ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย หากเราทาน “อาหารฟาสต์ฟู้ด” ในปริมาณที่มากเกินไป
ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกายถ้าหากเราทาน “อาหารฟาสต์ฟู้ด” ในปริมาณที่มากเกินไป สำหรับอาหารฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารจานด่วน เป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมมากทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยอาหารจานด่วนเป็นอาหารที่สามารถเตรียมและเสิร์ฟได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะมาจากร้านอาหารแบบนั่งทาน, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, ซื้อกลับบ้าน, ขับรถผ่าน และจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ อาหารจานด่วนเป็นที่นิยมมากเนื่องจากอาหารทั้งหมดมักจะมีราคาถูก สะดวก รวดเร็ว และมีรสชาติที่ถูกปาก และด้วยความที่มันมีราคาที่ค่อนข้างถูก หลาย ๆ ร้านค้าจึงใช้ส่วนผสมที่ถูกกว่าอาหารทั่วไป เช่น ใช้เนื้อสัตว์ ส่วนที่มีไขมันสูง ๆ ใช้ธัญพืชที่ผ่านการกลั่น เติมน้ำตาล และไขมันแทนส่วนผสมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้อาหารจานด่วนยังมีโซเดียมสูง (หรือที่เรียกว่า เกลือ) ซึ่งใช้เป็นสารกันบูดและทำให้อาหารมีรสชาติ ถึงแม้อาหารฟาสต์ฟู้ด จะอร่อยมากและสามารถหาซื้อได้ง่าย แต่ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้หลายประการเช่นกัน ถ้าหากคุณอยากทราบว่า อาหารฟาสต์ฟู้ดมีโทษอย่างไรบ้าง ? ต้องไปดูกันค่ะ
1. ผลต่อระบบย่อยอาหารและหลอดเลือดหัวใจ
อาหารจานด่วนส่วนใหญ่ รวมไปถึงเครื่องดื่ม และเครื่องเคียงเต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยน้อยหรือไม่มีเลย เมื่อระบบย่อยอาหารของคุณย่อยอาหารเหล่านี้ คาร์โบไฮเดรตจะถูกปล่อยออกมาเป็นน้ำตาลกลูโคส (น้ำตาล) เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดของคุณ เป็นผลให้น้ำตาลในเลือดของคุณเพิ่มขึ้น ตับอ่อนจะตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลกลูโคสโดยการปล่อยอินซูลิน ซึ่งอินซูลินจะลำเลียงน้ำตาลไปทั่วร่างกายไปยังเซลล์ที่ต้องการพลังงาน กระบวนการการผลิตน้ำตาลในเลือดนี้ถูกควบคุมโดยร่างกายของคุณและตราบใดที่คุณมีสุขภาพดี อวัยวะของคุณก็สามารถรับมือกับน้ำตาลเหล่านี้ได้ แต่การทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูงบ่อย ๆ จะทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นซ้ำ ๆ เมื่อเวลาผ่านไปอินซูลินที่พุ่งสูงขึ้นอาจทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินตามปกติของร่างกายของคุณลดลง และอาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการดื้อต่ออินซูลิน เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่ง American Diabetes Association (ADA) ได้ประมาณการเอาไว้ว่า มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หากพวกเขาไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (1)
2. มีน้ำตาลและไขมันในปริมาณสูง
อาหารฟาสต์ฟู้ดได้เพิ่มน้ำตาลลงไป ไม่เพียงแต่แคลอรี่ส่วนเกินเท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารน้อยด้วย American Heart Association (AHA) แนะนำให้กินน้ำตาลเพียง 100 ถึง 150 แคลอรี่ต่อวัน นั่นคือประมาณ 6 – 9 ช้อนชา เครื่องดื่มฟาสต์ฟู้ดหลายชนิดมีน้ำตาลเยอะมาก โดยใน 1 แก้ว อาจจะมีน้ำตาลมากถึง 8 ช้อนชา นั่นเท่ากับ 140 แคลอรี่ อีกทั้งเครื่องดื่มและอาหารหลายชนิดยังมีไขมันทรานส์อีกด้วย ไขมันทรานส์ คือ ไขมันที่ผลิตขึ้นในระหว่างการแปรรูปอาหาร พบได้ทั่วไปใน
- พายทอด
- ขนมอบ
- แป้งพิซซ่า
- แครกเกอร์
- คุ้กกี้
แน่นอนว่าไม่มีไขมันทรานส์ที่ดีต่อสุขภาพ มีแต่จะเพิ่ม LDL (คอเลสเตอรอลที่ไม่ดี) และลดปริมาณของ HDL (คอเลสเตอรอลที่ดี) การทานไขมันทรานส์จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจได้
3. โซเดียม
การรวมกันของไขมัน น้ำตาล และโซเดียม (เกลือ) จำนวนมากสามารถทำให้อาหารจานด่วนอร่อยขึ้นสำหรับบางคน แต่อาหารที่มีโซเดียมสูงสามารถนำไปสู่การกักเก็บน้ำได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่คุณอาจรู้สึกตัวบวม ท้องอืด หรือบวมหลังจากรับประทานอาหารจานด่วน อาหารที่มีโซเดียมสูงยังเป็นอันตรายสำหรับคนที่เป็นโรคความดันโลหิต โซเดียมสามารถเพิ่มจะความดันโลหิต และสร้างความเครียดให้กับหัวใจ รวมถึงระบบหลอดเลือดของคุณได้ (2)
4. ผลต่อระบบทางเดินหายใจ
แคลอรี่ส่วนเกินจากอาหารจานด่วนอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอ้วน และโรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงสำหรับปัญหาทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด และหายใจถี่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสามารถสร้างแรงกดดันต่อหัวใจและปอดของคุณได้และอาจมีอาการรุนแรงขึ้น แม้จะออกแรงเพียงเล็กน้อยก็ตาม คุณอาจสังเกตเห็นว่าหายใจลำบากเมื่อคุณเดินขึ้นบันไดหรือออกกำลังกาย สำหรับเด็กความเสี่ยงต่อปัญหาระบบทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ นั้นโดยเฉพาะ การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าเด็กที่กินอาหารจานด่วนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหอบหืด (3)
5. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
อาหารจานด่วนอาจตอบสนองความหิวในระยะสั้น แต่ผลลัพธ์ในระยะยาวจะเป็นบวกน้อยกว่า คนที่กินอาหารจานด่วนและขนมอบแปรรูปมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่ไม่กินอาหารเหล่านั้นหรือกินน้อยมากถึง 51 เปอร์เซ็นต์ (4)
6. ผลต่อระบบสืบพันธุ์
ส่วนผสมในอาหารขยะ และอาหารฟาสต์ฟู้ด อาจมีผลกระทบต่อร่างกาย หนึ่งการศึกษาพบว่าอาหารแปรรูปมี Phthalates สูงมาก และ Phthalates ก็เป็นสารเคมีที่สามารถขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายของคุณ การสัมผัสสารเคมีระดับสูงเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาการเจริญพันธุ์ ทำให้มีโอกาสมีลูกยาก รวมทั้งการเกิดข้อบกพร่องในร่างกาย (5)
7. ผลต่อระบบผิวหนัง (ผิวหนัง ผม เล็บ)
อาหารที่คุณกินอาจส่งผลกระทบต่อลักษณะผิวของคุณแต่อาจไม่ใช่อาหารที่คุณสงสัย ในอดีตช็อกโกแลตและอาหารมัน ๆ เช่น พิซซ่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว (ดูเพิ่มเติม อาหารที่กินแล้วอาจทำให้เกิดสิว) อาหารที่อุดมด้วยคาร์บจะทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันอาจทำให้เกิดสิวได้ (6) นอกจากนี้การทานอาหารฟาสต์ฟู้ดยังมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดโรคกลากได้อีกด้วย โดยกลากเป็นอาการทางผิวหนังที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังที่ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและอาการคัน
8. ผลต่อระบบกระดูก
คาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลในอาหารจานด่วนและอาหารแปรรูปสามารถเพิ่มกรดในปากของคุณได้ กรดเหล่านี้สามารถสลายเคลือบฟันได้ เมื่อเคลือบฟันหายไป แบคทีเรียก็สามารถกักขังและทำให้ฟันผุได้ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก นอกจากนี้ยังสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่มีความหนาแน่นของกระดูกและมวลกล้ามเนื้อ คนที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงที่กระดูกจะหักมากขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายจึงสำคัญมาก เพราะมันจะสร้างกล้ามเนื้อซึ่งสนับสนุนกระดูกของคุณและรักษาสุขภาพเพื่อลดการสูญเสียมวลกระดูกได้
9. ผลกระทบของอาหารฟาสต์ฟู้ดต่อสังคม
ปัจจุบันผู้ใหญ่มากกว่า 2 ใน 3 ในสหรัฐอเมริกาถือว่ามีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน มากกว่าหนึ่งในสามของเด็กอายุ 6-19 ปี ซึ่งถือว่ามีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน (7) การเติบโตของอาหารจานด่วนในอเมริกาดูเหมือนจะสอดคล้องกับการเติบโตของโรคอ้วนในสหรัฐอเมริกา The Obesity Action Coalition (OAC) รายงานว่า จำนวนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 1970 จำนวนคนอเมริกันที่เป็นโรคอ้วนก็เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าเช่นกัน แม้จะมีความพยายามที่จะสร้างความตระหนัก และให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันอย่างชาญฉลาด หนึ่งในการศึกษาพบว่า ปริมาณของแคลอรี่, ไขมัน และโซเดียมในอาหารฟาสต์ฟู้ดส่วนใหญ่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากชาวอเมริกันมีงานยุ่งมากขึ้น และรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อยขึ้น อาจส่งผลเสียต่อระบบการดูแลสุขภาพของแต่ละบุคคลและของอเมริกา (8) ซึ่งแน่นอนค่ะว่า ประเทศไทยของเราก็เช่นกัน เพราะประเทศไทยนั้นมีอาหารฟาสต์ฟู้ดเยอะมากเลยทีเดียว
อ้างอิง
(1) Prediabetes: A high-risk state for developing diabetes
(4) Fast-food and commercial baked goods consumption and the risk of depression