“ความเหนื่อยล้า” เป็นสภาวะที่ร่างกายเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าคุณจะนอนหลับอย่างเพียงพอตามปกติแล้วก็ตาม อาการนี้จะเกิดขึ้นอย่างยาวนานและทำให้ระดับพลังงานในร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของคุณ ลดลง คุณจะมีความรู้สึกไม่มีแรงจูงใจที่จะเข้าร่วมหรือทำกิจกรรมใดก็ตามที่คุณชื่นชอบ ซึ่งสัญญาณของความเหนื่อยล้า ได้แก่ ร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ, เหนื่อยเหมือนอดนอนทั้ง ๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ, คุณรู้สึกเหมือนว่าตัวเองมีความอดทนน้อยกว่าปกติ และสุดท้าย จิตใจคุณจะรู้สึกถึงเหนื่อยล้าและอารมณ์เสีย (1),(2)
ส่วน “อาการไม่อยากอาหาร” หรือ “ไม่กระหาย” หมายความว่า คุณจะไม่มีความปรารถนาที่จะทานอาหารต่าง ๆ เหมือนเดิม โดยสัญญาณของความอยากอาหารที่ลดลง ได้แก่ ไม่อยากทานอะไร, น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ และไม่รู้สึกหิว ความคิดเรื่องการทานอาหาร อาจทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ ราวกับว่าคุณจะอาจอาเจียนออกมาหลังรับประทานอาหาร อาการไม่อยากอาหารในระยะยาวเรียกอีกอย่างว่า “อาการเบื่ออาหาร” (3) ซึ่งอาจจะมีสาเหตุในทางการแพทย์หรือทางจิตใจ อีกทั้งก็อาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกาย เมื่อรู้สึกเมื่อยล้า และเบื่ออาหารร่วมกัน
เราไปดูกันค่ะว่า ทำไมเราถึงมีอาการเหนื่อยล้าเป็นพิเศษและเบื่ออาหารมาก ?
สาเหตุของความเหนื่อยล้า และการเบื่ออาหาร ?
ความเหนื่อยล้าและการเบื่ออาหาร เป็นอาการของภาวะสุขภาพหลายประการ ภาวะนี้อาจพบได้บ่อยพอ ๆ กับไข้หวัดหรือสัญญาณของโรคบางอย่าง สิ่งที่ร้ายแรงกว่านั้นคือ อาการเหล่านี้ อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งบ่อยครั้งที่อาการเบื่ออาหารอาจทำให้คุณเกิดความเหนื่อยล้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณได้รับแคลอรี่หรือรับสารอาหารไม่เพียงพอ รวมไปถึงอาการปวดเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจรบกวนความอยากอาหารของคุณและทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าได้
สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ได้แก่ (4)
- โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)
- ไมเกรน (Migraines)
- การบาดเจ็บเส้นประสาทส่วนปลาย (Nerve Damage)
- กลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า (Postural Orthostatic tachycardia syndrome: POTS)
- อาการปวดหลังผ่าตัด (Pain After Surgery)
สาเหตุอื่น ๆ ของความเหนื่อยล้าและเบื่ออาหาร ได้แก่
- โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
- ตั้งครรภ์
- ไข้หวัด
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดลูก
- ภาวะฉุกเฉินจากความร้อน
- กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
- อาการถอนแอลกอฮอล์
ปัญหาการใช้ยา
คุณอาจรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ เมื่อร่างกายต้องต่อสู้กับการติดเชื้อ ซึ่งยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้และง่วงนอน ผลข้างเคียงเหล่านี้ สามารถลดความอยากอาหารของคุณและทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าได้ โดยยาที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ ก็ได้แก่ ยาแก้หวัด, ยานอนหลับ, ยาปฏิชีวนะ, ยาควบคุมความดันโลหิต, ยาขับปัสสาวะ, สเตียรอยด์อะนาโบลิก และยาแก้ปวดกลุ่มฝิ่น อาทิเช่น โคเดอีน ออกซีโคโดน และมอร์ฟีน เป็นต้น
ปัญหาทางจิตวิทยา
ความผิดปกติทางจิตวิทยาเหล่านี้อาจส่งผลต่อความอยากอาหารและระดับพลังงานของคุณได้เช่นกัน อาทิเช่น ความเครียด, ความเศร้าโศก, โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคบูลิเมียหรือโรคล้วงคอ, เกิดความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ซึ่งการวิจัยบางชิ้นที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าได้แสดงให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าสามารถเพิ่มหรือลดความอยากอาหารของบุคคลได้ (5)
วิธีรักษาอาการเหนื่อยล้าและอาการเบื่ออาหาร
โดยปกติแล้วแพทย์จะสั่งการรักษาให้กับคุณโดยขึ้นอยู่กับสภาพและสาเหตุที่คุณกำลังเผชิญอยู่ อาทิเช่น การบรรเทาอาการปวด อาจช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าและอาการเบื่ออาหารได้ หรือถ้าหากยาเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยล้าและเบื่ออาหารแพทย์อาจปรับปริมาณหรือเปลี่ยนยาให้กับคุณ เป็นต้น
การรักษาความเหนื่อยล้าอาจรวมถึงการเรียนรู้วิธีการเพิ่มการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันของคุณ อาทิเช่น เริ่มออกกำลังกายให้มากขึ้น อย่างการเดินออกกำลังกาย, จัดทำตารางกิจกรรมและพักผ่อน, พูดคุยบำบัดคำจิตแพทย์ และเรียนรู้การดูแลตนเอง เป็นต้น
ส่วนการรักษาอาการเบื่ออาหารนั้น อาจเป็นการกำหนดตารางมื้ออาหารที่ยืดหยุ่นและการรวมอาหารที่คุณชื่นชอบเข้ากับมื้ออาหารในตาราง มีการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มรสชาติ และกลิ่นของอาหาร สามารถเพิ่มความอยากอาหารในผู้สูงอายุได้ (6)
วิธีอื่น ๆ ที่ใช้รักษาอาการเมื่อยล้าหรือเบื่ออาหาร ได้แก่
- ใช้สารกระตุ้นความอยากอาหาร
- ใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่ำ เพื่อเพิ่มความอยากอาหาร
- ใช้ยานอนหลับ ช่วยให้นอนหลับดีขึ้นในเวลากลางคืน (เลือกทานอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้นอนหลับสบาย)
- กายภาพบำบัด และค่อย ๆ เพิ่มการออกกำลังกาย
- ใช้ยากล่อมประสาท หรือยาต้านความวิตกกังวล สำหรับภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล
เราจะป้องกัน และรักษา อาการเหนื่อยล้าและอาการเบื่ออาหารได้อย่างไร?
แพทย์ หรือนักโภชนาการสามารถให้คำแนะนำในการปรับปรุงความอยากอาหารและลดความเหนื่อยล้าได้ ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องเปลี่ยนอาหารที่ทานให้เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง, อาหารที่มีสารอาหารมาก และเลือกอาหารที่ปราศจากน้ำตาล หรือทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาล การทานอาหารในรูปของเหลว เช่น สมูทตี้ผัก หรือเครื่องดื่มที่มีโปรตีน อาจทำให้ท้องของคุณอิ่มได้ง่ายขึ้น หากคุณมีปัญหากับอาหารมื้อใหญ่ คุณสามารถลองทานอาหารมื้อเล็ก ๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อช่วยลดอาการเบื่ออาหารได้ค่ะ
แม้ว่าในปัจจุบันเราจะยังไม่สามารถป้องกันความเหนื่อยล้าและอาการเบื่ออาหารได้ แต่การใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี สามารถลดอาการเหนื่อยล้าและความเบื่ออาหารได้ค่ะ อีกทั้งอาจทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยน้อยลงและมีพลังงานเพิ่มมากขึ้น เราแนะนำให้คุณรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาทิเช่น ผลไม้ ผัก (ผักคะน้า, แตงกวา หรือสมุนไพรอื่น ๆ) และเนื้อไม่ติดมัน นอกจากนี้คุณควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและนอนหลับอย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อทำให้สุขภาพแข็งแรงมากยิ่งขึ้นค่ะ
อ้างอิง