดื่มแอลกอฮอล์ก่อนหรือระหว่างการเดินทาง

การใช้ยา

แม้ว่าการเยียวยาและรักษาอาการเมารถด้วยตัวเองจะได้ผลดี แต่ยาก็เป็นวิธีที่ดีในการป้องกันอาการเมารถ และควรรับประทานก่อนเดินทาง

  • สโคโพลามีน (Scopolamine) เป็นยาที่ใช้กันมากที่สุด สำหรับอาการเมารถ จะต้องทานก่อนที่จะเริ่มมีอาการ ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ง่วงนอน ดวงตาพร่ามัว รูม่านตาขยาย และปากแห้ง (5)
  • โปรเมทาซีน (Promethazine) ควรรับประทานก่อนการเดินทาง 2 ชั่วโมง สามารถป้องกันอาการเมารถได้ 6-8 ชั่วโมง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นรู้สึกสับสน และง่วงนอน (6)
  • ไซคลิซีน (Cyclizine) ยานี้จะได้ผลดีที่สุดเมื่อรับประทานก่อนการเดินทางอย่างน้อย 30 นาที ไม่แนะนำสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ และผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ง่วงนอน ปากแห้ง ท้องผูก และมีปัญหาในการมองเห็น (7)
  • Dimenhydrinate ให้ทานก่อนนั่งรถ โดยจะออกฤทธิ์ยาวนาน 4-8 ชั่วโมง ผลข้างเคียงคล้ายกับ Scopolamine
  • Meclizine (โบนีน) มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทาน 1 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง ไม่แนะนำสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีและผลข้างเคียงอาจรวมถึง อาการง่วงนอน และปากแห้ง (8)

อ้างอิง 

(1) Are There Side Effects to Watching 3D Movies? A Prospective Crossover Observational Study on Visually Induced Motion Sickness

(2) Motion Sickness

(3) Motion Sickness (NCBI)

(4) Motion Sickness: MedlinePlus

(5) Scopolamine

(6) Promethazine

(7) Cyclizine

(8) Meclizine