“ชาสมุนไพร” เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมานานหลายศตวรรษ ถึงกระนั้นชาสมุนไพรก็ไม่ใช่ชาที่แท้จริง เพราะชาที่แท้จริง ได้แก่ ชาเขียว, ชาดำ และชาอู่หลง โดยชาเหล่านี้จะใช้ใบชาในการปรุงชา แต่ในทางกลับกันชาสมุนไพร มักจะทำจากผลไม้แห้ง, ดอกไม้, เครื่องเทศ หรือสมุนไพรต่าง ๆ ทำให้ชาสมุนไพรสามารถมีรสชาติและกลิ่นที่หลากหลายได้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าเหมาะสำหรับคนที่ต้องการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หรือไม่อยากทานน้ำเปล่า เพราะนอกจากจะมีความอร่อยแล้ว ชาสมุนไพรบางชนิดยังมีคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพอีกด้วย ซึ่งในความเป็นจริงชาสมุนไพรมักถูกใช้เป็นยารักษาโรคตามธรรมชาติมาหลายร้อยปีแล้ว เนื่องจากมีการสกัดมาจากธรรมชาติมากมาย ซึ่งแน่นอนมันไร้สารเคมีอันตราย ชาทุกชนิดจึงมีประโยชน์ในตัวเอง หากวันนี้คุณกำลังมองหาชาสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพอยู่ เราก็มีชาสมุนไพร 10 ชนิดมาแนะนำกันค่ะ
1. ชาคาโมมายล์
ชาคาโมมายล์ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามีฤทธิ์ผ่อนคลายและมักใช้เป็นยาช่วยในการนอนหลับ การศึกษาสองชิ้นได้ตรวจสอบผลของชาคาโมมายล์พบสารสกัดที่มีต่อปัญหาการนอนหลับของมนุษย์ ในการศึกษาหญิงหลังคลอด 80 คน ที่ประสบปัญหาการนอนหลับพบว่า การดื่มชาคาโมมายล์เป็นเวลาสองสัปดาห์ ทำให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น และอาการซึมเศร้าน้อยลง (1) ยิ่งไปกว่านั้นดอกคาโมมายล์อาจไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ช่วยในการนอนหลับเท่านั้น เพราะเชื่อกันว่าคาโมมายล์มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และปกป้องตับด้วย (2) และการศึกษาในหนูพบหลักฐานเบื้องต้นว่า ดอกคาโมมายล์อาจช่วยต่อสู้กับอาการท้องร่วง และแผลในกระเพาะอาหารได้ (2),(3) อีกทั้งการศึกษาชิ้นหนึ่งยังพบว่าชาคาโมมายล์ช่วยลดอาการของโรคก่อนมีประจำเดือนได้ และในขณะที่การศึกษาอื่นในคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลิน และระดับไขมันในเลือดดีขึ้นด้วย (4),(5)
2. ชาเปปเปอร์มินต์ (สะระแหน่)
ชาเปปเปอร์มินต์ เป็นหนึ่งในชาสมุนไพรที่ใช้กันมากที่สุดในโลก แม้ว่าจะนิยมนำมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร แต่ก็มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสได้ (6) ผลกระทบต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้ว่ามันนำไปสู่ประโยชน์ต่อสุขภาพหรือไม่ ? แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาหลายชิ้นได้ยืนยันถึงผลประโยชน์ของเปปเปอร์มินต์ที่มีต่อระบบทางเดินอาหาร มีการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าการเตรียมน้ำมันสะระแหน่รวมถึงสมุนไพรอื่น ๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ และปวดท้องได้ (7),(8),(9) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าน้ำมันเปปเปอร์มินต์สามารถช่วยในการผ่อนคลายอาการกระตุกในลำไส้ หลอดอาหาร และลำไส้ใหญ่ได้ (10),(11),(12) ดังนั้นเมื่อคุณรู้สึกไม่สบายท้องในการย่อยอาหารไม่ว่าจะเป็นตะคริว คลื่นไส้หรืออาหารไม่ย่อย ชาเปปเปอร์มินต์จึงเป็นวิธีการรักษาทางธรรมชาติที่ดีเยี่ยมค่ะ
3. ชาขิง
ชาขิง เป็นเครื่องดื่มที่มีรสเผ็ดและมีรสชาติอร่อย ชาขิงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพ และช่วยต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ (13) นอกจากนี้ยังช่วยต่อสู้กับการอักเสบ และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ชาขิงยังเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับอาการคลื่นไส้ (14) การศึกษาพบว่าขิงสามารถช่วยในการบรรเทาอาการคลื่นไส้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตั้งครรภ์ในระยะแรก รวมไปถึงสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ที่เกิดจากการรักษามะเร็งและอาการเมารถได้ (15) และหลักฐานยังชี้ให้เห็นว่า ขิงอาจช่วยป้องกันแผลในกระเพาะอาหารและบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยหรือท้องผูกได้ด้วย (16) นอกจากนี้ขิงอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ (17) ในความเป็นจริงการศึกษาสองชิ้นพบว่าขิงมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ที่ช่วยในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน (18)
4. ชาชบา
ชาชบา ทำจากดอกไม้ของต้นชบา มีสีแดงอมชมพูและมีรสชาติที่สดชื่น นอกจากสีของชาที่มีความโดดเด่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ชาชบายังมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย โดยชาชบามีคุณสมบัติในการต้านไวรัสและมีการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดจากชบามีประสิทธิภาพสูงในการต่อต้านเชื้อไข้หวัดนก อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การดื่มชาชบาสามารถช่วยคุณต่อสู้กับไวรัสอย่างไข้หวัดได้ (19) งานวิจัยจำนวนหนึ่งได้ศึกษาผลของชาชบาต่อระดับไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีการศึกษาบางส่วนพบว่ามีประสิทธิภาพ แม้ว่าการศึกษาทบทวนจำนวนมากจะพบว่า ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับไขมันในเลือด (20) อย่างไรก็ตามชาชบาแสดงให้เห็นว่ามีผลดีต่อความดันโลหิตสูงด้วย ซึ่งในความเป็นจริงการศึกษาจำนวนมากพบว่า ชาชบาช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ แม้ว่าการศึกษาต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะไม่ได้บอกว่ามันมีคุณภาพสูงก็ตาม (21),(22) แต่ข้อควรระวังคือ หลีกเลี่ยงการดื่มชาชบา หากคุณเพิ่งทานยาไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (เป็นยาขับปัสสาวะ) เนื่องจากทั้งสองอาจมีปฏิกิริยาต่อกัน ชาชบาจะทำให้ผลของแอสไพรินสั้นลง ดังนั้นควรทานแยกกัน โดยเว้นระยะเวลาสักประมาณ 3-4 ชั่วโมง (21)
5. ชาเอ็กไคนาเซีย
ชาเอ็กไคนาเซีย เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งกล่าวกันว่าเพื่อป้องกันและลดอาการไข้หวัด หลักฐานแสดงให้เห็นว่า เอ็กไคนาเซียอาจช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับไวรัสหรือการติดเชื้อ มีการศึกษาจำนวนมากพบว่า เอ็กไคนาเซียสามารถลดระยะเวลาของโรคไข้หวัดให้สั้นลง รวมทั้งลดความรุนแรงของอาการหรือแม้แต่ป้องกันหวัดได้ (23) อย่างไรก็ตามผลลัพธ์มีความขัดแย้งกันและการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีทำให้ยากที่จะบอกได้ว่าผลลัพธ์ที่เป็นบวกนั้น เกิดจากเอ็กไคนาเซีย
ดังนั้นเราจึงยังไม่สามารถพูดได้อย่างชัดเจนว่า การรับประทานเอ็กไคนาเซียจะช่วยแก้หวัดได้ แต่อย่างน้อยที่สุดเครื่องดื่มสมุนไพรอุ่น ๆ นี้อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือแก้อาการคัดจมูกได้หากคุณรู้สึกว่าเป็นหวัด (24)
6. ชารอยบอส
รอยบอส (Rooibos) เป็นชาสมุนไพรที่มาจากแอฟริกาใต้ มันทำจากใบของ รอยบอสหรือพืชพุ่มไม้สีแดง โดยในอดีตชาวแอฟริกาใต้เคยใช้มันเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ แต่ในปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในหัวข้อนี้น้อยมาก ซึ่งในการศึกษาบางส่วนได้แสดงให้เห็นว่าชารอยบอสอาจมีประโยชน์สุขภาพของกระดูก โดยเป็นการศึกษาในหลอดทดลอง ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าการทานชารอยบอส พร้อมกับชาเขียวและชาดำ อาจกระตุ้นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และความหนาแน่นของกระดูก (25) และการศึกษาเดียวกันยังพบว่ามันยังช่วยลดอักเสบและความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นหลักฐานเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าชารอยบอส อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ นอกจากนี้การศึกษาอื่นพบว่าการดื่มชารอยบอส 6 ถ้วยทุกวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลแ ละไขมัน LDL ที่ “ไม่ดี” ในเลือด ในขณะที่เพิ่ม HDL cholesterol ที่ “ดี” ในร่างกายได้ (26)
7. ชาใบเสจ
ชาใบเสจ เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องคุณสมบัติทางยา และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มให้การสนับสนุน เนื่องจากเชื่อว่าชาใบเสจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสุขภาพสมอง การศึกษาในหลอดทดลองกับสัตว์และกับมนุษย์หลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ชาใบเสจมีประโยชน์ต่อการทำงานของความรู้ความเข้าใจและอาจมีผลต่อผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ (27) และการศึกษาจำนวนหนึ่งพบว่าการดื่มชาใบเสจสามารถปรับปรุงอารมณ์ การทำงานของจิตใจ และความจำในผู้ใหญ่ด้วย (27),(28),(29) ชาใบเสจดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพทางปัญญาและอาจเป็นไปได้ว่าช่วยปรับปรุงสุขภาพของหัวใจและลำไส้ใหญ่
8. ชาเลมอนบาล์ม
ชาเลมอนบาล์ม มีรสคล้ายกับมะนาว ซึ่งมีคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพ ในการศึกษาขนาดเล็กใน 28 คน ที่ดื่มชาข้าวบาร์เลย์หรือชาเลมอนบาล์มเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มชาเลมอนบาล์มมีความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงดีขึ้น และผู้ที่ดื่มชาเลมอนบาล์มก็มีความยืดหยุ่นของผิวหนังเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแนวโน้มลดลงตามอายุ (30) การศึกษาเล็ก ๆ อีกชิ้นหนึ่งในคนงานรังสีวิทยาพบว่า การดื่มชามะนาวบาล์มวันละสองครั้งเป็นเวลาหนึ่งเดือนจะเพิ่มเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติของร่างกาย ซึ่งช่วยปกป้องร่างกายจากความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต่อเซลล์และดีเอ็นเอ (31) นอกจากนี้การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าบาล์มมะนาวช่วยเพิ่มอารมณ์และสมรรถภาพทางจิต การศึกษาสองชิ้น ผู้เข้าร่วม 20 คน ได้ประเมินผลของสารสกัดเลมอนบาล์มในปริมาณที่แตกต่างกัน พวกเขาพบว่าชาเลมอนบาล์มสามารถปรับปรุงทั้งในด้านความสงบและความจำ (32),(33)
9. ชาโรสฮิป
ชาโรสฮิป ทำจากผลไม้ของต้นกุหลาบ ซึ่งมีวิตามินซีสูงและมีสารประกอบที่เป็นประโยชน์ สารประกอบจากพืชเหล่านี้นอกเหนือไปจากไขมันบางชนิดที่พบในกุหลาบ ส่งผลให้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ (34) งานวิจัยหลายชิ้นได้พิจารณาถึงความสามารถของผงโรสฮิปในการลดการอักเสบในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคข้อเข่าเสื่อม การศึกษาจำนวนมากพบว่ามีประสิทธิภาพในการลดการอักเสบและอาการที่เกี่ยวข้องรวมถึงความเจ็บปวด (35),(36) นอกจากนี้ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของโรสฮิปอาจช่วยต่อต้านริ้วรอยของผิว และการศึกษาอีกส่วนหนึ่งพบว่าการทานผงโรสฮิปเป็นเวลา 9 สัปดาห์ ช่วยลดความลึกของริ้วรอยรอบดวงตา เพิ่มความชุ่มชื้น และความยืดหยุ่นของผิว คุณสมบัติเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอื่น ๆ เช่นกัน (37)
10. ชาเสาวรส
ชาเสาวรส ทำจาก ใบ ลำต้นและดอกของต้นเสาวรส โดยชาเสาวรสมักใช้เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลและปรับปรุงการนอนหลับ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าการดื่มชาเสาวรสเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ทำให้คะแนนคุณภาพการนอนหลับดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (38),(39) ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาของมนุษย์สองชิ้นพบว่าชาเสาวรสมีประสิทธิภาพในการลดความวิตกกังวล ในความเป็นจริงหนึ่งในการศึกษาเหล่านี้พบว่าชาเสาวรสมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาคลายความวิตกกังวล (40) และยังมีการศึกษาอื่นพบว่า ชาเสาวรสสามารถช่วยบรรเทาอาการทางจิตได้ด้วย อาทิเช่น ความวิตกกังวล ความหงุดหงิด และความกระวนกระวายใจ (41) สรุปแล้วชาเสาวรสดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีในการคลายความกังวลและส่งเสริมความสงบ
อ้างอิง
(2) A systematic review study of therapeutic effects of Matricaria recuitta chamomile (chamomile)
(3) Assessment of some Herbal Drugs for Prophylaxis of Peptic Ulcer
(6) A review of the bioactivity and potential health benefits of peppermint tea (Mentha piperita L.)
(7) Efficacy of a fixed peppermint oil/caraway oil combination in non-ulcer dyspepsia
(10) Peppermint oil improves the manometric findings in diffuse esophageal spasm
(14) Immunity: plants as effective mediators
(15) Is ginger beneficial for nausea and vomiting? An update of the literature
(16) A review of the gastroprotective effects of ginger (Zingiber officinale Roscoe)
(20) Effects of Hibiscus sabdariffa L. on serum lipids: a systematic review and meta-analysis
(22) The effectiveness of Hibiscus sabdariffa in the treatment of hypertension: a systematic review
(23) Medicinal properties of Echinacea: a critical review
(25) Comparison of black, green and rooibos tea on osteoblast activity
(27) Salvia (Sage): A Review of its Potential Cognitive-Enhancing and Protective Effects
(34) Therapeutic Applications of Rose Hips from Different Rosa Species
(35) Rosehip – an evidence based herbal medicine for inflammation and arthritis