โรคงูสวัด – เกิดจากอะไร ?

โรคงูสวัดเกิดจากอะไร?
โรคงูสวัดเกิดจากอะไร?

เมื่อพูดถึง “โรคงูสวัด” หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกตกใจ เพราะคิดว่ามันเป็นอาการที่ร้ายแรง แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคงูสวัด เป็นการติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัส Varicella-Zoster (VZV) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับไวรัสที่ทำให้เกิด โรคอีสุกอีใส โดยทั่วไปจะส่งผลต่อปมประสาทประสาทสัมผัสเดียว และผิวที่เส้นประสาทส่งไป ใครก็ตามที่เป็นโรคอีสุกอีใส นอกจากมันจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้แล้ว มันยังสามารถกลายเป็นโรคงูสวัดได้ในภายหลัง ซึ่งไวรัสนี้จะอยู่ในเนื้อเยื่อเส้นประสาทที่อยู่ใกล้ไขสันหลัง และสมองของผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน และเมื่อถูกกระตุ้นซ้ำหลายครั้ง เชื้อไวรัสนี้ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคงูสวัดได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคอีสุกอีใสจะเป็นโรคงูสวัด โดยโรคงูสวัด สามารถพบได้บ่อยที่สุด หลังจากมีอายุ 50 ปี ไปแล้ว (1),(2),(3),(4) ถ้าหากคุณเคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน ในบทความนี้เราจะพาคุณไปหาข้อมูลเกี่ยวกับทุก ๆ อย่างของโรคงูสวัดที่คุณควรรู้กันค่ะ

โรคงูสวัดคืออะไร ?

โรคงูสวัด หรือ เริมงูสวัด

โรคงูสวัด จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส Varicella ซึ่งเป็เชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับสาเหตุของโรคอีสุกอีใส โดยไวรัสจากโรคอีสุกอีใสตัวนี้สามารถอาศัยอยู่ในระบบประสาทของคุณเฉย ๆ ได้เป็นเวลานานหลายปีก่อนที่มันจะกลายเป็นโรคงูสวัด ซึ่งโรคงูสวัด อาจเรียกอีกอย่างว่า เริมงูสวัด เนื่องจากไวรัส Varicella-zoster เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มไวรัสที่เรียกว่า ไวรัสเริม ซึ่งรวมไปถึงไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดและเริมที่อวัยวะเพศ ด้วยเหตุนี้ โรคงูสวัด จึงเรียกได้อีกอย่างว่า เริมงูสวัด ซึ่งการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้มีลักษณะเป็นผื่นแดงที่ผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดและแสบร้อนได้ โรคงูสวัดมักปรากฏเป็นแถบตุ่มพองที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย โดยทั่วไปจะเป็นที่ลำตัว คอ หรือใบหน้า ซึ่งส่วนใหญ่โรคนี้จะตกสะเก็ดภายใน 7 ถึง 10 วัน และหายสนิทภายใน 2 ถึง 4 สัปดาห์ (1),(2),(3),(4)

 

สาเหตุของโรคงูสวัด ?

อย่างที่บอกไปค่ะ โรคงูสวัด เกิดจากไวรัส Varicella-Zoster ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส ดังนั้นถ้าหากคุณเคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว คุณจะสามารถเป็นโรคงูสวัดได้เช่นกัน เพราะไวรัสที่มาจากโรคอีสุกอีใส จะอยู่ในร่างกายของคุณได้นานหลายปี เพื่อรอเวลาจะกลับมาทำงานอีกครั้งในรูปแบบของโรคงูสวัด ซึ่งสาเหตุของโรคงูสวัดยังไม่ชัดเจนค่ะ แต่ก็น่าจะเป็นเพราะภูมิคุ้มกันการติดเชื้อลดลงเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น โดยโรคงูสวัดสามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อลดลง ดังนั้นผู้สูงอายุควรออกกำลังกายเป็นประจำ (1) และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ยังสามารถทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ ได้แก่ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ, มีความเครียด ทางอารมณ์, มีอายุมากขึ้นและอยู่ระหว่างการรักษามะเร็ง หรือการผ่าตัดใหญ่ (3),(4)

อาการของ โรคงูสวัด เป็นอย่างไร ?

อาการของโรคงูสวัด

อาการแรกเริ่มของ โรคงูสวัด มักจะมีอาการปวดและแสบร้อน ความเจ็บปวดมักจะเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายและเกิดขึ้นเป็นหย่อมเล็ก ๆ หลังจากนั้นอาการผื่นแดงมักจะตามมา ลักษณะผื่นได้แก่ รอยสีแดง ตุ่มน้ำที่สามารถแตกได้ มีแผลพันรอบตั้งแต่กระดูกสันหลังจนถึงลำตัว มีอาการคัน บางคนมีอาการมากกว่าความเจ็บปวดและมีผื่นขึ้นจากงูสวัด สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงไข้ หนาวสั่น ปวดหัว มีความเหนื่อยล้า รวมไปถึงกล้ามเนื้ออ่อนแรง (2),(3) ส่วนอาการของโรคงูสวัดที่หายากและร้ายแรง ได้แก่

  • ปวดหรือเป็นผื่นที่ดวงตา ซึ่งอาการนี้ควรได้รับการรักษาทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของดวงตาถาวร (1)
  • สูญเสียการได้ยิน หรือเจ็บอย่างรุนแรงในหูข้างใดข้างหนึ่ง ส่งผลให้มีอาการมึน เวียนศีรษะ หรือการสูญเสียการลิ้มรสบนลิ้น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเป็นอาการของกลุ่มอาการของ โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) และคุณต้องรับการรักษาทันที (1),(3)
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย หากแผลพุพองจากงูสวัดไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังจากแบคทีเรีย ซึ่งอาการนี้อาจทำให้ผิวของคุณกลายเป็นสีแดง บวมและร้อนผ่าว (1)

ประเภทของโรคงูสวัด

  • โรคงูสวัดบนใบหน้า งูสวัดที่ใบหน้า มักจะเกิดขึ้นครั้งแรกที่ด้านหนึ่งของแผ่นหลัง หรือหน้าอกของคุณ และสามารถเกิดผื่นบนด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้าของคุณได้เช่นกัน หากผื่นขึ้นใกล้หรือในหู ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ที่อาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยิน มีปัญหาเรื่องการทรงตัว และทำให้มีกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรง (1),(3)  โรคงูสวัดแบบนี้อาจเกิดได้ภายในปากเช่นกัน ซึ่งคุณอาจเจ็บปวดมาก ทำให้การกินอาหารอาจเป็นเรื่องยากและประสาทรับรสของคุณอาจได้รับผลกระทบ
  • โรคงูสวัดบริเวณดวงตา โรคงูสวัดรอบดวงตาเรียกว่า Ophthalmic Herpes Zoster หรือ Herpes Zoster Ophthalmicus ซึ่งมักจะเกิดขึ้นประมาณ 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของคนที่เป็นโรคงูสวัด (5) ผื่นพุพองอาจเกิดขึ้นที่เปลือกตา หน้าผากและบางครั้งอาจขึ้นที่ปลายจมูกหรือด้านข้างของจมูก คุณอาจมีอาการต่าง ๆ เช่น แสบร้อนหรือตากระตุก ตาแดง น้ำตาไหล บวมและมองเห็นภาพซ้อน หลังจากที่ผื่นหายไปคุณอาจยังมีอาการปวดตาเนื่องจากความเสียหายของเส้นประสาทแต่ความเจ็บปวดจะดีขึ้นในคนส่วนใหญ่ หากไม่ได้รับการรักษาโรคงูสวัดที่ตาอาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรง ซึ่งรวมถึงการสูญเสียการมองเห็นในระยะยาวและการเกิดแผลเป็นถาวร (1) อันเนื่องมาจากการบวมของกระจกตา หากคุณสงสัยว่าคุณมีอาการงูสวัดรอบดวงตาคุณควรไปพบแพทย์ทันทีและควรเริ่มต้นการรักษาภายใน 72 ชั่วโมง (5)
  • โรคงูสวัดบนหลัง แม้ว่าผื่นงูสวัด มักจะเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของรอบเอวของคุณ แต่อาจมีแถบตุ่มพองปรากฏขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของหลังหรือหลังส่วนล่างด้วย
  • โรคงูสวัดที่ก้น คุณอาจจะเป็นงูสวัดที่ก้นได้เช่นกัน โรคงูสวัดมักส่งผลกระทบต่อร่างกายเพียงด้านเดียว ดังนั้นคุณอาจมีผื่นขึ้นที่ก้นขวาแต่ไม่เกิดที่ด้านซ้าย เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายโรคงูสวัดที่ก้นของคุณอาจทำให้เกิดอาการเริ่มต้น เช่น รู้สึกเสียวซ่า คัน หรือปวด หลังจากนั้นสองสามวัน อาจเกิดผื่นแดงหรือตุ่มพองขึ้นได้ บางคนมีอาการปวดแต่ไม่เกิดผื่นขึ้น

โรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่ ?

ตัว โรคงูสวัด ไม่ได้เป็น โรคติดต่อ แต่ไวรัส Varicella-zoster เป็นสาเหตุของโรคที่สามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นได้ คุณไม่สามารถเป็นโรคงูสวัดจากคนที่เป็นโรคงูสวัดได้ แต่คุณสามารถเป็นโรคอีสุกอีใสได้หากสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคงูสวัด ซึ่งอาการนี้มักจะเกิดขึ้นได้ ถ้าคุณไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ไวรัสวาริเซลลา (varicella-zoste) จะแพร่กระจายเมื่อมีคนสัมผัสกับตุ่มน้ำพอง มันจะไม่เป็นโรคติดต่อหากปิดแผลพุพองหรือหลังเกิดสะเก็ด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส varicella-zoster หากคุณมีงูสวัด ให้แน่ใจว่าได้รักษาผื่นให้สะอาดและปกปิด อย่าสัมผัสตุ่มน้ำและล้างมือบ่อย ๆ คุณควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่มีความเสี่ยง เช่น สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ระยะเวลาของการเกิดโรคงูสวัด

โรคงูสวัด

โรคงูสวัดส่วนใหญ่จะมีการฟักตัวระยะหนึ่งหลังจากที่ไวรัส Varicella-Zoster ได้รับการกระตุ้นคุณอาจรู้สึกเสียวซ่า แสบร้อน ชา หรือคันที่ผิวหนัง โรคงูสวัดมักเกิดขึ้นที่เอว หลัง หรือหน้าอก ภายในประมาณ 5 วัน คุณอาจเห็นผื่นแดงบริเวณนั้น กลุ่มเล็ก ๆ ของพุพองที่เต็มไปด้วยของเหลวอาจปรากฏขึ้นในบริเวณเดียวกันในอีก 2 – 3 วันต่อมา คุณอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ หรือเหนื่อยล้า ในช่วง 10 วันต่อมา แผลพุพองจะแห้งและเกิดเป็นสะเก็ด สะเก็ดจะหายหลังจากผ่านไป 2 – 4 สัปดาห์ หลังจากสะเก็ดหายบางคนยังคงรู้สึกเจ็บนี้ เรียกว่า โรคประสาท Postherpetic (1),(2),(3),(4)

วิธีการรักษาโรคงูสวัดที่บ้าน

  • อาบน้ำเย็น หรืออาบน้ำเพื่อทำความสะอาดและปลอบประโลมผิวของคุณ
  • ใช้ประคบเย็นบนผื่นเพื่อลดอาการปวดและอาการคัน
  • อาการคันจะเป็นเช่นเดียวกับวิธีในการรักษาตัวเรือดกัด ดังนั้นคุณควรทาโลชั่นคาลาไมน์ หรือแป้งที่ทำจากเบกกิ้งโซดา หรือแป้งข้าวโพดผสมกับน้ำ เพื่อลดอาการคัน
  • การอาบน้ำข้าวโอ๊ตจะช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการคันได้
  • กินอาหารที่มีวิตามิน A, B-12 , C และ E รวมทั้งกรดอะมิโนไลซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของคุณ

วิธีป้องกันโรคงูสวัด

วัคซีนสามารถช่วยให้คุณไม่เกิดอาการงูสวัดรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัดได้ เด็กทุก ๆ คน ควรได้รับวัคซีนอีสุกอีใส 2 โดส หรือที่รู้จักในชื่อ วัคซีนวาริเซลลา ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสควรได้รับวัคซีนนี้ด้วย การฉีดวัคซีนไม่ได้แปลว่าคุณจะไม่เป็นโรคอีสุกอีใสเสมอไป แต่จะสามารถป้องกันได้ใน 9 ใน 10 คนที่ได้รับวัคซีน ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนโรคงูสวัดหรือที่เรียกว่าการสร้างภูมิคุ้มกันโรค varicella-zoster วัคซีนนี้ช่วยป้องกันอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคงูสวัดได้ ในการฉีดวัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนให้เลือก 2 ชนิดคือ Zostavax (วัคซีนงูสวัดที่มีชีวิตอยู่) และอีกตัวก็คือ Shingrix (วัคซีนงูสวัดลูกผสม) ซึ่ง CDC ได้ระบุว่า Shingrix ถือเป็นวัคซีนที่ดีและมีประสิทธิภาพ และ CDC ยังตั้งข้อสังเกตว่าแม้ว่าคุณจะเคยได้รับ Zostavax มาก่อน คุณก็ควรจะรับวัคซีน Shingrix เพิ่ม (6),(7)


อ้างอิง 

(1) Shingles (Mayo Clinic)

(2) Shingles (Herpes Zoster)

(3) Shingles (Medlineplus)

(4) Shingles Information Page

(5) Managing ophthalmic herpes zoster in primary care

(6) Shingles Vaccination

(7) Get the Shingrix Vaccine If You Are 50 or Older