วิธีจัดการปัญหา “ผิวไหม้แดด” !

วิธีจัดการปัญหาผิวไหม้แดด
วิธีจัดการปัญหาผิวไหม้แดด

เมื่อฤดูร้อนมาถึง หลาย ๆ คนอาจจะผ่อนคลายอยู่กับท้องทะเล แสงแดด ที่สวยงาม แต่เมื่อเราใช้เวลาทั้งหมดไปกับกลางแจ้งในช่วงฤดูร้อนแล้ว มักมีสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยนั่นคือการ ถูกแดดเผา” ซึ่งมันจะทำให้ผิวไหม้กลายสีแดง เจ็บแสบที่ผิวหนัง และรู้สึกร้อนเมื่อสัมผัส โดยปกติจะปรากฏภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) มากเกินไปจากแสงแดดหรือแหล่งกำเนิดเทียมอย่าง โคมไฟ (1),(2) การรักษาตัวเองที่บ้านมักช่วยบรรเทาอาการผิวไหม้ได้ แต่อาการไหม้จากแสงแดดอาจใช้เวลาหลายวันกว่าจะจางลง การได้รับแสง UV อย่างเข้มข้นซ้ำ ๆ จะส่งผลให้ผิวไหม้และเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำลายผิวด้วยปัญหาอื่น ๆ เช่น มีจุดด่างดำ จุดหยาบกร้าน และผิวแห้งหรือมีริ้วรอย นอกจากนี้ มันยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังด้วย แน่นอนว่าคุณสามารถป้องกันการถูกแดดเผาและสภาวะที่เกี่ยวข้องได้โดยการปกป้องผิวของคุณ นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อคุณอยู่กลางแจ้งแม้ในวันที่อากาศเย็นหรือมีเมฆมาก โชคดีสำหรับพวกเราทุกคนค่ะเพราะมีของใช้ในบ้านมากมายที่คุณสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการแสบ คัน และผิวลอก ที่มาพร้อมกับความเสียหายจากแสงแดดได้

สาเหตุของ ผิวไหม้แดด คืออะไร ?

สาเหตุของผิวไหม้แดด

ผิวไหม้เกิดจากการได้รับแสงอัลตราไวโอเลต (UV) มากเกินไป แสงยูวีอาจมาจากแสงแดด หรือแหล่งกำเนิดเทียมอย่างเช่น โคมไฟ และเตียงอาบแดด เมลานินเป็นเม็ดสีเข้มในชั้นนอกของผิวหนังที่ทำให้ผิวมีสีปกติ เมื่อคุณสัมผัสกับแสง UV ร่างกายของคุณจะปกป้องตัวเองด้วยการผลิตเมลานินได้เร็วขึ้น เมลานินเสริมการสร้างผิวสีแทน การอาบแดดเป็นวิธีการปิดกั้นรังสียูวีของร่างกายเพื่อป้องกันการถูกแดดเผา การรับแสงยูวีที่มากเกินไปทำให้ผิวหนังไหม้ ปกติแล้วคุณสามารถถูกแดดเผาในวันที่อากาศเย็นหรือมีเมฆมาก นอกจากนี้หิมะ ทราย น้ำ และพื้นผิวอื่น ๆ สามารถสะท้อนรังสียูวีที่ทำให้ผิวไหม้ได้เช่นกัน (1),(2)

อาการของผิวไหม้

อาการที่มักเกิดจากอาการไหม้จากแสงแดด มีดังนี้ (2)

  • การเปลี่ยนแปลงของสีผิว เช่น ผิวกลายเป็นสีแดง
  • ผิวหนังที่ไหม้ เมื่อสัมผัสจะรู้สึกอุ่น หรือร้อน
  • มีความเจ็บปวด
  • มีอาการบวม
  • มีตุ่มน้ำขนาดเล็ก
  • ปวดศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย หากถูกแดดเผารุนแรง
การเปลี่ยนแปลงของสีผิว เช่น ผิวกลายเป็นสีแดง

ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่สัมผัสแสงแดดรวมถึงติ่งหู หนังศีรษะ และริมฝีปากอาจเกิดอาการไหม้แดดได้ แม้แต่บริเวณที่ปกคลุมมาอย่างดีก็สามารถไหม้แดดได้เช่นกัน หากเสื้อผ้าของคุณมีการทอแบบบาง ๆ ซึ่งช่วยให้แสงอัลตราไวโอเลต (UV) ทะลุผ่านได้ อาการไหม้จากแสงแดดมักจะปรากฏภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังออกแดด แต่อาจต้องใช้เวลาหนึ่งวัน หรือมากกว่านั้น เพื่อให้รู้ว่าอาการไหม้แดดรุนแรงเพียงใด หลังจากสัมผัสแดดภายในไม่กี่วันร่างกายของคุณอาจเริ่มรักษาตัวเองได้โดยการลอกผิวหนังชั้นบนสุดที่ถูกทำลายออก หลังจากผิวลอกผิวของคุณอาจมีสีและลวดลายที่ผิดปกติชั่วคราว อาการไหม้แดดที่รุนแรงอาจใช้เวลาหลายวันในการรักษา (2)

วิธีรักษาผิวไหม้ง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

1. น้ำเย็น

ผิวไหม้เป็นอาการอักเสบของผิวหนัง วิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการรักษาคือ การทำให้บริเวณผิวที่โดนแดดเผาเย็นลง (2) ซึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำให้ผิวในบริเวณที่โดนแดดเผาเย็นลงเร็วที่สุดนั่นก็คือ การใช้น้ำ ซึ่งถ้าคุณยังอยู่ริมน้ำ คุณก็แค่กระโดดลงไปในน้ำได้เลย ไม่ว่าจะเป็นทะเล ทะเลสาบ หรือลำธาร การสัมผัสน้ำในขณะสัมผัสแดดสามารถช่วยไม่ให้อาการไหม้แดดแย่ลงได้ แต่ไม่ควรเล่นน้ำในสระน้ำ เพราะน้ำคลอรีนอาจทำให้ผิวระคายเคืองได้มากขึ้น และคุณควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำแข็งโดยตรงกับผิว เพราะอาจทำให้ผิวไหม้แดดที่บอบบางได้รับความเสียหายมากขึ้น

2. เบกกิ้งโซดาและข้าวโอ๊ต

การใช้เบกกิ้งโซดา จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ลงไปในอ่างอาบน้ำที่เต็มไปด้วยน้ำเย็น และลงไปแช่ประมาณ 15 ถึง 20 นาที จะช่วยลดอันตรายจากแสงแดดได้ นอกจากนี้การเพิ่มข้าวโอ๊ต 1 ถ้วย ลงในอ่างอาบน้ำด้วย ยังช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองและช่วยให้ผิวคงความชุ่มชื้นตามธรรมชาติได้เช่นกัน อย่าขัดผิวไม่ว่าจะในอ่างน้ำหรือหลังจากออกไปข้างนอก แล้วเมื่อโดนน้ำแล้วให้ซับตัวให้แห้งด้วยผ้าขนหนูอย่าเช็ดหรือถูเด็ดขาด

3. ว่านหางจระเข้

หากคุณไม่มีต้นว่านหางจระเข้ในบ้าน คุณควรหามาสักต้น เพราะเจลที่อยู่ในพืชอวบน้ำนี้ ถูกใช้มานานหลายศตวรรษสำหรับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกประเภท ตั้งแต่อาการปวดท้องไปจนถึงการติดเชื้อในไต นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการไหม้จากแสงแดดได้ด้วย การใช้ว่านหางจระเข้ทาลงไปบนผิวโดยตรง จะช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนจากแสงแดดได้ทันที ถ้าคุณไม่สามารถหาต้นว่านหางจระเข้ได้ คุณก็สามารถใช้เจลว่านหางจระเข้ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่มีขายแบบสำเร็จรูปได้

ว่านหางจระเข้

4. ชาดอกคาโมไมล์

ชาคาโมมายล์ สามารถช่วยปลอบประโลมจิตใจของคุณได้ และยังช่วยบรรเทาอาการผิวที่ไหม้แดดได้อีกด้วย (3) แนะนำให้ชงชาตามปกติแล้วปล่อยให้เย็น เมื่อชาเย็นแล้ว ให้แช่ผ้าขนหนูแล้วนำไปประคบในบริเวณผิวที่มีอาการไหม้แดด หากคุณแพ้เกสรดอกไม้คุณไม่ควรใช้วิธีนี้ เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังของคุณได้

5. น้ำส้มสายชู

คุณสามารถใช้น้ำส้มสายชูเพื่อบรรเทาอาการไหม้จากแสงแดดได้ โดยการเติมน้ำส้มสายชู 2 ถ้วย ลงไปในอ่างอาบน้ำเย็น มันจะสามารถช่วยขจัดอาการแสบร้อนได้ดี แต่ด้วยความที่น้ำส้มสายชูเป็นกรดสูงฉะนั้นมันอาจจะทำให้สิ่งต่าง ๆ แย่ลงได้ ดังนั้นหากคุณไม่เคยใช้วิธีนี้ในการรักษามาก่อน เราขอแนะนำให้ทดลองใช้กับพื้นผิวที่มีอาการไหม้แดดเพียงเล็กน้อยก่อน และไม่ควรลองใช้กับแผลไหม้ที่มีขนาดใหญ่และรุนแรง

6. สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ

ในขณะที่ผิวของคุณกำลังซ่อมแซมตัวเองอยู่ คุณต้องแน่ใจว่าได้สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดผิวของคุณมากเกินไป ผิวหนังของคุณเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ดังนั้นจึงควรให้มันมีที่ว่างในการหายใจ ในขณะที่คุณกำลังดูแลผิวที่ถูกแดดเผา เส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย หรือผ้าใยไผ่ สามารถให้การปกปิดผิวหลังถูกแดดเผาได้ดีที่สุด

7. ดื่มน้ำมาก ๆ

ในขณะที่ผิวของคุณต้องเผชิญกับความเสียหายจากแสงแดด ผิวของคุณจึงต้องการความชุ่มชื้นที่สูญเสียไปในระหว่างที่คุณออกแดด หากคุณยังไม่ได้ดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน การถูกแดดเผาน่าจะเป็นเหตุผลที่เพียงพอที่จะทำให้คุณเริ่มดื่มน้ำ (1),(2)

ดื่มน้ำมาก ๆ

8. อย่าลืมทามอยส์เจอไรเซอร์

หลังจากการรักษาผิวครั้งแรก ผิวของคุณยังคงต้องการการดูแลด้วยความรักอย่างอ่อนโยน สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวลอกคือควรทาครีมบำรุงผิวบริเวณที่ไหม้แดดเป็นประจำด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ (2) แนะนำให้ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่ปราศจากกลิ่นและสี หรือใช้สูตรสำหรับ ผิวแพ้ง่าย เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนังให้น้อยที่สุด

การป้องกันแสงแดดเพื่อไม่ให้ผิวไหม้

การป้องกันแสงแดดเพื่อไม่ให้ผิวไหม้
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดระหว่าง 10.00 น. ถึง 16.00 น. แสงแดดจะแรงที่สุดในช่วงเวลาเหล่านี้ (3) ดังนั้นพยายามจัดตารางกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลาอื่น หากคุณทำไม่ได้ให้จำกัดเวลาที่คุณอยู่ท่ามกลางแสงแดด แนะนำให้หาที่ร่มเมื่อเป็นไปได้
  • หลีกเลี่ยงการอาบแดดและเตียงอาบแดด ขอบอกเลยว่า การทาโลชั่นผิว แทบไม่ได้ลดความเสี่ยงต่อการถูกแดดเผา
  • ปิดบังตัวเองเมื่ออยู่กลางแสงแดด เมื่อออกไปข้างนอกให้สวมหมวกปีกกว้างและเสื้อผ้าที่ปกปิดตัวคุณรวมถึงแขนและขาด้วย ควรใช้อุปกรณ์กลางแจ้งที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันแสงแดด ควรตรวจสอบฉลาก สำหรับปัจจัยการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UPF) ซึ่งระบุว่าผ้ากันแสงแดดได้ดีเพียงใด ยิ่งค่า UPF สูงเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น
  • ใช้ครีมกันแดดบ่อยครั้งและสม่ำเสมอ ทาครีมกันแดดที่กันน้ำ และลิปบาล์มที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป และป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต A (UVA) และรังสีอัลตราไวโอเลต B (UVB) ในวงกว้างก่อนออกไปข้างนอกประมาณ 15 ถึง 30 นาทีทาครีมกันแดดบนผิวหนังที่ไม่ได้รับการปกป้องจากเสื้อผ้า ควรทาครีมกันแดดเพิ่มทุก ๆ 2 ชั่วโมงหลังว่ายน้ำหรือเหงื่อออก หากคุณใช้ยาไล่แมลงด้วยให้ทาครีมกันแดดก่อน American Academy of Dermatology ไม่แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารไล่แมลงกับครีมกันแดด อย่าลืมตรวจสอบฉลากครีมกันแดดสำหรับคำแนะนำในการจัดเก็บและวันหมดอายุ ทิ้งครีมกันแดดหากหมดอายุหรือไม่ได้ใช้งานมากกว่าสามปี
ใช้ครีมกันแดดบ่อยครั้งและสม่ำเสมอ
  • สวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง เลือกแว่นกันแดดที่ป้องกันรังสี UVA และ UVB ตรวจสอบระดับ UV บนฉลากเมื่อซื้อแว่นตาใหม่ เลนส์สีเข้มไม่ได้ป้องกันรังสียูวีได้ดีกว่าเสมอไป
  • ระวังยาที่ทำให้ไวต่อแสงแดด ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ทั่วไป และยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ รวมทั้งยาปฏิชีวนะเรตินอยด์และไอบูโพรเฟน สามารถทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น พูดคุยกับเภสัชกรหรือแพทย์ของคุณเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาที่คุณทาน

อ้างอิง 

(1) Sunburn

(2) Sunburn (Mayoclinic)

(3) Chamomile: A herbal medicine of the past with bright future

(4) Ultraviolet (UV) Radiation and Sun Exposure