อาหารฟาสต์ฟู้ด ทานมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างไรบ้าง

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย หากเราทาน “อาหารฟาสต์ฟู้ด” ในปริมาณที่มากเกินไป
ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย หากเราทาน “อาหารฟาสต์ฟู้ด” ในปริมาณที่มากเกินไป

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย หากเราทาน “อาหารฟาสต์ฟู้ด” ในปริมาณที่มากเกินไป

ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกายถ้าหากเราทาน “อาหารฟาสต์ฟู้ด” ในปริมาณที่มากเกินไป สำหรับอาหารฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารจานด่วน เป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมมากทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยอาหารจานด่วนเป็นอาหารที่สามารถเตรียมและเสิร์ฟได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะมาจากร้านอาหารแบบนั่งทาน, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, ซื้อกลับบ้าน, ขับรถผ่าน และจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ อาหารจานด่วนเป็นที่นิยมมากเนื่องจากอาหารทั้งหมดมักจะมีราคาถูก สะดวก รวดเร็ว และมีรสชาติที่ถูกปาก และด้วยความที่มันมีราคาที่ค่อนข้างถูก หลาย ๆ ร้านค้าจึงใช้ส่วนผสมที่ถูกกว่าอาหารทั่วไป เช่น ใช้เนื้อสัตว์ ส่วนที่มีไขมันสูง ๆ ใช้ธัญพืชที่ผ่านการกลั่น เติมน้ำตาล และไขมันแทนส่วนผสมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้อาหารจานด่วนยังมีโซเดียมสูง (หรือที่เรียกว่า เกลือ) ซึ่งใช้เป็นสารกันบูดและทำให้อาหารมีรสชาติ ถึงแม้อาหารฟาสต์ฟู้ด จะอร่อยมากและสามารถหาซื้อได้ง่าย แต่ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้หลายประการเช่นกัน ถ้าหากคุณอยากทราบว่า อาหารฟาสต์ฟู้ดมีโทษอย่างไรบ้าง ? ต้องไปดูกันค่ะ

1. ผลต่อระบบย่อยอาหารและหลอดเลือดหัวใจ

ผลต่อระบบย่อยอาหารและหลอดเลือดหัวใจ

อาหารจานด่วนส่วนใหญ่ รวมไปถึงเครื่องดื่ม และเครื่องเคียงเต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยน้อยหรือไม่มีเลย เมื่อระบบย่อยอาหารของคุณย่อยอาหารเหล่านี้ คาร์โบไฮเดรตจะถูกปล่อยออกมาเป็นน้ำตาลกลูโคส (น้ำตาล) เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดของคุณ เป็นผลให้น้ำตาลในเลือดของคุณเพิ่มขึ้น ตับอ่อนจะตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลกลูโคสโดยการปล่อยอินซูลิน ซึ่งอินซูลินจะลำเลียงน้ำตาลไปทั่วร่างกายไปยังเซลล์ที่ต้องการพลังงาน กระบวนการการผลิตน้ำตาลในเลือดนี้ถูกควบคุมโดยร่างกายของคุณและตราบใดที่คุณมีสุขภาพดี อวัยวะของคุณก็สามารถรับมือกับน้ำตาลเหล่านี้ได้ แต่การทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูงบ่อย ๆ จะทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นซ้ำ ๆ เมื่อเวลาผ่านไปอินซูลินที่พุ่งสูงขึ้นอาจทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินตามปกติของร่างกายของคุณลดลง และอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการดื้อต่ออินซูลิน เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่ง American Diabetes Association (ADA) ได้ประมาณการเอาไว้ว่า มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หากพวกเขาไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (1)

2. มีน้ำตาลและไขมันในปริมาณสูง

อาหารฟาสต์ฟู้ดได้เพิ่มน้ำตาลลงไป ไม่เพียงแต่แคลอรี่ส่วนเกินเท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารน้อยด้วย American Heart Association (AHA) แนะนำให้กินน้ำตาลเพียง 100 ถึง 150 แคลอรี่ต่อวัน นั่นคือประมาณ 6 – 9 ช้อนชา เครื่องดื่มฟาสต์ฟู้ดหลายชนิดมีน้ำตาลเยอะมาก โดยใน 1 แก้ว อาจจะมีน้ำตาลมากถึง 8 ช้อนชา นั่นเท่ากับ 140 แคลอรี่ อีกทั้งเครื่องดื่มและอาหารหลายชนิดยังมีไขมันทรานส์อีกด้วย ไขมันทรานส์ คือ ไขมันที่ผลิตขึ้นในระหว่างการแปรรูปอาหาร พบได้ทั่วไปใน

  • พายทอด
  • ขนมอบ
  • แป้งพิซซ่า
  • แครกเกอร์
  • คุ้กกี้

แน่นอนว่าไม่มีไขมันทรานส์ที่ดีต่อสุขภาพ มีแต่จะเพิ่ม LDL (คอเลสเตอรอลที่ไม่ดี) และลดปริมาณของ HDL (คอเลสเตอรอลที่ดี) การทานไขมันทรานส์จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจได้

3. โซเดียม

การรวมกันของไขมัน น้ำตาล และโซเดียม (เกลือ) จำนวนมากสามารถทำให้อาหารจานด่วนอร่อยขึ้นสำหรับบางคน แต่อาหารที่มีโซเดียมสูงสามารถนำไปสู่การกักเก็บน้ำได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่คุณอาจรู้สึกตัวบวม ท้องอืด หรือบวมหลังจากรับประทานอาหารจานด่วน อาหารที่มีโซเดียมสูงยังเป็นอันตรายสำหรับคนที่เป็นโรคความดันโลหิต โซเดียมสามารถเพิ่มจะความดันโลหิต และสร้างความเครียดให้กับหัวใจ รวมถึงระบบหลอดเลือดของคุณได้ (2)

4. ผลต่อระบบทางเดินหายใจ

ผลต่อระบบทางเดินหายใจ

แคลอรี่ส่วนเกินจากอาหารจานด่วนอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอ้วน และโรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงสำหรับปัญหาทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด และหายใจถี่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสามารถสร้างแรงกดดันต่อหัวใจและปอดของคุณได้และอาจมีอาการรุนแรงขึ้น แม้จะออกแรงเพียงเล็กน้อยก็ตาม คุณอาจสังเกตเห็นว่าหายใจลำบากเมื่อคุณเดินขึ้นบันไดหรือออกกำลังกาย สำหรับเด็กความเสี่ยงต่อปัญหาระบบทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ นั้นโดยเฉพาะ การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าเด็กที่กินอาหารจานด่วนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหอบหืด (3)

5. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง

อาหารจานด่วนอาจตอบสนองความหิวในระยะสั้น แต่ผลลัพธ์ในระยะยาวจะเป็นบวกน้อยกว่า คนที่กินอาหารจานด่วนและขนมอบแปรรูปมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่ไม่กินอาหารเหล่านั้นหรือกินน้อยมากถึง 51 เปอร์เซ็นต์ (4)

6. ผลต่อระบบสืบพันธุ์

ส่วนผสมในอาหารขยะ และอาหารฟาสต์ฟู้ด อาจมีผลกระทบต่อร่างกาย หนึ่งการศึกษาพบว่าอาหารแปรรูปมี Phthalates สูงมาก และ Phthalates ก็เป็นสารเคมีที่สามารถขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายของคุณ การสัมผัสสารเคมีระดับสูงเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาการเจริญพันธุ์ ทำให้มีโอกาสมีลูกยาก รวมทั้งการเกิดข้อบกพร่องในร่างกาย (5)

7. ผลต่อระบบผิวหนัง (ผิวหนัง ผม เล็บ)

อาหารที่คุณกินอาจส่งผลกระทบต่อลักษณะผิวของคุณแต่อาจไม่ใช่อาหารที่คุณสงสัย ในอดีตช็อกโกแลตและอาหารมัน ๆ เช่น พิซซ่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว (ดูเพิ่มเติม อาหารที่กินแล้วอาจทำให้เกิดสิว) อาหารที่อุดมด้วยคาร์บจะทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันอาจทำให้เกิดสิวได้ (6) นอกจากนี้การทานอาหารฟาสต์ฟู้ดยังมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดโรคกลากได้อีกด้วย โดยกลากเป็นอาการทางผิวหนังที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังที่ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและอาการคัน

8. ผลต่อระบบกระดูก

คาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลในอาหารจานด่วนและอาหารแปรรูปสามารถเพิ่มกรดในปากของคุณได้ กรดเหล่านี้สามารถสลายเคลือบฟันได้ เมื่อเคลือบฟันหายไป แบคทีเรียก็สามารถกักขังและทำให้ฟันผุได้ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก นอกจากนี้ยังสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่มีความหนาแน่นของกระดูกและมวลกล้ามเนื้อ คนที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงที่กระดูกจะหักมากขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายจึงสำคัญมาก เพราะมันจะสร้างกล้ามเนื้อซึ่งสนับสนุนกระดูกของคุณและรักษาสุขภาพเพื่อลดการสูญเสียมวลกระดูกได้

9. ผลกระทบของอาหารฟาสต์ฟู้ดต่อสังคม

อาหารฟาสต์ฟู้ด

ปัจจุบันผู้ใหญ่มากกว่า 2 ใน 3 ในสหรัฐอเมริกาถือว่ามีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน มากกว่าหนึ่งในสามของเด็กอายุ 6-19 ปี ซึ่งถือว่ามีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน (7) การเติบโตของอาหารจานด่วนในอเมริกาดูเหมือนจะสอดคล้องกับการเติบโตของโรคอ้วนในสหรัฐอเมริกา The Obesity Action Coalition (OAC) รายงานว่า จำนวนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 1970 จำนวนคนอเมริกันที่เป็นโรคอ้วนก็เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าเช่นกัน แม้จะมีความพยายามที่จะสร้างความตระหนัก และให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันอย่างชาญฉลาด หนึ่งในการศึกษาพบว่า ปริมาณของแคลอรี่, ไขมัน และโซเดียมในอาหารฟาสต์ฟู้ดส่วนใหญ่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากชาวอเมริกันมีงานยุ่งมากขึ้น และรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อยขึ้น อาจส่งผลเสียต่อระบบการดูแลสุขภาพของแต่ละบุคคลและของอเมริกา (8) ซึ่งแน่นอนค่ะว่า ประเทศไทยของเราก็เช่นกัน เพราะประเทศไทยนั้นมีอาหารฟาสต์ฟู้ดเยอะมากเลยทีเดียว


อ้างอิง 

(1) Prediabetes: A high-risk state for developing diabetes

(2) Salt and Sodium

(3) Do fast foods cause asthma, rhinoconjunctivitis and eczema? Global findings from the International Study of Asthma and Allergies in Childhood (ISAAC) Phase Three

(4) Fast-food and commercial baked goods consumption and the risk of depression

(5) Recent Fast Food Consumption and Bisphenol A and Phthalates Exposures among the U.S. Population in NHANES, 2003–2010

(6) Acne

(7) Overweight & Obesity Statistics

(8) Temporal Trends in Fast-Food Restaurant Energy, Sodium, Saturated Fat, and Trans Fat Content, United States, 1996–2013