นอนกัดฟัน – สาเหตุ และ วิธีการป้องกัน แก้ไข

นอนกัดฟัน - สาเหตุและวิธีการป้องกัน แก้ไข
นอนกัดฟัน - สาเหตุและวิธีการป้องกัน แก้ไข

“การนอนกัดฟัน (Bruxism)” คือ ภาวะที่คุณกัดฟัน หรือขบฟัน หากคุณมีอาการนอนกัดฟัน คุณอาจกัดฟันโดยไม่รู้ตัวทั้งในตอนที่คุณตื่นนอน (Awake Bruxism) หรือกัดฟันในระหว่างที่คุณกำลังนอนหลับ (Sleep Bruxism) ซึ่งการนอนกัดฟันแบบตื่นตัวพบได้มากกว่าในเพศหญิงเมื่อเทียบกับเพศชาย (1) การนอนกัดฟัน ถือเป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ คนที่ขบฟัน หรือกัดฟันในระหว่างการนอนหลับ มักมีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติของการนอนหลับอื่น ๆ เช่น การนอนกรน และหยุดหายใจชั่วคราว (หยุดหายใจขณะหลับ) (2)

การนอนกัดฟันที่ไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อย่างไรก็ตามในบางคนการนอนกัดฟันอาจเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงพอที่จะนำไปสู่ความผิดปกติของขากรรไกร อาการปวดศีรษะ มีฟันที่เสียหายและปัญหาอื่น ๆ เนื่องจากคุณอาจมีอาการนอนกัดฟันและไม่รู้ตัวจนกว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ดังนั้นจึงควรทราบสัญญาณและอาการของการนอนกัดฟันและควรไปรับการดูแลทางทันตกรรมเป็นประจำด้วย หากวันนี้คุณกำลังคิดไตร่ตรองอยู่ว่าการนอนกัดฟันมีสาเหตุมาจากอะไร เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจให้มากขึ้นกันค่ะ

อาการของการนอนกัดฟัน

อาการนอนกัดฟัน มักจะมีความเกี่ยวข้องกับความเครียดหรือความวิตกกังวล (1) แน่นอนว่าอาการกัดฟันมันไม่ได้ทำให้เกิดอาการรุนแรงเสมอไป แต่บางคนมีอาการปวดใบหน้า ปวดศีรษะและอาจทำให้ฟันของคุณสึกกร่อนได้เมื่อเวลาผ่านไป คนส่วนใหญ่ที่กัดฟันมักจะกัดฟันกรามแน่นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาการนี้มันจะเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับหรืออยู่ภายใต้ความเครียด สัญญาณ และอาการของการนอนกัดฟันอาจรวมถึง (2)

  • การกัด หรือขบฟัน ซึ่งอาจดังพอที่จะสามารถปลุกคู่นอนของคุณได้
  • มีฟันที่แฟบ ร้าว บิ่น ห่าง หรืออาจมีฟันแตกได้
  • มีอาการปวดฟัน หรือเสียวฟันมากขึ้น
  • มีกล้ามเนื้อกรามที่ล้า ตึง หรือกรามที่ล็อก ทำให้คุณเปิดปากและอ้าปากได้ลำบาก
  • มีอาการปวดกราม คอ หรือปวดที่ใบหน้าอย่างรุนแรง
  • มีอาการปวดหู แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ได้เป็นปัญหาที่หูของคุณ
  • มีอาการปวดศีรษะที่ขมับ
  • มีการหยุดชะงักของการนอนหลับ
มีฟันที่แฟบร้าว บิ่นหรือห่าง

สาเหตุของการนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟัน ถือได้ว่ามีสาเหตุหลายประการ และการบดฟัน ก็มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยรอบข้างด้วยอย่างการถูกรบกวนโดยการสบฟัน อิทธิพลทางจิตใจที่เกิดจากสังคมทั้งความเครียด หรือความวิตกกังวล หรืออาจเกิดจากพยาธิสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทในสมองหรือปมประสาทฐาน ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่แน่ใจว่า อะไรกันแน่ที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงของการนอนกัดฟัน แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากปัจจัยทางร่างกาย จิตใจ และพันธุกรรม ผสมรวมกัน (1),(3)

ปัจจัยเสี่ยงของอาการนอนกัดฟัน

ปัจจัยเสี่ยงของอาการนอนกัดฟัน

ปัจจัยเหล่านี้ สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการนอนกัดฟันของคุณได้ (1),(2),(3)

  • ความเครียด ความวิตกกังวล หรือความเครียดที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่การนอนกัดฟัน
  • อายุ การนอนกัดฟันเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็ก แต่มักจะหายไปเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่
  • บุคลิกภาพ การมีบุคลิกภาพที่ก้าวร้าว หรือสมาธิสั้น สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการนอนกัดฟันได้
  • ยาและสารอื่น ๆ การนอนกัดฟันอาจเป็นผลข้างเคียงจากยาจิตเวชบางชนิด เช่น ยาแก้ซึมเศร้าบางชนิด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยานอนหลับเพื่อช่วยการพักผ่อน สิ่งเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการนอนกัดฟันได้
  • สมาชิกในครอบครัวที่มีอาการนอนกัดฟัน (กรรมพันธุ์) การนอนกัดฟันมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ในครอบครัว หากคุณมีอาการนอนกัดฟันสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวของคุณอาจมีอาการนอนกัดฟันหรือมีประวัติของโรคนี้เช่นเดียวกัน
  • ความผิดปกติอื่น ๆ การนอนกัดฟันอาจเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต และความผิดปกติทางการแพทย์บางอย่าง เช่น ไบโพลาร์, โรคพาร์กินสัน, ภาวะสมองเสื่อม, โรคกรดไหลย้อน (GERD), โรคลมบ้าหมู, ความหวาดกลัวในตอนกลางคืน หรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และโรคสมาธิสั้น (ADHD)

ภาวะแทรกซ้อนของการนอนกัดฟัน

ในกรณีส่วนใหญ่การนอนกัดฟันไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่การนอนกัดฟันอย่างรุนแรงอาจนำไปสู่ (2),(4)

  • ความเสียหายต่อฟันของคุณ
  • มีอาการปวดหัว
  • ปวดใบหน้า หรือปวดกรามอย่างรุนแรง
  • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในข้อต่อชั่วคราว (TMJs) ซึ่งอยู่ด้านหน้าหูของคุณ ซึ่งอาจมีเสียงเมื่อคุณเปิดและปิดปาก
ปวดใบหน้าหรือปวดกรามอย่างรุนแรง

เราขอแนะนำให้ไปพบทันตแพทย์หรือแพทย์ของคุณทันที หากคุณมีอาการข้างต้นหรือมีข้อกังวลอื่น ๆ เกี่ยวกับฟันหรือฟันกรามของคุณ หากคุณสังเกตเห็นว่าลูกของคุณกำลังบดฟัน หรือมีอาการอื่น ๆ ของการนอนกัดฟัน อย่าลืมพูดถึงเรื่องนี้ในการนัดทำฟันครั้งต่อไปของบุตรหลานของคุณด้วย

วิธีการรักษาอาการนอนกัดฟัน

1. แนวทางทันตกรรม

1.1 ใช้ที่ครอบฟัน

หากคุณมีอาการนอนกัดฟันที่รุนแรงในขณะที่คุณหลับ การใส่เฝือกสบฟันหรือที่ครอบฟันในตอนกลางคืนอาจช่วยได้ มันสามารถช่วยลดแรงกดที่ฟันกรามของคุณและสร้างกำแพงกั้นระหว่างฟันบนและฟันล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบดกันโดยตรง ซึ่งป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดเสียงรบกวนของการกัดฟันได้ดีอีกด้วย อุปกรณ์ครอบฟันจะคล้ายกับฟันยางที่ใช้ในการเล่นกีฬาชกมวยหรือรักบี้ มันอาจจะทำจากยางหรือพลาสติกก็ได้ ทันตแพทย์สามารถทำเพื่อให้พอดีกับแนวฟันของคุณได้ ซึ่งคุณสามารถหาซื้ออุปกรณ์ป้องกันช่องปากจากเภสัชกรได้ แต่แนะนำให้สั่งทำดีกว่า แม้จะแพงหน่อยแต่ก็จะได้พลาสติกที่แข็งแรงและพอดีกับฟันของคุณ ซึ่งมันจะช่วยลดอาการขบฟันได่เป็นอย่างดี และสิ่งที่คุณจะได้อีกอย่างก็คืออายุการใช้งานที่ยาวนานหลายปี ต่างจากที่ครอบฟันธรรมดาที่มักจะมีอายุการใช้งานไม่ถึงหนึ่งปีเท่านั้น

ใช้ที่ครอบปากและเฝือกสำหรับช่องปาก

1.2 การแก้ไขทางทันตกรรม

หากคุณมีอาการนอนกัดฟันที่รุนแรง จนทำให้ฟันสึก เกิดอาการเสียวฟัง จนคุณไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้อง ทันตแพทย์ของคุณอาจจะจำเป็นต้องปรับรูปแบบฟันของคุณใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการบดกันของทั้งฟันบนและฟันล่าง ซึ่งเป็นการป้องกัน และซ่อมแซมความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้

2. การรักษาในแนวทางอื่น ๆ

2.1 บำบัดความเครียด และความวิตกกังวล

หากสาเหตุพื้นฐานของการนอนกัดฟันของคุณก็คือ ความเครียด และความวิตกกังวล ดังนั้นการรักษาทางจิตวิทยาอย่างเช่น การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT) อาจช่วยได้ (5) หากการนอนกัดฟันของคุณเกี่ยวข้องกับความเครียดสิ่งสำคัญคือ ต้องพยายามผ่อนคลาย ฝึกคิดบวก และนอนหลับให้เพียงพอ มีหลายสิ่งที่คุณสามารถลองเพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลายก่อนเข้านอน ได้แก่ (1)

    • การเล่นโยคะ
    • การหายใจลึก ๆ
    • การนวดผ่อนคลาย
    • การอ่านหนังสือ
    • การทำกิจกรรมที่เป็นการผ่อนคลาย อาทิเช่น การอาบน้ำ, ดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลง เป็นต้น

2.2 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Habit-reversal Therapy) เป็นเทคนิคพิเศษที่สามารถทำลายนิสัยการนอนกัดฟันของคุณได้ แต่เรายังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การใช้เทคนิคนี้ได้ผลดีมากน้อยแค่ไหน หากคุณมีอาการนอนกัดฟัน และคุณรู้สึกชอบอาการเหล่านี้ คุณจำเป็นจะต้องทำลายนิสัยนี้ทิ้งไปโดยเร็ว โดยคุณอาจเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้โดยฝึกท่าทางการอ้าปาก และขากรรไกรที่เหมาะสม และเพื่อให้ง่ายขึ้น คุณสามารถขอให้ทันตแพทย์แสดงตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับปากและขากรรไกรของคุณ เพื่อผลออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น (1)

3. การรักษาโดยใช้ยา

โดยปกติแล้ว ยาไม่ได้ใช้เพื่อรักษาการกัดฟันโดยตรง แต่ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) (1) เช่น ไอบูโพรเฟน อาจจะช่วยบรรเทาอาการปวด หรือบวมบริเวณกรามที่เกิดจากการนอนขบฟันได้ แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ทานยาคลายกล้ามเนื้อก่อนเข้านอน เพื่อช่วยบรรเทาอาการนอนกัดฟันของคุณ หากการนอนกัดฟันของคุณเป็นผลข้างเคียงของการใช้ยาซึมเศร้า แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้เปลี่ยนยาของคุณ หรือหากคุณมีความเครียดสะสม แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ใช้ยาแก้ซึมเศร้า หรือยาต้านความวิตกกังวล ในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อช่วยจัดการกับความเครียด หรือปัญหาทางอารมณ์อื่น ๆ ที่อาจทำให้คุณนอนกัดฟัน คำแนะนำคืออย่าหยุดทานยาที่กำหนดไว้สำหรับคุณโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อนอย่างเด็ดขาด


อ้างอิง 

(1) Bruxism: A Literature Review

(2) Bruxism (teeth grinding)

(3) Sleep bruxism: Current knowledge and contemporary management

(4) Bruxism Management

(5) Cognitive behavioral therapy

(6) Nonsteroidal Anti-inflammatory Drugs (NSAIDs)