“ไข่” เป็นอาหารพื้นฐานในทุก ๆ เมนูเพราะมันหาซื้อและหาทานได้ง่ายมาก นอกจากนี้ไข่ยังเป็นแหล่งโปรตีนและสารอาหารอื่น ๆ ที่ยอดเยี่ยม มีรสชาติอร่อยและราคาไม่แพง เมื่อพูดถึงเมนูไข่คุณอาจจะนึกถึงหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นไข่ดาว ไข่ลูกเขย ไข่พะโล้ ไข่เจียวหรือไข่น้ำก็สามารถทำได้ง่ายโดยใช้เพียงแค่ไข่และเครื่องปรุงรสเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น แต่ไข่อีกหนึ่งประเภทที่เป็นพื้นฐานของเมนูไข่ต่าง ๆ คือ “ไข่ต้ม” ค่ะ ไข่ต้มดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ทำได้ง่ายที่สุดเพียงเติมน้ำ เปิดแก๊สใส่ไข่ลงไปก็ได้ไข่ต้มแล้ว แต่คุณอาจจะลืมไปว่าแท้จริงแล้วการต้มไข่นั้นมีความแตกต่างกันไปตามเวลาในการต้ม หากต้มในเวลาที่ไม่มากพอไข่ต้มที่เราได้ก็จะไม่ความสุกที่ต่างกันและหลายอาจจะคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือการแปลงสภาพเป็น ไข่ลวกหรือไข่ยางมะตูมนั่นเอง
อย่างที่เราบอกค่ะไข่มีความสุกที่ต่างกันและเหมาะกับอาหารที่ต่างกันด้วย อย่างเช่นไข่ลวกจะนิยมทานกับพริกไทยและซอสถั่วเหลืองเพื่อเป็นอาหารเช้า ส่วนไข่ยางมะตูมยั้นจะเหมาะสำหรับการใช้ทานกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยวต้มยำเพื่อเพิ่มอรรถรสในการทานมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ความสุกของไข่ไก่นั้นมักจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนด้วย วันนี้เราจะขอแนะนำ “วิธีการต้มไข่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ไข่ตามที่ต้องการ” กันค่ะ รับรองว่าคุณจะได้ไข่ตามที่คุณต้องการอย่างแน่นอน แต่ก่แนที่จะไปต้มไข่ไก่กัน เราต้องทำการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพสภาพแวดล้อมด้วย การเลือกไข่ที่มีคุณภาพสูงจะทำให้การปรุงอาหารของคุณมีรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นด้วย
ข้อมูลโภชนาการของไข่ต้ม
ไข่ลวกเต็มไปด้วยสารอาหาร โปรตีนและไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ไข่ลวกขนาดใหญ่หนึ่งฟอง (50 กรัม) จะให้โภชนาการ ดังนี้ (1)
ชนิดของพลังงานและสารอาหาร |
ปริมาณของสารอาหาร |
แคลอรี่ | 77 กิโลแคลอรี่ |
คาร์โบไฮเดรต | 0.6 กรัม |
ไขมันทั้งหมด | 5.3 กรัม |
ไขมันอิ่มตัว | 1.6 กรัม |
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว | 2.0 กรัม |
คอเลสเตอรอล | 212 มก. |
โปรตีน | 6.3 กรัม |
วิตามินเอ | 6% ของปริมาณอาหารที่แนะนำ (RDA) |
วิตามินบี (ไรโบฟลาวิน) | 15% ของปริมาณอาหารที่แนะนำ (RDA) |
วิตามินบี 12 (โคบาลามิน) | 9% ของปริมาณอาหารที่แนะนำ (RDA) |
วิตามินบี 5 (กรดแพนโทธีนิก) | 7% ของปริมาณอาหารที่แนะนำ (RDA) |
ฟอสฟอรัส | 9% ของปริมาณอาหารที่แนะนำ (RDA) |
ซีลีเนียม | 22% ของปริมาณอาหารที่แนะนำ (RDA) |
สำหรับสารอาหารทั้งหมดที่ไข่นั้นมีทำให้ไข่เป็นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ ไข่ต้มจะให้แคลอรี่เพียง 77 แคลอรี่ไขมัน 5 กรัมและคาร์โบไฮเดรตในปริมาณเล็กน้อย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งโปรตีนลีนที่ดีมากโดยประมาณ 6 กรัมต่อไข่หนึ่งฟอง นอกจากนี้ไข่ยังมีกรดอะมิโนหลากหลายชนิดซึ่งหมายความว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ไข่ต้มยังมีสารอาหารที่สำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินดี สังกะสี แคลเซียมและวิตามินบี อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ดีของ riboflavin (วิตามินบี 2) และวิตามินบี 12 สารอาหารของไข่หลายชนิดอาศัยอยู่เฉพาะในไข่แดงในขณะที่ไข่ขาวมีโปรตีนเป็นหลัก ดังนั้นคนที่ต้องการกล้ามเนื้อมักจะชอบทานไข่ขาวมากกว่าไข่แดง (1) (2)
เทคนิคในการต้มไข่
1. การเตรียมของเพื่อต้มไข่
ขั้นตอนแรกให้ล้างและทำความสะอาดไข่ให้สะอาด เพราะสิ่งสกปรกที่มากับตัวไข่นั้นอาจจะเป็นอันตรายกับเราได้ นอกจากนี้การล้างทำความสะอาดไข่ยังช่วยให้เราได้ขจัดฝุ่นและคราบสกปรกออกจากตัวไข่ได้ง่ายขึ้นด้วย
เตรียมหม้อโดยการตั้งน้ำให้เดือด อย่าลืมที่จะเติมเกลือหรือน้ำส้มสายชูลงไปเพราะเกลือและน้ำส้มสายชูจะช่วยให้เราปอกเปลือกไข่ได้ง่ายขึ้นหลังจากที่เราต้มเสร็จ อีกทั้งควรให้ปริมาณน้ำนั้นสูงกว่าไข่หรือท่วมไข่ประมาณ 1 นิ้วเพื่อให้สุกทั่วถึงกันทุกด้าน
เตรียมน้ำเย็นใส่ในกะละมังหรือถ้วย เพราะเมื่อนำไข่ขึ้นมาแล้วเราต้องทำการน็อคน้ำเย็นทันที เพื่อหยุดความสุกของไข่ไว้ หากเราไม่ได้น็อคหรือแช่ในน้ำเย็นอาจจะทำไข่นั้นสุกเพิ่มขึ้นเพราะความร้อนยังอยู่และอาจจะไม่ได้ความสุกของไข่ตามที่คุณต้องการ
2. เวลากับการต้มไข่
หลายคนอาจจะสงสัยว่าเราควรต้มไข่กี่นาทีเพื่อให้ได้ไข่ตามที่เราต้องการ วันนี้เราก็มีคำตอบมาให้กันค่ะ ไข่ที่เราใช้ต้มในวันนี้เป็นไข่ที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง ขนาดเบอร์ 2 ค่ะ เมื่อน้ำเดือดแล้วให้ใส่ไข่ลงไปและจับเวลาตามความสุขที่คุณต้องการ หากไม่มีการจับเวลาคุณอาจจะได้ไข่ที่สุกเกินไปหรืออาจจะดิบไปเลยค่ะ เราไปดูกันว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการต้มไข่จะเป็นอย่างไร ?
2 นาทีไข่ขาวบางส่วนสุก แต่ก็ยังไม่สุกดีนักและไข่แดงก็ยังดิบอยู่ |
|
4 นาทีไข่ขาวเริ่มสุก แต่ไข่แดงก็ยังกึ่งดิบกิ่งสุกอยู่ |
|
5 นาทีไข่ขาวสุกเต็มที่ ไข่แดงยังเป็นน้ำอยู่แต่บางส่วนก็สุกแล้ว |
|
6 นาทีไข่ขาวสุกเต็มที่ ไข่แดงบางส่วนสุกแล้วตรงกลางมีความเยิ้มน่ารับประทาน |
|
8 นาทีไข่ขาวและไข่แดงสุกเต็มที่ แต่ภายในก็ยังมีความฉ่ำของไข่แดงเล็กน้อย |
|
10 นาทีไข่ขาวและไข่แดงสุกทั่วกันกลายเป็น “ไข่สุก” |
เป็นอย่างไรบ้างคะกับการต้มไข่ตามเวลาที่เราได้แนะนำกันไปในวันนี้ อย่าลืมนำไปทำตามกันนะคะ และหลังจากเอาไข่ขึ้นจากน้ำแล้วอย่าลืมแช่ด้วยน้ำแข็งทันทีเพื่อให้ได้รูปแบบและความสุขของไข่ตามที่เราต้องการ
วิธีปอกเปลือกไข่ให้สวยงาม
บางครั้งเมื่อคุณปอกเปลือกไข่คุณอาจสังเกตเห็นว่าชิ้นส่วนของไข่หลุดออกมาพร้อมกับเปลือก นี่เป็นเรื่องปกติของไข่แต่จะไม่ส่งผลต่อรสชาติของไข่เลย เพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอกอาจจะดูไม่สวยงามเท่านั้น มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ไข่ที่เราปอกไม่เรียบ ปกติแล้วไข่สดนั้นจะปอกยากมากและไม่เรียบในขณะที่ไข่เก่าปอกง่ายกว่า มีเคล็ดลับเทคนิคและเทคนิคมากมายเกี่ยวกับวิธีการปอกไข่ให้เรียบและสวยงาม เช่น เติมเกลือหรือเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาลงในน้ำเดือดหรือจะใช้น้ำส้มสายชู 1 ช้อนชาเติมลงไปในน้ำก็ได้, จิ้มก้นไข่ด้วยเข็มก่อนใช้งาน, กระเทาะเปลือกไข่ต้มให้ทั่วก่อนนำไปแช่ในอ่างน้ำแข็ง และนี่เป็นเพียงเคล็ดลับและกลเม็ดบางส่วนเท่านั้นที่จะช่วยให้ปอกเปลือกไข่ได้ง่ายขึ้น ซึ่งคุณสามารถทำตามกันได้ หากได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาบอกเรากันบ้างนะคะ
อ้างอิง
(1) Egg, whole, cooked, hard-boiled
(2) Egg and Egg-Derived Foods: Effects on Human Health and Use as Functional Foods