วิธีจำแนกว่าระหว่าง ผัก และ ผลไม้ แตกต่างกันอย่างไร ?

วิธีจำแนกว่าระหว่างผักและผลไม้แตกต่างกันอย่างไร?
วิธีจำแนกว่าระหว่างผักและผลไม้แตกต่างกันอย่างไร?

คุณเคยถกเถียงกับเพื่อนหรือคนรอบข้างหรือไม่ว่า แตงกวา แท้จริงแล้วเป็นผลไม้หรือผักกันแน่ ? หลายคนอาจจะคิดว่าผลของมันเป็นสีเขียวและมักใช้ทานเป็นเครื่องเคียงและคิดว่ามันต้องเป็นผัก แต่จริง ๆ แล้วแตงกวาเป็นผลไม้ค่ะ เพราะทางลักษณะและพฤกษศาสตร์ได้กำหนดไว้แล้วว่า มันคือผลไม้ ดังนั้น “​การจำแนกระหว่างผักและผลไม้” เป็นสิ่งสำคัญ คนส่วนใหญ่รู้ว่าผักและผลไม้นั้นดีต่อสุขภาพ แต่มีคนจำนวนไม่มากที่คุ้นเคยกับความแตกต่างระหว่างผักและผลไม้ ผักและผลไม้เป็นอาหารจากพืชเพื่อสุขภาพ ดังนั้นผักและผลไม้จึงเป็นอาหารหลักในหลายครัวเรือน แต่ในขณะที่คนส่วนใหญ่รู้ว่าพวกเขาให้ประโยชน์ทางโภชนาการมากมาย แต่หลายคนไม่นั้นไม่รู้ถึงความแตกต่างระหว่างผักและผลไม้ วันนี้เราพร้อมที่จะหาคำตอบให้กับคุณด้วยการพาคุณไปเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของผักและผลไม้ค่ะ

ความแตกต่างระหว่างผักและผลไม้

ผักและผลไม้

ซึ่งผักและผลไม้นั้นสามารถจำแนกได้ 2 แบบ คือ แบ่งตามมุมมองทางพฤกษศาสตร์ และแบ่งตามด้านการทำอาหาร ในทางพฤกษศาสตร์ผลไม้และผัก จะถูกจำแนกตามส่วนของพืชว่าพืชนั้นทำมาจากส่วนใด ปกติแล้วผลไม้จะถูกพัฒนาขึ้นจากดอกของพืช ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ ของพืชจะจัดอยู่ในประเภทผัก ผลไม้จะมีเมล็ดอยู่ภายใน ส่วนในผักมักจะประกอบด้วยราก ลำต้นและใบ อาทิเช่น ผังบุ่ง ผักชี หรือผักคะน้า เป็นต้น หากให้แบ่งตามมุมมองของการทำอาหาร ผลไม้และผักจะถูกจำแนกตามรสชาติ ผลไม้โดยทั่วไปมีรสหวานหรือรสเปรี้ยวและสามารถนำไปใช้เป็นของหวาน ของว่างหรือน้ำผลไม้ได้ ในขณะที่ผักมีรสชาติอ่อนหรือขมกว่า และมักรับประทานเป็นเครื่องเคียงหรือรับประทานเป็นอาหารจานหลัก

ผลไม้ที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผัก

แน่นอนว่าในโลกนี้มีพืชหลายชนิดที่เป็นผลไม้แต่มีรสชาติเป็นผัก ซึ่งทำให้หลายคนแยกไม่ออกว่าต้องเรียกผักหรือผลไม้กันแน่ ขอบอกเลยว่า มะเขือเทศเป็นพืชที่ได้รับการถกเถียงกันมากที่สุดในเรื่องนี้ ในปี ค.ศ. 1893 ศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินว่ามะเขือเทศควรจัดเป็นผักมากกว่าผลไม้ภายใต้ระเบียบศุลกากรของสหรัฐอเมริกา ส่วนในทางพฤกษศาสตร์มะเขือเทศเหมาะสมกับคำจำกัดความของผลไม้มากกว่าแต่รสชาติของมันนั้นเหมือนกับผักมากกว่าผลไม้ ต่อไปนี้เป็นผลไม้ที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผัก ได้แก่

  • ฟักทองเทศ
  • อะโวคาโด
  • แตงกวา
  • มะเขือยาว
  • มะกอก
  • ฟักทอง
  • ถั่วลันเตา
  • ซูกินี

ผักที่มีรสหวานเหมือนผลไม้

แม้ว่าจะมีผลไม้หลายชนิดที่ทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่าเป็นผัก แต่ก็มีผักอยู่น้อยมากที่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผลไม้ อย่างไรก็ตามผักบางชนิดก็มีรสหวานตามธรรมชาติมากกว่าผักอื่น ๆ และสามารถนำไปทำเป็นขนมหวาน พาย และขนมอบได้ อย่างเช่นพายมันเทศที่เป็นของหวานส่วนหนึ่งของวันขอบคุณพระเจ้าในสหรัฐอเมริกา หลายคนเรียกสิ่งนี้ว่าของหวาน แต่จริง ๆ แล้วมันเทศเป็นผักชนิดหนึ่งไม่ใช่ผลไม้แต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีพืชและผักอื่น ๆ ที่มีรสหวานตามธรรมชาติ ได้แก่ หัวบีต แครอท รูตาบากัส และหัวผักกาด

ผักที่มีรสหวานตามธรรมชาติ ได้แก่ แครอท

เปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของผักและผลไม้ 

ผักและผลไม้มีความคล้ายคลึงกันมากในแง่ของโภชนาการ ทั้งสองมีไฟเบอร์สูงรวมทั้งมี วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่คล้าย ๆ กัน ผักและผลไม้ยังมีโซเดียมและไขมันต่ำตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นไขมันที่ดี (1) โดยปกติแล้วผลไม้มักจะมีน้ำตาลธรรมชาติและแคลอรี่สูงกว่าเมื่อเทียบกับผัก ตัวอย่างเช่น แอปเปิ้ล 1 ถ้วย มีแคลอรี่ 65 แคลอรี่ และมีน้ำตาล 13 กรัม ในขณะที่บร็อกโคลี 1 ถ้วยมีแคลอรี่ 31 แคลอรี่ และมีน้ำตาล 2 กรัม เมื่อเทียบกับผัก ผลไม้บางชนิด อาจมีไฟเบอร์ต่อกรัมมากกว่า ผลไม้ 100 กรัม จะให้ไฟเบอร์อยู่ในช่วง 2-15 กรัม ในขณะที่ผัก 100 กรัมจะให้ไฟเบอร์ 1.2–4 กรัม ส่วนปริมาณน้ำในผักและผลไม้นั้น แตกต่างกันนิดหน่อย ผักอาจประกอบด้วยน้ำ 84–95% ในขณะที่ผลไม้มีปริมาณน้ำน้อยกว่าเล็กน้อยโดยอยู่จะระหว่าง 61–89% (1) โปรดรู้ไว้ว่าผักและผลไม้แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันทางโภชนาการเช่นกันและนี่คือไฮไลท์ทางโภชนาการบางส่วนของผักและผลไม้

  • ผักกินหัว อุดมด้วยไฟเบอร์ ซึ่งถือเป็นแหล่งวิตามินซีที่ดี อีกทั้งยังมีเบต้าแคโรทีน โพแทสเซียม และวิตามินบีด้วย (2)
  • ผลไม้รสเปรี้ยว จะมีวิตามินซีสูง เบต้าแคโรทีน โฟเลต และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถป้องกันโรคความจำเสื่อมได้ (3)
  • ผักตระกูลกะหล่ำ ประกอบด้วยกลูโคซิโนเลต ซึ่งเป็นกลุ่มของสารประกอบที่เชื่อมโยงกับการป้องกันมะเร็ง (4),(5)
  • ผลเบอร์รี่ เต็มไปด้วยแอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นสารต้านการอักเสบที่ได้รับการศึกษาถึงความสามารถในการลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและส่งเสริมสุขภาพของหัวใจ (6)
  • ผักใบเขียว เป็นแหล่งที่ดีของแคโรทีนอยด์ เช่น ลูทีน ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งได้ (7),(8)

ประโยชน์ต่อสุขภาพของผักและผลไม้

ผักและผลไม้

มีงานวิจัยจำนวนมากที่บันทึกถึงประโยชน์มากมายของการบริโภคผักและผลไม้ที่มีต่อสุขภาพ จากการศึกษาหลายชิ้นพบว่า การรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจลดลง (9),(10),(11) การศึกษาหนึ่งพบว่า การรับประทานอาหารมากกว่า 3 มื้อต่อวัน ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ถึง 70% และเนื่องจากผักและผลไม้มีแคลอรี่ต่ำแต่มีไฟเบอร์สูง จึงสามารถช่วยให้น้ำหนักของคุณอยู่ภายใต้การควบคุมและการศึกษาหนึ่งได้ติดตามผู้คนกว่า 133,000 คน ในช่วง 24 ปี แสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้คนเพิ่มการบริโภคผลไม้และผักที่ไม่มีแป้ง น้ำหนักของพวกเขามักจะลดลง (13)

และการเพิ่มปริมาณเส้นใยในร่างกายของคุณผ่านการรับประทานผักและผลไม้ อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ จากการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นพบว่า การบริโภคผักและผลไม้ที่มากขึ้น จะเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (14),(15) นอกจากนี้การรับประทานผลไม้และผักอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากเส้นใยจากอาหารเหล่านี้ได้ชะลอการดูดซึมน้ำตาล ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การบริโภคผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นสามารถนำไปสู่การลดการพัฒนาของโรคเบาหวานได้ (16) โปรดทราบว่าผลลัพธ์ต่าง ๆ เหล่านี้ใช้กับการทานผักและผลไม้สดเท่านั้น ไม่ใช่การทานน้ำผลไม้หรือน้ำผัก ซึ่งน้ำผลไม้หรือน้ำผักให้ปริมาณวิตามิน เกลือแร่ และน้ำตาลได้ แต่ไม่มีเส้นใยและไม่ได้มีประโยชน์ต่อสุขภาพเทียบเท่ากับการทานผักและผลไม้สด ๆ นั่นเองค่ะ


อ้างอิง 

(1) Health Benefits of Fruits and Vegetables

(2) Roots and Tuber Crops as Functional Foods: A Review on Phytochemical Constituents and Their Potential Health Benefits

(3) Anticancer and health protective properties of citrus fruit components

(4) Cruciferous vegetables: dietary phytochemicals for cancer prevention

(5) Cruciferous Vegetables and Human Cancer Risk: Epidemiologic Evidence and Mechanistic Basis

(6) Berries: emerging impact on cardiovascular health

(7) Carotenoid analysis of several dark-green leafy vegetables associated with a lower risk of cancers

(8) Lutein and zeaxanthin and their potential roles in disease prevention

(9) Fruit and vegetable intake and risk of cardiovascular disease in US adults: the first National Health and Nutrition Examination Survey Epidemiologic Follow-up Study

(10) Fruit and vegetable consumption and risk factors for cardiovascular disease

(11) Fruit and vegetable intake and risk of major chronic disease

(12) Fruit and vegetable intake and the risk for developing coronary heart disease

(13) Changes in Intake of Fruits and Vegetables and Weight Change in United States Men and Women Followed for Up to 24 Years: Analysis from Three Prospective Cohort Studies

(14) Fruit, vegetables, and colorectal cancer risk: the European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition

(15) Fruit, vegetables, dietary fiber, and risk of colorectal cancer

(16) Intake of Fruit, Vegetables, and Fruit Juices and Risk of Diabetes in Women