อาการตะคริวที่น่องเกิดขึ้นได้อย่างไร ควรแก้ปัญหาอย่างไรดี ?

อาการตะคริวที่น่องเกิดขึ้นได้อย่างไร ควรแก้ปัญหาอย่างไรดี ?
อาการตะคริวที่น่องเกิดขึ้นได้อย่างไร ควรแก้ปัญหาอย่างไรดี ?

“ตะคริวที่น่อง (Charley Horse)” มักจะเป็นปัญหาสำหรับใครหลายคน เพราะตะคริวชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นขึ้นที่กล้ามเนื้อบริเวณน่องอย่างกะทันหันและทำให้ผู้ที่เป็นตะคริวรู้สึกเจ็บปวดมาก ตะคริวประเภทนี้มักจะเกิดขึ้นระหว่างออกกำลังกายและเกิดขึ้นในตอนกลางคืน โดยทั่วไปอาการนี้จะมีผลต่อกล้ามเนื้อน่องที่ด้านหลังของขาส่วนล่าง แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นที่เท้าและที่ต้นขาได้เช่นกัน การหดตัวของกล้ามเนื้อเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์, ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง และอาการปวดขามักจะส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณหนึ่งในสามของคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี (1)

หลายคนต้องประสบปัญหานี้ในตอนนอน ซึ่งเราขอบอกเลยว่า มันเป็นอาการที่ทรมานมาก จะขยับก็ไม่ได้ เพราะยิ่งขยับมันจะยิ่งปวด ในบางคนอาจจะเห็นคลื่นบริเวณกล้ามเนื้อที่ขยับไปขยับมา อีกทั้งในบางคนอาจจะเกิดตะคริวนานมากหลายนาที ทำให้เมื่อตื่นขึ้นมามีอาการปวดกล้ามเนื้อและไม่สบายตัวเป็นอย่างมาก หากคุณไม่รู้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดตะคริวที่น่องมีความเป็นมาอย่างไร ? และต้องแก้ปัญหาอย่างไร ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้คุณค่ะ

อาการของตะคริวที่น่อง

อาการของตะคริวที่น่อง

ตะคริวที่น่อง (Charley Horse) เป็นชื่อสามัญของอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่ขา อาการนี้จะเกิดกล้ามเนื้อกระตุกอย่างกะทันหันและไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวดอย่างมาก โดยอาการที่เกิดขึ้นมักจะเป็นในช่วงสั้น ๆ แต่อาจคงอยู่ได้นานหลายนาทีหรือนานถึง 10 นาทีสำหรับบางคน เมื่อตะคริวเริ่มเกิดขึ้นแล้วกล้ามเนื้อจะหดตัวลงอย่างรวดเร็วทำให้เจ็บปวดมาก และทำให้กล้ามเนื้อไม่สบายตัวเป็นเวลาหลายวัน และหากปวดขาจากตะคริวบ่อย ๆ ในตอนกลางคืนอาจส่งผลให้การนอนหลับหยุดชะงักได้ (2)

สาเหตุของตะคริวที่น่อง

แพทย์ไม่ทราบแน่ชัดว่า ทำไมอาการนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อคนออกกำลังกาย นอนหลับ หรือเมื่อไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ อย่างไรก็ตามทฤษฎีหนึ่งก็คือ ตะคริวที่น่อง (Charley Horse) อาจเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทในกล้ามเนื้อบางส่วนที่ทำหน้าที่บริเวณขา มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในหนังสือ Muscle & Nerve พบว่าตะคริวของกล้ามเนื้อบริเวณน่องมีความเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทโดยเฉพาะ โดยการศึกษาตั้งข้อสังเกตและเห็นว่าเส้นประสาทในส่วนนี้มักจะมีความไวต่อการเกิดไฟฟ้าสถิตอยู่เสมอ ซึ่งการเกิดไฟฟ้าสถิตนี้จะบังคับให้กล้ามเนื้อบีบตัวแน่นขึ้นและเกิดตะคริวในที่สุด (3)

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดตะคริวที่น่อง

ปัญหาทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นตะคริวที่ขาที่เกิดจากปัญหาทั่วไป มีดังนี้ (4)

  • การตั้งครรภ์
  • อายุมากขึ้น
  • การออกกำลังกาย
  • ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์หรือระดับเกลือในร่างกายต่ำ
  • การบาดเจ็บที่เส้นประสาทส่วนปลายหรือปัญหาเส้นประสาทอื่น ๆ
  • โรคกล้ามเนื้อ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • การใช้ยาบางชนิด
การออกกำลังกาย

อาการปวดน่องเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับตะคริว สิ่งเหล่านี้ ได้แก่

    • การบาดเจ็บ
    • การอุดตันของหลอดเลือดดำส่วนลึก (DVT)
    • ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าแตก

การทบทวนการศึกษาที่เผยแพร่ในปี 2017 พบว่าความเจ็บป่วยประเภทต่อไปนี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับตะคริวที่ขา (5)

    • โรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจและความดันโลหิตสูง
    • โรคไตและการรักษา
    • โรคทางระบบประสาท เช่น โรคเซลล์ประสาทสั่งการและโปลิโอ
    • ปัญหาเกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อรวมถึงโรคข้ออักเสบ
    • สภาวะการเผาผลาญรวมถึงโรคเบาหวานประเภท 2 โรคตับและปัญหาต่อมไทรอยด์

ปัญหาจากการใช้ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ

ใครก็ตามที่มีปัญหาปวดขาหลังทานยาตามใบสั่งแพทย์อาจต้องการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรซึ่งสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนยาได้ สิ่งสำคัญคืออย่าหยุดรับประทานยาโดยไม่ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อน ยาบางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นตะคริวที่น่อง ได้แก่

  • การให้ไอออนซูโครสทางหลอดเลือดดำ เช่น Venofer ใช้สำหรับโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • Raloxifene (Evista) และ Teriparatide (Forteo) การรักษาโรคกระดูกพรุน
  • Estrogens ซึ่งช่วยบรรเทาอาการในวัยหมดประจำเดือน
  • Naproxen (Naprosyn) ยาบรรเทาอาการปวด
  • Levalbuterol (Xopenex) และ Albuterol-ipratropium (Combivent) สำหรับหลอดลมหดเกร็งและโรคหอบหืด
  • Pregabalin (Lyrica) ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดเส้นประสาท

ยาประเภทอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดตะคริวที่ขา ได้แก่ สแตติน สำหรับลดคอเลสเตอรอล และยาขับปัสสาวะ เพื่อขจัดของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย การใช้สารกระตุ้นบางอย่าง เช่น แอมเฟตามีน และคาเฟอีน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นตะคริวที่ขาหรือน่อง ใครก็ตามที่สังเกตเห็นความถี่ หรือความรุนแรงของการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นควรไปพบแพทย์เนื่องจากอาจมีปัญหาพื้นฐานที่ต้องได้รับการแก้ไข

วิธีการรักษาอาการเป็นตะคริวง่าย ๆ ที่บ้าน

มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่พบว่า การรักษาทางการแพทย์นั้นสามารถช่วยรักษาหรือลดอาการตะคริวของกล้ามเนื้อได้ (6) อย่างไรก็ตามเมื่อกล้ามเนื้อเป็นตะคริวและมีคนประสบกับตะคริวการกระทำต่อไปนี้อาจช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นมาได้บ้าง

  1. ค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อออกโดยยืนหรือขยับแขน ขา หรือเท้า
  2. ดึงนิ้วเท้า และเท้าขึ้นไปที่หน้าขาอย่างมั่นคง แต่เบา ๆ
  3. ทำซ้ำการเคลื่อนไหวเหล่านี้จนกว่าอาการตะคริวจะคลายและหยุดลง
การรักษาอาการเป็นตะคริว

บางคนพบว่า การนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวช่วยบรรเทาอาการได้ หากมีสัญญาณว่าปัญหาพื้นฐานของร่างกายอาจทำให้เกิดตะคริวแนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ เพราะแพทย์สามารถให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้ หากคุณกำลังใช้ยาที่เพิ่มโอกาสในการเป็นตะคริวแพทย์อาจเปลี่ยนความเข้มข้นของยาหรือลดปริมาณยาที่คุณควรทานลง บางคนกินยาเม็ดควินินเพื่อลดอาการตะคริว แต่การวิจัยยังไม่ยืนยันว่าปลอดภัยหรือได้ผล แพทย์ส่วนใหญ่เลยยังไม่แนะนำให้ใช้ยาเม็ดควินิน เนื่องจากมันอาจเกิดผลเสียกับร่างกายได้

วิธีการป้องกันการเกิดตะคริวที่น่อง

  • ปล่อยให้มีเวลาเพียงพอระหว่างการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
  • อุ่นเครื่องก่อนและหลังออกกำลังกายโดยยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ
  • ดื่มของเหลวและรับประทานอาหารเล็กน้อยหลังออกกำลังกายเพื่อทดแทนของเหลวและแร่ธาตุที่เสียไป
  • รักษาความชุ่มชื้นด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดเวลา
  • หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและสารกระตุ้นอื่น ๆ

บางคนอาจใช้อาหารเสริมแมกนีเซียมเพื่อลดอาการตะคริว แต่จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอที่จะชี้ให้เห็นว่าอาหารเสริมแมกนีเซียมจะช่วยลดอาการตะคริวนี้ได้ (7) การแก้ไขที่อาจช่วยได้แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับก็ตาม ได้แก่

  • การผ่อนคลาย การนวด และการบำบัดด้วยความร้อน
  • การลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  • การออกกำลังกายเป็นประจำ

อ้างอิง 

(1) Criteria in diagnosing nocturnal leg cramps: a systematic review

(2) Charley horse

(3) Muscle cramps

(4) Leg cramps

(5) Criteria in diagnosing nocturnal leg cramps: a systematic review

(6) Non-drug therapies for lower limb muscle cramps

(7) Magnesium for skeletal muscle cramps