เคี้ยวหมากฝรั่ง – ข้อดี VS ข้อเสีย มีอะไรบ้าง

เคี้ยวหมากฝรั่ง - ข้อดี vs ข้อเสีย
เคี้ยวหมากฝรั่ง - ข้อดี vs ข้อเสีย

“หมากฝรั่ง” ออกแบบมาให้ผู้ใช้เคี้ยวสนุก เคี้ยวเพลิน และช่วยทำให้คุณมีลมหายใจที่หอมสดชื่นขึ้นด้วย ผู้คนเคี้ยวหมากฝรั่งในรูปแบบต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว หมากฝรั่งแบบดั้งเดิมที่จะทำจากยางของต้นไม้ เช่น ต้นสน หรือต้นละมุด แต่อย่างไรก็ตามค่ะ ในปัจจุบันหมากฝรั่งสมัยใหม่ส่วนใหญ่ทำจากยางสังเคราะห์ทำให้การเคี้ยวหมากฝรั่งนั้นง่ายมากขึ้นด้วย

หลายคนเชื่อว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งที่จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของน้ำลายซึ่งจะชะล้างเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน และแก้ปัญาปากแห้งได้ ทำให้กรดที่เกิดจากแบคทีเรียในปากเป็นกลาง ต่อสู้กับโรคทั่วทั้งปาก การหลั่งของน้ำลายที่เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังทำให้เกิดแคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งช่วยเสริมสร้างการเคลือบฟันด้วย แต่เราไม่รู้ว่าที่กล่าวมานั้นเป็นความจริงหรือไม่ ? หากคุณสงสัยวันนี้เราจะไปไขคำตอบกันค่ะ

หมากฝรั่ง คืออะไร?

หมากฝรั่ง

หมากฝรั่งเป็นสารที่มีลักษณะคล้ายยางซึ่งออกแบบมาให้เคี้ยวได้ แต่ห้ามกลืน หมากฝรั่งนั้นใช้สูตรที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ

ประโยชน์ของการเคี้ยวหมากฝรั่ง

1. ทำให้รอบเอวของคุณลดลง 

การกระตุ้นประสาทสัมผัสเป็นปัจจัยสำคัญในการให้ความรู้สึกอิ่ม การให้สารกระตุ้นทางประสาทสัมผัสด้วยแคลอรี่เพียงเล็กน้อย อาจทำให้คุณมีความรู้สึกอยากอาหารลดลง และช่วยระงับความอยากทานของว่างที่ให้พลังงานสูง นี่อาจเป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีแรงจูงใจในการลด หรือรักษาน้ำหนัก การศึกษาในปัจจุบันได้ทดสอบสมมติฐานที่ว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งรสหวาน จะช่วยลดความอยากอาหาร และการบริโภคของว่างตามมาในผู้รับประทานที่มีความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง สิ่งนี้มันอาจช่วยให้คุณเลือกรับประทานอาหารที่ดีขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วการเคี้ยวหมากฝรั่งจะบริโภคแคลอรี่น้อยกว่าผู้ที่ไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง 36 เท่า (15)

ทำให้รอบเอวของคุณลดลง

2. เผาผลาญแคลอรี่เพียงแค่เคี้ยว

แน่นอนคุณสามารถเผาผลาญพลังงาน 11 แคลอรี่ต่อชั่วโมงจากการเคี้ยวหมากฝรั่ง

3. รักษาสุขภาพฟันของคุณ

ตราบใดที่หมากฝรั่งยังไม่มีน้ำตาล การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นเวลา 20 นาทีหลังจากรับประทานอาหารสามารถช่วยในการปกป้องฟันของคุณ โดยการกำจัดเศษอาหารและเพิ่มการไหลของน้ำลาย น้ำลายของคุณทำให้เคลือบฟันแข็งแรงขึ้นเพราะมีฟอสเฟตและแคลเซียม สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการได้รับความนิยมเนื่องจากมีความหวานกว่าและจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่น้อยกว่ามาก ไซลิทอลซึ่งเป็นโพลีออลน้ำตาลห้าคาร์บอน พบว่ามีแนวโน้มที่ดีในการลดโรคฟันผุและยังช่วยย้อนกลับกระบวนการของโรคฟันผุในระยะเริ่มต้นอีกด้วย  (16)

4. พัฒนาความทรงจำ

เมื่อคุณเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองของคุณ สิ่งนี้มีผลในเชิงบวกมากมายรวมถึงการพัฒนาความทรงจำของคุณ (17) มีการวิจัยพบว่าความจำระยะสั้นของคุณอาจจะดีขึ้นร้อยละ 35 โดยการเคี้ยวหมากฝรั่งแต่ควรระมัดระวัง การเคี้ยวหมากฝรั่งนานเกินไปอาจทำให้ความจำระยะสั้นของคุณลดลง

5. ช่วยให้หายง่วงนอน

หากคุณมีปัญหาในการตื่นตัวในการทำงาน การเคี้ยวหมากฝรั่งอาจเป็นวิธีง่าย ๆ ที่คุณกำลังมองหา การศึกษาชิ้นหนึ่ง เปิดเผยว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งสามารถต่อสู้กับความง่วงนอนได้ หมากฝรั่งรสมินต์เป็นหมากฝรั่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการต่อสู้กับการหาวนอนในตอนเที่ยง (18)

6. ลดอาการเสียดท้อง

การเคี้ยวหมากฝรั่งช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย ซึ่งจะทำให้กรดเป็นกลางบรรเทาอาการหลอดอาหาร และชะล้างกรดกลับลงไปที่กระเพาะอาหาร หลีกเลี่ยงรสเปปเปอร์มินต์ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเสียดท้อง (19)

7. ลดภาวะซึมเศร้า

การเคี้ยวหมากฝรั่งวันละสองครั้งเป็นเวลาสองสัปดาห์สามารถลดความวิตกกังวล ซึมเศร้า ไบโพลาร์ ความเมื่อยล้าและอาการป่วยทางจิตอื่น ๆ ในผู้ป่วยด้วย (20)

8. ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน

หมากฝรั่งรสมินต์ไม่มีน้ำตาลสามารถบรรเทาอาการแพ้ท้องหรืออาการเมารถ (21) หมากฝรั่งรสมินต์นั้นเป็นการเยียวยาธรรมชาติสำหรับอาการคลื่นไส้ หากคุณกำลังมองหาวิธีเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการปรับปรุงสุขภาพของคุณให้ลองเคี้ยวหมากฝรั่งแทนการหยิบของหวาน

ผลเสียของการเคี้ยวหมากฝรั่ง

หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลมียาระบายและ FODMAPs

น้ำตาลที่ใช้ในการหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลหวานมีฤทธิ์เป็นยาระบายเมื่อใช้ในปริมาณมากซึ่งหมายความว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาลจำนวนมากอาจทำให้เกิดอาการย่อยอาหารที่ผิดปกติและท้องร่วงได้ นอกจากนี้น้ำตาลทั้งหมดเป็น FODMAPs ซึ่งหมายความว่าอาจทำให้เกิดปัญหาทางเดินอาหารสำหรับผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ด้วย (22)

หมากฝรั่งรสหวานไม่ดีต่อฟัน

การเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีรสหวานผสมน้ำตาลนั้นไม่ดีต่อฟันของคุณจริง ๆ เนื่องจากน้ำตาลถูกย่อยโดยแบคทีเรียที่ไม่ดีในปากของคุณทำให้จำนวนคราบจุลินทรีย์บนฟันของคุณเพิ่มขึ้นและฟันผุเมื่อเวลาผ่านไป (23)

การเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อยเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหากับขากรรไกรของคุณ

มีการแนะนำว่าการเคี้ยวอย่างต่อเนื่องอาจนำไปสู่ปัญหาขากรรไกรที่เรียกว่า Temporomandibular disorder (TMD) ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดเมื่อคุณเคี้ยว แม้ว่าอาการนี้จะหายากแต่การศึกษาบางชิ้นพบความเชื่อมโยงระหว่างการเคี้ยวมากเกินไปกับอาการความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร Temporomandibular disorder (TMD) (25),(26)

การเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อยเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหากับขากรรไกรของคุณ

 

การเคี้ยวหมากฝรั่งเชื่อมโยงกับอาการปวดหัว

การตรวจสอบล่าสุดพบความเชื่อมโยงระหว่างการเคี้ยวหมากฝรั่ง กับไมเกรนและอาการปวดหัวจากความเครียดเป็นประจำในผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเหล่านี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อดูว่าการเคี้ยวหมากฝรั่งทำให้เกิดอาการปวดหัวเหล่านี้จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามนักวิจัยสรุปว่าผู้ป่วยไมเกรนอาจต้องการจำกัด การเคี้ยวหมากฝรั่ง (27)

หมากฝรั่ง มีส่วนประกอบพื้นฐาน ดังต่อไปนี้

  • หมากฝรั่ง (Gum) : ฐานยางที่ย่อยไม่ได้ ใช้เพื่อให้หมากฝรั่งมีคุณภาพและมีความเหนียวที่สูงมาก
  • เรซิน (Resin) : มักจะใช้เพื่อเพิ่มและเสริมความแข็งแรงของหมากฝรั่งและยึดทุกอย่างเข้าด้วยกัน
  • ฟิลเลอร์ (Filler) : ฟิลเลอร์ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต หรือทัลก์ใช้เพื่อให้เนื้อหมากฝรั่งมีความนุ่มมากยิ่งขึ้น
  • สารกันบูด (Preservatives) : ใช้เพิ่มเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของหมากฝรั่ง สารกันบูดที่เป็นตัวเลือกที่นิยมมากที่สุดคือสารประกอบอินทรีย์ที่เรียกว่า butylated hydroxytoluene (BHT)
  • สารให้ความนุ่ม (Softeners) : ใช้เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และป้องกันไม่ให้หมากฝรั่งแข็งตัว อาจรวมถึงแว็กซ์ เช่น พาราฟิน หรือน้ำมันพืช
  • สารให้ความหวาน (Sweeteners) : สารให้ความหวานที่นิยม ได้แก่ น้ำตาลอ้อย น้ำตาลหัวบีท และน้ำเชื่อมข้าวโพด หมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาลใช้น้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ไซลิทอล หรือสารให้ความหวานเทียม เช่น แอสปาร์เทม
  • รสชาติ (Flavorings) : ใช้เพิ่มเพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการ หมากฝรั่งที่คุณกินสามารถเป็นธรรมชาติ หรือสังเคราะห์

ส่วนผสมในหมากฝรั่งปลอดภัยหรือไม่?

โดยทั่วไปการเคี้ยวหมากฝรั่งถือว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตามหมากฝรั่งบางยี่ห้อมีส่วนผสมที่อาจไม่เหมาะสม ซึ่งหากใช้สารเหล่านี้ในปริมาณที่สูงขึ้น มันก็จะสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้มากเลยทีเดียว และส่วนผสมในหมากฝรั่งมี ดังนี้

  • Butylated Hydroxytoluene (BHT) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เติมลงในอาหารแปรรูปหลายชนิดเพื่อเป็นสารกันบูด หยุดอาหารไม่ให้เสียโดยการป้องกันไม่ให้ไขมันเกิดเหม็นหืน การใช้มันเป็นที่ถกเถียงกันเนื่องจากการศึกษาในสัตว์บางชิ้นแสดงให้เห็นว่าปริมาณที่สูงอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะผสมกันและการศึกษาอื่น ๆ ไม่พบผลกระทบนี้ (1),(2),(3) โดยรวมแล้วมีการศึกษาในมนุษย์น้อยมาก ดังนั้นผลกระทบต่อผู้คน จึงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามในปริมาณที่ต่ำกว่าประมาณ 0.25 มก. ต่อกก. โดยทั่วไปถือว่าปลอดภัย ยืนยันโดย FDA และ EFSA
  • ไทเทเนียมไดออกไซด์ ไททาเนียมไดออกไซด์เป็นสารปรุงแต่งอาหารทั่วไปที่ใช้ในการทำให้ผลิตภัณฑ์ให้ขาวขึ้น และให้เนื้อสัมผัสที่เรียบเนียน การศึกษาในสัตว์บางส่วนได้เชื่อมโยงไททาเนียมไดออกไซด์ในปริมาณที่สูงมากกับระบบประสาทและความเสียหายของอวัยวะในหนู (4),(5) อย่างไรก็ตามการศึกษาได้ให้ผลลัพธ์ที่หลากหลายและผลกระทบในมนุษย์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด (6),(7) ไททาเนียมไดออกไซด์ในหมากฝรั่งโดยทั่วไปแล้วมันถือว่าปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามมันจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อกำหนดขีดจำกัดการบริโภคที่ปลอดภัย (8),(9)
  • แอสปาร์เทม แอสปาร์เทมเป็นสารให้ความหวานเทียมที่พบได้ทั่วไปในอาหารที่ปราศจากน้ำตาล เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก และได้รับการอ้างว่าทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่อาการปวดหัว โรคอ้วน ไปจนถึงโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า สารให้ความหวานเป็นสาเหตุของมะเร็ง หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และหลักฐานที่เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างแอสพาเทมและกลุ่มอาการเมตาบอลิซึม หรืออาการปวดหัวก็ยังมีหลักฐานที่ไม่เพียงพอเช่นกัน (10),(11),(12),(13) โดยรวมแล้วการบริโภคแอสปาร์เทมในปริมาณที่อยู่ในคำแนะนำการบริโภคในแต่ละวันไม่คิดว่าจะเป็นอันตราย (14)

อ้างอิง 

(1) Safety assessment of butylated hydroxyanisole and butylated hydroxytoluene as antioxidant food additives

(2) Chemoprevention of cancer: phenolic antioxidants (BHT, BHA)

(3) Carcinogenicity and modification of the carcinogenic response by BHA, BHT, and other antioxidants

(4) Neurotoxicological effects and the impairment of spatial recognition memory in mice caused by exposure to TiO2 nanoparticles

(5) Signaling pathway of inflammatory responses in the mouse liver caused by TiO2 nanoparticles

(6) Tissue distribution and toxicity of intravenously administered titanium dioxide nanoparticles in rats

(7) Titanium Dioxide Particle Type and Concentration Influence the Inflammatory Response in Caco-2 Cells

(8) Critical Review of Public Health Regulations of Titanium Dioxide, a Human Food Additive

(9) Titanium dioxide in our everyday life; is it safe?

(10) Aspartame, low-calorie sweeteners and disease: regulatory safety and epidemiological issues

(11) Aspartame: a safety evaluation based on current use levels, regulations, and toxicological and epidemiological studies

(12) Artificial sweeteners–do they bear a carcinogenic risk?

(13) Review of the nutritional benefits and risks related to intense sweeteners

(14) Aspartame: review of safety

(15) Effects of chewing gum on short-term appetite regulation in moderately restrained eaters

(16) The effect of xylitol on dental caries and oral flora

(17) In Brief: The Quirky Brain: Chewing gum and memory

(18) The effect of chewing gum on physiological and self-rated measures of alertness and daytime sleepiness

(19) 11 stomach-soothing steps for heartburn

(20) Effect of Regular Gum Chewing on Levels of Anxiety, Mood, and Fatigue in Healthy Young Adults

(21) The Effectiveness of Ginger in the Prevention of Nausea and Vomiting during Pregnancy and Chemotherapy

(22) Diarrhea. Diarrhea and loss of weight from use of chewing gum

(23) Chewing gum and dental health. Literature review

(24) Dietary sugar and body weight: have we reached a crisis in the epidemic of obesity and diabetes?: health be damned! Pour on the sugar

(25) Does gum chewing increase the prevalence of temporomandibular disorders in individuals with gum chewing habits?

(26) An association between temporomandibular disorder and gum chewing

(27) Gum-Chewing and Headache: An Underestimated Trigger of Headache Pain in Migraineurs?