ชาสมุนไพร เพื่อสุขภาพ 10 ชนิด ที่คุณควรจะลองดื่มสักครั้ง !

ชาสมุนไพร 10 ชนิดที่คุณควรลองดื่มสักครั้ง
ชาสมุนไพร 10 ชนิดที่คุณควรลองดื่มสักครั้ง

“ชาสมุนไพร” เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมานานหลายศตวรรษ ถึงกระนั้นชาสมุนไพรก็ไม่ใช่ชาที่แท้จริง เพราะชาที่แท้จริง ได้แก่ ชาเขียว, ชาดำ และชาอู่หลง โดยชาเหล่านี้จะใช้ใบชาในการปรุงชา แต่ในทางกลับกันชาสมุนไพร มักจะทำจากผลไม้แห้ง, ดอกไม้, เครื่องเทศ หรือสมุนไพรต่าง ๆ ทำให้ชาสมุนไพรสามารถมีรสชาติและกลิ่นที่หลากหลายได้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าเหมาะสำหรับคนที่ต้องการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หรือไม่อยากทานน้ำเปล่า เพราะนอกจากจะมีความอร่อยแล้ว ชาสมุนไพรบางชนิดยังมีคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพอีกด้วย ซึ่งในความเป็นจริงชาสมุนไพรมักถูกใช้เป็นยารักษาโรคตามธรรมชาติมาหลายร้อยปีแล้ว เนื่องจากมีการสกัดมาจากธรรมชาติมากมาย ซึ่งแน่นอนมันไร้สารเคมีอันตราย ชาทุกชนิดจึงมีประโยชน์ในตัวเอง หากวันนี้คุณกำลังมองหาชาสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพอยู่ เราก็มีชาสมุนไพร 10 ชนิดมาแนะนำกันค่ะ

1. ชาคาโมมายล์

ชาคาโมมายล์

ชาคาโมมายล์ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามีฤทธิ์ผ่อนคลายและมักใช้เป็นยาช่วยในการนอนหลับ การศึกษาสองชิ้นได้ตรวจสอบผลของชาคาโมมายล์พบสารสกัดที่มีต่อปัญหาการนอนหลับของมนุษย์ ในการศึกษาหญิงหลังคลอด 80 คน ที่ประสบปัญหาการนอนหลับพบว่า การดื่มชาคาโมมายล์เป็นเวลาสองสัปดาห์ ทำให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น และอาการซึมเศร้าน้อยลง (1) ยิ่งไปกว่านั้นดอกคาโมมายล์อาจไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ช่วยในการนอนหลับเท่านั้น เพราะเชื่อกันว่าคาโมมายล์มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และปกป้องตับด้วย (2) และการศึกษาในหนูพบหลักฐานเบื้องต้นว่า ดอกคาโมมายล์อาจช่วยต่อสู้กับอาการท้องร่วง และแผลในกระเพาะอาหารได้ (2),(3) อีกทั้งการศึกษาชิ้นหนึ่งยังพบว่าชาคาโมมายล์ช่วยลดอาการของโรคก่อนมีประจำเดือนได้ และในขณะที่การศึกษาอื่นในคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลิน และระดับไขมันในเลือดดีขึ้นด้วย (4),(5)

2. ชาเปปเปอร์มินต์ (สะระแหน่)

ชาเปปเปอร์มินต์

ชาเปปเปอร์มินต์ เป็นหนึ่งในชาสมุนไพรที่ใช้กันมากที่สุดในโลก แม้ว่าจะนิยมนำมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร แต่ก็มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสได้ (6) ผลกระทบต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้ว่ามันนำไปสู่ประโยชน์ต่อสุขภาพหรือไม่ ? แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาหลายชิ้นได้ยืนยันถึงผลประโยชน์ของเปปเปอร์มินต์ที่มีต่อระบบทางเดินอาหาร มีการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าการเตรียมน้ำมันสะระแหน่รวมถึงสมุนไพรอื่น ๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ และปวดท้องได้ (7),(8),(9) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าน้ำมันเปปเปอร์มินต์สามารถช่วยในการผ่อนคลายอาการกระตุกในลำไส้  หลอดอาหาร และลำไส้ใหญ่ได้ (10),(11),(12) ดังนั้นเมื่อคุณรู้สึกไม่สบายท้องในการย่อยอาหารไม่ว่าจะเป็นตะคริว คลื่นไส้หรืออาหารไม่ย่อย ชาเปปเปอร์มินต์จึงเป็นวิธีการรักษาทางธรรมชาติที่ดีเยี่ยมค่ะ

3. ชาขิง

ชาขิง

ชาขิง เป็นเครื่องดื่มที่มีรสเผ็ดและมีรสชาติอร่อย ชาขิงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพ และช่วยต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ได้ (13) นอกจากนี้ยังช่วยต่อสู้กับการอักเสบ และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ชาขิงยังเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับอาการคลื่นไส้ (14) การศึกษาพบว่าขิงสามารถช่วยในการบรรเทาอาการคลื่นไส้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตั้งครรภ์ในระยะแรก รวมไปถึงสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ที่เกิดจากการรักษามะเร็งและอาการเมารถได้ (15) และหลักฐานยังชี้ให้เห็นว่า ขิงอาจช่วยป้องกันแผลในกระเพาะอาหารและบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยหรือท้องผูกได้ด้วย (16) นอกจากนี้ขิงอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ (17) ในความเป็นจริงการศึกษาสองชิ้นพบว่าขิงมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ที่ช่วยในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน (18) 

4. ชาชบา

ชาชบา

ชาชบา ทำจากดอกไม้ของต้นชบา มีสีแดงอมชมพูและมีรสชาติที่สดชื่น นอกจากสีของชาที่มีความโดดเด่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ชาชบายังมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย โดยชาชบามีคุณสมบัติในการต้านไวรัสและมีการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดจากชบามีประสิทธิภาพสูงในการต่อต้านเชื้อไข้หวัดนก อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การดื่มชาชบาสามารถช่วยคุณต่อสู้กับไวรัสอย่างไข้หวัดได้ (19) งานวิจัยจำนวนหนึ่งได้ศึกษาผลของชาชบาต่อระดับไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีการศึกษาบางส่วนพบว่ามีประสิทธิภาพ แม้ว่าการศึกษาทบทวนจำนวนมากจะพบว่า ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับไขมันในเลือด (20) อย่างไรก็ตามชาชบาแสดงให้เห็นว่ามีผลดีต่อความดันโลหิตสูงด้วย ซึ่งในความเป็นจริงการศึกษาจำนวนมากพบว่า ชาชบาช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ แม้ว่าการศึกษาต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะไม่ได้บอกว่ามันมีคุณภาพสูงก็ตาม (21),(22) แต่ข้อควรระวังคือ หลีกเลี่ยงการดื่มชาชบา หากคุณเพิ่งทานยาไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (เป็นยาขับปัสสาวะ) เนื่องจากทั้งสองอาจมีปฏิกิริยาต่อกัน ชาชบาจะทำให้ผลของแอสไพรินสั้นลง ดังนั้นควรทานแยกกัน โดยเว้นระยะเวลาสักประมาณ 3-4 ชั่วโมง (21)

5. ชาเอ็กไคนาเซีย

ชาเอ็กไคนาเซีย

ชาเอ็กไคนาเซีย เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งกล่าวกันว่าเพื่อป้องกันและลดอาการไข้หวัด หลักฐานแสดงให้เห็นว่า เอ็กไคนาเซียอาจช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับไวรัสหรือการติดเชื้อ มีการศึกษาจำนวนมากพบว่า เอ็กไคนาเซียสามารถลดระยะเวลาของโรคไข้หวัดให้สั้นลง รวมทั้งลดความรุนแรงของอาการหรือแม้แต่ป้องกันหวัดได้ (23) อย่างไรก็ตามผลลัพธ์มีความขัดแย้งกันและการศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีทำให้ยากที่จะบอกได้ว่าผลลัพธ์ที่เป็นบวกนั้น เกิดจากเอ็กไคนาเซีย 

ดังนั้นเราจึงยังไม่สามารถพูดได้อย่างชัดเจนว่า การรับประทานเอ็กไคนาเซียจะช่วยแก้หวัดได้ แต่อย่างน้อยที่สุดเครื่องดื่มสมุนไพรอุ่น ๆ นี้อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือแก้อาการคัดจมูกได้หากคุณรู้สึกว่าเป็นหวัด (24)

6. ชารอยบอส

ชารอยบอส

รอยบอส (Rooibos) เป็นชาสมุนไพรที่มาจากแอฟริกาใต้ มันทำจากใบของ รอยบอสหรือพืชพุ่มไม้สีแดง โดยในอดีตชาวแอฟริกาใต้เคยใช้มันเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ แต่ในปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในหัวข้อนี้น้อยมาก ซึ่งในการศึกษาบางส่วนได้แสดงให้เห็นว่าชารอยบอสอาจมีประโยชน์สุขภาพของกระดูก โดยเป็นการศึกษาในหลอดทดลอง ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าการทานชารอยบอส พร้อมกับชาเขียวและชาดำ อาจกระตุ้นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และความหนาแน่นของกระดูก (25) และการศึกษาเดียวกันยังพบว่ามันยังช่วยลดอักเสบและความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นหลักฐานเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าชารอยบอส อาจช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ นอกจากนี้การศึกษาอื่นพบว่าการดื่มชารอยบอส 6 ถ้วยทุกวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลแ ละไขมัน LDL ที่ “ไม่ดี” ในเลือด ในขณะที่เพิ่ม HDL cholesterol ที่ “ดี” ในร่างกายได้ (26)

7. ชาใบเสจ

ชาใบเสจ

ชาใบเสจ เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องคุณสมบัติทางยา และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มให้การสนับสนุน เนื่องจากเชื่อว่าชาใบเสจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสุขภาพสมอง การศึกษาในหลอดทดลองกับสัตว์และกับมนุษย์หลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ชาใบเสจมีประโยชน์ต่อการทำงานของความรู้ความเข้าใจและอาจมีผลต่อผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ (27) และการศึกษาจำนวนหนึ่งพบว่าการดื่มชาใบเสจสามารถปรับปรุงอารมณ์ การทำงานของจิตใจ และความจำในผู้ใหญ่ด้วย (27),(28),(29) ชาใบเสจดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพทางปัญญาและอาจเป็นไปได้ว่าช่วยปรับปรุงสุขภาพของหัวใจและลำไส้ใหญ่

8. ชาเลมอนบาล์ม

ชาเลมอนบาล์ม

ชาเลมอนบาล์ม มีรสคล้ายกับมะนาว ซึ่งมีคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพ ในการศึกษาขนาดเล็กใน 28 คน ที่ดื่มชาข้าวบาร์เลย์หรือชาเลมอนบาล์มเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มชาเลมอนบาล์มมีความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงดีขึ้น และผู้ที่ดื่มชาเลมอนบาล์มก็มีความยืดหยุ่นของผิวหนังเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแนวโน้มลดลงตามอายุ (30) การศึกษาเล็ก ๆ อีกชิ้นหนึ่งในคนงานรังสีวิทยาพบว่า การดื่มชามะนาวบาล์มวันละสองครั้งเป็นเวลาหนึ่งเดือนจะเพิ่มเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติของร่างกาย ซึ่งช่วยปกป้องร่างกายจากความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต่อเซลล์และดีเอ็นเอ (31) นอกจากนี้การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าบาล์มมะนาวช่วยเพิ่มอารมณ์และสมรรถภาพทางจิต การศึกษาสองชิ้น ผู้เข้าร่วม 20 คน ได้ประเมินผลของสารสกัดเลมอนบาล์มในปริมาณที่แตกต่างกัน พวกเขาพบว่าชาเลมอนบาล์มสามารถปรับปรุงทั้งในด้านความสงบและความจำ (32),(33)

9. ชาโรสฮิป

ชาโรสฮิป

ชาโรสฮิป ทำจากผลไม้ของต้นกุหลาบ ซึ่งมีวิตามินซีสูงและมีสารประกอบที่เป็นประโยชน์ สารประกอบจากพืชเหล่านี้นอกเหนือไปจากไขมันบางชนิดที่พบในกุหลาบ ส่งผลให้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ (34) งานวิจัยหลายชิ้นได้พิจารณาถึงความสามารถของผงโรสฮิปในการลดการอักเสบในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคข้อเข่าเสื่อม การศึกษาจำนวนมากพบว่ามีประสิทธิภาพในการลดการอักเสบและอาการที่เกี่ยวข้องรวมถึงความเจ็บปวด (35),(36) นอกจากนี้ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของโรสฮิปอาจช่วยต่อต้านริ้วรอยของผิว และการศึกษาอีกส่วนหนึ่งพบว่าการทานผงโรสฮิปเป็นเวลา 9 สัปดาห์ ช่วยลดความลึกของริ้วรอยรอบดวงตา เพิ่มความชุ่มชื้น และความยืดหยุ่นของผิว คุณสมบัติเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอื่น ๆ เช่นกัน (37)

10. ชาเสาวรส

ชาเสาวรส

ชาเสาวรส ทำจาก ใบ ลำต้นและดอกของต้นเสาวรส โดยชาเสาวรสมักใช้เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลและปรับปรุงการนอนหลับ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าการดื่มชาเสาวรสเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ทำให้คะแนนคุณภาพการนอนหลับดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (38),(39) ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาของมนุษย์สองชิ้นพบว่าชาเสาวรสมีประสิทธิภาพในการลดความวิตกกังวล ในความเป็นจริงหนึ่งในการศึกษาเหล่านี้พบว่าชาเสาวรสมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาคลายความวิตกกังวล (40) และยังมีการศึกษาอื่นพบว่า ชาเสาวรสสามารถช่วยบรรเทาอาการทางจิตได้ด้วย อาทิเช่น ความวิตกกังวล ความหงุดหงิด และความกระวนกระวายใจ (41) สรุปแล้วชาเสาวรสดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีในการคลายความกังวลและส่งเสริมความสงบ


อ้างอิง 

(1) Effects of an intervention with drinking chamomile tea on sleep quality and depression in sleep disturbed postnatal women: a randomized controlled trial

(2) A systematic review study of therapeutic effects of Matricaria recuitta chamomile (chamomile)

(3) Assessment of some Herbal Drugs for Prophylaxis of Peptic Ulcer

(4) Comparison of the effects of Matricaria chamomila (Chamomile) extract and mefenamic acid on the intensity of premenstrual syndrome

(5) Effectiveness of chamomile tea on glycemic control and serum lipid profile in patients with type 2 diabetes

(6) A review of the bioactivity and potential health benefits of peppermint tea (Mentha piperita L.)

(7) Efficacy of a fixed peppermint oil/caraway oil combination in non-ulcer dyspepsia

(8) Efficacy and tolerability of a fixed combination of peppermint oil and caraway oil in patients suffering from functional dyspepsia

(9) A plant extract and its modified preparation in functional dyspepsia. Results of a double-blind placebo controlled comparative study

(10) Peppermint oil improves the manometric findings in diffuse esophageal spasm

(11) Spasmolytic effect of peppermint oil in barium during double-contrast barium enema compared with Buscopan

(12) An easy method for the intraluminal administration of peppermint oil before colonoscopy and its effectiveness in reducing colonic spasm

(13) Anti-oxidative and anti-inflammatory effects of ginger in health and physical activity: review of current evidence

(14) Immunity: plants as effective mediators

(15) Is ginger beneficial for nausea and vomiting? An update of the literature

(16) A review of the gastroprotective effects of ginger (Zingiber officinale Roscoe)

(17) Comparison of the effect of ginger and zinc sulfate on primary dysmenorrhea: a placebo-controlled randomized trial

(18) Comparison of effects of ginger, mefenamic acid, and ibuprofen on pain in women with primary dysmenorrhea

(19) High antiviral effects of hibiscus tea extract on the H5 subtypes of low and highly pathogenic avian influenza viruses

(20) Effects of Hibiscus sabdariffa L. on serum lipids: a systematic review and meta-analysis

(21) Hibiscus sabdariffa L. in the treatment of hypertension and hyperlipidemia: a comprehensive review of animal and human studies

(22) The effectiveness of Hibiscus sabdariffa in the treatment of hypertension: a systematic review

(23) Medicinal properties of Echinacea: a critical review

(24) Effects of drinking hot water, cold water, and chicken soup on nasal mucus velocity and nasal airflow resistance

(25) Comparison of black, green and rooibos tea on osteoblast activity

(26) Effects of rooibos (Aspalathus linearis) on oxidative stress and biochemical parameters in adults at risk for cardiovascular disease

(27) Salvia (Sage): A Review of its Potential Cognitive-Enhancing and Protective Effects

(28) Effects of cholinesterase inhibiting sage (Salvia officinalis) on mood, anxiety and performance on a psychological stressor battery

(29) An extract of Salvia (sage) with anticholinesterase properties improves memory and attention in healthy older volunteers

(30) Beneficial Effects of Lemon Balm Leaf Extract on In Vitro Glycation of Proteins, Arterial Stiffness, and Skin Elasticity in Healthy Adults

(31) Effects of Melissa officinalis L. on oxidative status and DNA damage in subjects exposed to long-term low-dose ionizing radiation

(32) Modulation of mood and cognitive performance following acute administration of Melissa officinalis (lemon balm)

(33) Modulation of mood and cognitive performance following acute administration of single doses of Melissa officinalis (Lemon balm) with human CNS nicotinic and muscarinic receptor-binding properties

(34) Therapeutic Applications of Rose Hips from Different Rosa Species

(35) Rosehip – an evidence based herbal medicine for inflammation and arthritis

(36) The Effects of a Standardized Herbal Remedy Made from a Subtype of Rosa canina in Patients with Osteoarthritis: A Double-Blind, Randomized, Placebo-Controlled Clinical Trial

(37) The effectiveness of a standardized rose hip powder, containing seeds and shells of Rosa canina, on cell longevity, skin wrinkles, moisture, and elasticity

(38) A double-blind, placebo-controlled investigation of the effects of Passiflora incarnata (passionflower) herbal tea on subjective sleep quality

(39) Preoperative oral Passiflora incarnata reduces anxiety in ambulatory surgery patients: a double-blind, placebo-controlled study

(40) Passionflower in the treatment of generalized anxiety: a pilot double-blind randomized controlled trial with oxazepam

(41) Passionflower in the treatment of opiates withdrawal: a double-blind randomized controlled trial