“รักแร้ดำ” เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย แต่ถ้าเทียบแล้วปัญหารักแร้ดำเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงอย่างเราต้องสวมใส่เสื้อผ้าโชว์วงแขนอยู่เป็นประจำนั่นเอง หลาย ๆ คนอาจคิดว่าปัญหารักแร้ดำนั้นมาจากการแพ้โรลออน หรือพันธุกรรม ซึ่งไม่ใช่เสมอไป เพราะการที่รักแร้ดำ หรือใต้วงแขนที่คล้ำ มันสามารถเป็นอาการของ “โรคอะแคนโทซิสนิกริแคน (Acanthosis nigricans)” ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งไอโรคนี้มันเกิดขึ้นจากความผิดปกติของผิวหนัง โดยเฉพาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่าง โรคเบาหวาน หรือไม่ก็โรคอ้วน (1)
สำหรับวิธีในการดูแลรักแร้ของเรามีหลากหลายวิธีมาก แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าวิธีนั้นจะเป็นวิธีที่เหมาะกับทุกคน ซึ่งบางคนเลือกที่จะถอนขน ในขณะที่บางคนชอบการทำเลเซอร์ หรือบางคนแค่ฉีดสเปรย์ระงับเหงื่อ แน่นอนค่ะว่าวิธีการบางอย่างมันอาจจะทำให้รักแร้ดำได้ สำหรับแต่ละคนการทำให้ผิวใต้วงแขนของคุณกระจ่างใสนั้นอาจเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะไม่รู้ว่าจะต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร ? วันนี้เราจะพาคุณไปแก้ไขปัญหารักแร้กันค่ะ พร้อมกับไปหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหารักแร้ดำกันด้วย หากพร้อมแล้วก็ไปกันเลยค่ะ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับใต้วงแขนคล้ำ
โดยธรรมชาติแล้วใต้วงแขนของคุณควรมีเฉดสีเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของผิว แต่บางครั้งผิวบริเวณรักแร้ ข้อพับต่าง ๆ หรือบริเวณขาหนีบ อาจเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มันไม่ได้เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไรร้ายแรง แต่บางคนอาจรู้สึกว่ามันน่าอายมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อต้องการจะใส่เสื้อกล้าม หรือชุดว่ายน้ำ วงแขนคล้ำมักจะเกิดจากสภาพผิวที่เรียกว่า Acanthosis nigricans อาการนี้มักจะทำให้ผิวหนังหนาขึ้น มีสีคล้ำ ตามจุดต่าง ๆ ทั่วร่างกายบริเวณที่มักจะมีสีคล้ำ ได้แก่ รักแร้, หลังคอ, ขาหนีบ, ข้อศอก และหัวเข่า นอกจากจะมีที่สีคล้ำแล้ว ผิวของคุณในบริเวณนั้นอาจมีอาการคัน หรือมีกลิ่นเหม็นอับในบริเวณนั้น โอกาสในการเกิดใต้วงแขนที่คล้ำมักขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ สุขภาพ และรวมถึงครอบครัวด้วย (1),(2)
อความเสี่ยงของการเกิดความคล้ำใต้วงแขน?
สีผิวของคุณ ถูกกำหนดโดยเซลล์เม็ดสีที่เรียกว่า เมลาโนไซต์ เมื่อเซลล์เหล่านี้ทวีคูณมากขึ้นก็สามารถทำให้ผิวมีสีเข้มขึ้น และสามารถที่จะพัฒนามาเป็น Acanthosis nigricans ได้ ดังนั้นแต่ละคนก็จะมีความเสี่ยงต่างกัน อย่างคนที่มีผิวคล้ำอยู่แล้วอาจมีโอกาสที่จะมีรอยคล้ำใต้วงแขนมากกว่าคนที่มีผิวสีอ่อน หรือในบางครอบครัวได้มีการสืบทอดยีนที่ผิดพลาดนี้มา หากคุณมีพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือญาติมีอาการ คุณก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นเช่นกัน (2)
แม้ว่าโดยปกติแล้ว Acanthosis nigricans จะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือเชื่อมโยงกับเงื่อนไขพื้นฐานอื่น ๆ แต่บางครั้งการกำจัดขนอาจเป็นตัวการ เพราะมันจะทำให้รักแร้ระคายเคืองจากการถูกโกนหรือถอนขนซ้ำ ๆ มันจะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีของผิวเพื่อหลีกเลี่ยงการระคายเคืองในบริเวณที่มีการถอนขน (3) เพราะฉะนั้นให้คุณทำการหล่อลื่นผิวด้วยสบู่หรือครีมโกนหนวดก่อนที่จะจัดการมัน และให้ทาครีมที่มีคุณสมบัติให้ความชุ่มชื้นลงไปหลังจากนั้น
และนอกจากที่กล่าวไปในข้างต้นแล้ว โปรดทราบว่ายังมีอีกหลายสาเหตุที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็น Acanthosis nigricans มากขึ้น ดังนี้
โรคอ้วน
การแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทำให้ร่างกายของคุณทนต่อผลกระทบของอินซูลินได้ดีขึ้น ฮอร์โมนนี้ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดของคุณ ระดับอินซูลินในเลือดที่สูงสามารถนำไปสู่การผลิตเซลล์เม็ดสีผิวเพิ่มขึ้น การศึกษาในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป จำนวนมากกว่าครึ่ง จะพบกับรอยคล้ำตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะใต้วงแขน และรอยพับของผิวหนังในส่วนอื่น ๆ ทั่วร่างกาย (4)
โรคเบาหวานประเภท 2
นอกจากนี้ โรคอ้วน ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภท 2 อีกด้วย ซึ่งเป็นที่มีโรคน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรค Acanthosis nigricans อย่างที่บอกระดับอินซูลินในเลือดที่สูงมาก ๆ มันสามารถนำไปสู่การผลิตเม็ดสีผิวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย (5)
กลุ่มอาการของฮอร์โมน
เงื่อนไขบางอย่างที่ขัดขวางระดับอินซูลินอาจนำไปสู่ Acanthosis nigricans ซึ่งรวมถึง
-
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS)
- กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s syndrome)
- โรคอะโครเมกาลี (Acromegaly)
- ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroid)
การใช้ยาบางชนิด
ยาบางชนิดจะเพิ่มระดับอินซูลินของคุณ ซึ่งอาจทำให้ใต้วงแขนดำคล้ำได้ ซึ่งรวมถึง
-
- อินซูลิน
- corticosteroids เช่น prednisone (Rayos)
- ฮอร์โมนการเจริญเติบโตของมนุษย์
- ยาคุมกำเนิด
- ไนอาซินขนาดสูง(Niacor)
โรคมะเร็ง
การมีผิวคล้ำขึ้นอย่างกะทันหันอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งได้เช่นกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้มักมีผลต่อกระเพาะอาหาร ตับ หรือลำไส้ใหญ่ เนื้องอกเหล่านี้จะเพิ่มระดับของปัจจัยการเจริญเติบโตที่กระตุ้นเซลล์เม็ดสีผิว (4)
วิธีการรักษารักแร้ดำ
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และดูแลตัวเองที่บ้าน
อย่างที่เราได้บอกไป โรคอ้วน เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการมีใต้วงแขนที่คล้ำ การลดน้ำหนักมันจะแก้ไขปัญหาได้ การลดน้ำหนักจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และยังเป็นการรักษาโรคเบาหวานไปในตัวได้ด้วย (4),(5) ดังนั้นปรึกษากับแพทย์ของคุณ เกี่ยวกับกลยุทธ์การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเพื่อช่วยให้คุณมีน้ำหนักที่เหมาะสมกับความสูงของคุณ และถ้าหากคุณสงสัยว่ายาที่คุณใช้อยู่มันจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ใต้วงแขนคล้ำให้ทำการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นแทน
การเยียวยาด้วยธรรมชาติ
สำหรับวิธีการรักษาแบบธรรมชาตินั้น บางอย่างมันสามารถช่วยทำให้เม็ดสีผิวของคุณจางลงได้ อาทิเช่น
-
- สารสกัดจากปลิงทะเล
- เคอร์คูมิน (6)
- สารสกัดมิลค์ทิสเซิล
แม้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างชัดเจนว่าช่วยให้ใต้วงแขนที่คล้ำจางลงได้หรือไม่ และบางผลิตภัณฑ์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ฉะนั้นหากจะใช้ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังก่อน
การใช้ยา
แพทย์ผิวหนัง สามารถสั่งยาเพื่อช่วยให้ผิวใต้วงแขนของคุณจางลงได้ โดยตัวเลือกยอดนิยม ได้แก่ (7)
-
- ครีมหรือยาที่มีเรตินอยด์ Retinoid Tretinoin (Retin-A) ถือเป็นการรักษาขั้นแรกสำหรับ Acanthosis nigricans เมื่อใช้เป็นประจำสามารถช่วยให้ผิวบางและสว่างขึ้นในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
- ใช้สารเคมีผลัดเซลล์ผิว สารเคมีผลัดเซลล์ผิวที่มีกรดไตรคลอโรอะซิติก (TCA) สามารถช่วยผลัดเซลล์ผิวได้ กระบวนการนี้ช่วยขจัดผิวที่หนาและเสียเพื่อเผยผิวใหม่ที่เรียบเนียน
- Calcipotriene (Dovonex) ครีมที่ผสมวิตามินดีนี้จะช่วยลดเซลล์เม็ดสีผิว
นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้การเลเซอร์ Dermabrasion เป็นการรักษาด้วยเลเซอร์ ใช้ในการรักษาผิวคล้ำใต้วงแขน ซึ่งมันสามารถช่วยผลัดผิวได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามคุณจะต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายด้วย
เราควรไปพบแพทย์เมื่อใด
แม้ว่าใต้วงแขนที่คล้ำ มันจะไม่เป็นอันตรายใด ๆ แต่ก็ควรที่จะได้รับการตรวจโดยแพทย์ผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณคิดว่าคุณอาจมีภาวะ เช่น โรคเบาหวาน หรือต่อมไทรอยด์ สุดท้ายนี้หากคุณเห็นรอยคล้ำใต้วงแขนหรือบริเวณอื่น ๆ ของผิวหนัง ให้ไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อตรวจสอบเบื้องต้นทันที นี่อาจเป็นสัญญาณของภาวะที่ร้ายแรงกว่าอย่าง โรคมะเร็ง ก็ได้
อ้างอิง
(2) An approach to acanthosis nigricans
(3) Histological evaluation of hyperpigmentation on female Filipino axillary skin
(4) A STUDY OF PATHOGENESIS OF ACANTHOSIS NIGRICANS AND ITS CLINICAL IMPLICATIONS
(5) Skin Manifestations of Diabetes Mellitus
(6) Critical review of Ayurvedic Varṇya herbs and their tyrosinase inhibition effect