สารพัดประโยชน์ของ มะเขือเทศ ที่คุณควรรู้ !

สารพัดประโยชน์ของมะเขือเทศที่คุณควรรู้
สารพัดประโยชน์ของมะเขือเทศที่คุณควรรู้

เมื่อเราทานอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารสุขภาพอย่าง สลัด ผัดผัก หรือมังสวิรัติ หรือจะเป็นพวกอาหารฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารจานเดียวทั่วไป เราก็มักจะพบเห็น “มะเขือเทศ” ผลสีแดง ๆ อยู่ในอาหารเหล่านั้นเสมอ ซึ่งอาหารบางเมนู อาจมีมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบหลัก หรือในบางครั้งบางคนก็เลือกที่จะใช้มะเขือเทศเพื่อตกแต่งจาน แต่คุณรู้ไหมคะว่า แท้จริงแล้ว มะเขือเทศนั้นมีประโยชน์มากเลยทีเดียว

มะเขือเทศ เป็นผลไม้จากตระกูล Nightshade ที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แม้ว่าในทางพฤกษศาสตร์จะเป็นผลไม้ แต่โดยทั่วไปแล้ว จะรับประทานและมีการปรุงเป็นผัก บ้างก็ทานสด ๆ และบ้างก็นำไปประกอบอาหารเช่นเดียวกับผักคะน้า หรือผักอื่น ๆ มะเขือเทศมีสารต้านอนุมูลอิสระ และไลโคปีนสูง ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและมะเร็งได้ดีมาก มะเขือเทศเป็นอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย หลายคนเชื่อกันว่ามะเขือเทศจะช่วยส่งเสริมสุขภาพผิว ช่วยในการลดน้ำหนัก และเพิ่มสุขภาพหัวใจ วันนี้เราจะพาคุณไปดูกันว่าเรื่องที่กล่าวมานั้น เป็นความจริงหรือไม่ หากพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย

ข้อมูลทางโภชนาการของมะเขือเทศ
หากให้พูดถึงมะเขือเทศ 100 % ปริมาณของน้ำของมะเขือเทศจะอยู่ที่ประมาณ 95% ส่วนอีก 5% ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต และเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์ค่ะ และนี่คือสารอาหารในมะเขือเทศดิบขนาดเล็ก (100 กรัม) (1)

โภชนาการของมะเขือเทศ
  • แคลอรี่: 18
  • น้ำ: 95%
  • โปรตีน: 0.9 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต: 3.9 กรัม
  • น้ำตาล: 2.6 กรัม
  • ไฟเบอร์: 1.2 กรัม
  • ไขมัน: 0.2 กรัม

วิตามินและแร่ธาตุของมะเขือเทศ

วิตามินและแร่ธาตุของมะเขือเทศ

มะเขือเทศเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด

  • วิตามินซี วิตามินนี้เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มะเขือเทศขนาดกลางหนึ่งผลสามารถให้วิตามินซีประมาณ 28% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (RDI)
  • โพแทสเซียม โพแทสเซียมคือแร่ธาตุที่จำเป็น มีประโยชน์ต่อการควบคุมความดันโลหิตและการป้องกันโรคหัวใจ (2)
  • วิตามินเค 1 หรือที่เรียกว่า Phylloquinone มีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือดและสุขภาพของกระดูก (3),(4)
  • โฟเลต (วิตามิน B9) มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ และการทำงานของเซลล์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสตรีมีครรภ์ (5)

สารประกอบอื่น ๆ ในมะเขือเทศ

วิตามินและสารประกอบในมะเขือเทศอาจแตกต่างกันอย่างมากระหว่างสายพันธุ์และระยะเวลาในการสุ่มตัวอย่าง แต่ข้อมูลที่เราได้มาคือสารประกอบหลักของมะเขือเทศค่ะ (6),(7)

  • ไลโคปีน คือสารในอาหารสีแดง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้รับการศึกษามากมายว่ามีผลดีต่อสุขภาพ (8)
  • เบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มักจะมีอยู่ในอาหารที่มีสีเหลืองหรือสีส้ม เบต้าแคโรทีนจะถูกแปลงเป็นวิตามินเอในร่างกายของเรา
  • นรินเกนิน เป็นสารที่พบในผิวมะเขือเทศ สารฟลาโวนอยด์นี้ช่วยลดการอักเสบและป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ดี (9)
  • กรดคลอโรเจนิก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ กรดคลอโรจีนิกอาจลดความดันโลหิตในผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงได้ (10),(11)

ขอบอกเลยว่าคลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ และไลโคปีน มีส่วนรับผิดชอบต่อการเกิดสีของมะเขือเทศ เมื่อมะเขือเทศเริ่มสุกคลอโรฟิลล์ (สีเขียว) จะถูกย่อยสลาย ส่วนแคโรทีนอยด์และไลโคปีน (สีแดง) จะถูกสังเคราะห์ออกมา (12) ต่อไปเราจะไปเจาะลึกถึงสารสำคัญในมะเขือเทศอย่างไลโคปีนกันค่ะ

ไลโคปีน

ไลโคปีนเป็นแคโรทีนอยด์ในรูปแบบที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในมะเขือเทศสุก (13) โดยทั่วไปยิ่งมะเขือเทศสีแดงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีไลโคปีนมากขึ้นเท่านั้น (14) ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ เช่น ซอสมะเขือเทศและน้ำมะเขือเทศ เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไลโคปีนมากที่สุด โดยให้ไลโคปีนในอาหารมากกว่า 80% (15),(16) ขอบอกเลยว่าปริมาณไลโคปีนในผลิตภัณฑ์มะเขือเทศแปรรูปมักจะสูงกว่ามะเขือเทศสดมาก (17) ตัวอย่างเช่น ซอสมะเขือเทศมีไลโคปีน 10 – 14 มก. ต่อซอส 100 กรัม ในขณะที่มะเขือเทศสดขนาดเล็กหนึ่งลูก 100 กรัม มีไลโคปีนเพียง 1 – 8 มก.

อย่างไรก็ตามโปรดทราบว่าการเพิ่มปริมาณไลโคปีนของคุณ อาจง่ายกว่าโดยการกินมะเขือเทศที่ยังไม่แปรรูป ซึ่งมีน้ำตาลน้อยกว่าซอสมะเขือเทศมาก โดยอาหารที่คุณทานอาจมีผลอย่างมากต่อการดูดซึมไลโคปีน การบริโภคไลโคปีนกับอาหารที่มีไขมันดีสามารถเพิ่มการดูดซึมได้ถึงสี่เท่า (18) แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าทุก ๆ คนจะดูดซับไลโคปีนในอัตราเดียวกัน (19)  แม้ว่าผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศแปรรูปจะมีไลโคปีนสูงกว่า แต่ก็ยังอยากแนะนำให้บริโภคมะเขือเทศสดทั้งลูกทุกครั้งที่ทำได้

ประโยชน์ของมะเขือเทศที่คุณควรรู้ !

มะเขือเทศ

การบริโภคมะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศเชื่อมโยงกับสุขภาพผิวที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและมะเร็ง

1. สุขภาพหัวใจ โรคหัวใจรวมถึงอาการหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดในโลก การศึกษาในชายวัยกลางคนได้เชื่อมโยงระดับไลโคปีนและเบต้าแคโรทีนในเลือดต่ำ ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (20),(21) หลักฐานจากการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าการเสริมไลโคปีนอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล LDL ที่ไม่ดีได้ (22) และมีการศึกษาทางคลินิกของผลิตภัณฑ์มะเขือเทศบ่งชี้ถึงประโยชน์ต่อการอักเสบและเครื่องหมายของความเครียดออกซิเดชัน (23),(24) นอกจากนี้มะเขือเทศยังช่วยป้องกันชั้นของหลอดเลือดและอาจลดความเสี่ยงของการแข็งตัวของเลือดด้วย (25),(26)

2. ป้องกันมะเร็ง มะเร็งคือการเติบโตของเซลล์ผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งแพร่กระจายเกินขอบเขตปกติ เซลล์มะเร็งสามารถบุกรุกส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ การศึกษาเชิงสังเกตได้ระบุถึงความเชื่อมโยงระหว่างมะเขือเทศกับผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ พบว่าช่วยให้มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหารน้อยลง (27),(28) และการศึกษาในสตรีแสดงให้เห็นว่าแคโรทีนอยด์ที่มีความเข้มข้นสูงซึ่งพบในมะเขือเทศอาจช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมได้ (29),(30)

3. สุขภาพผิว มะเขือเทศจะถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับสุขภาพผิว อาหารจากมะเขือเทศจะอุดมไปด้วยไลโคปีนและสารประกอบจากพืชอื่น ๆ อาจช่วยป้องกันการถูกแดดเผาได้ (31),(32) จากการศึกษาหนึ่งพบว่าคนที่กินมะเขือเทศบด 40 กรัม โดยให้ไลโคปีน 16 มก. ร่วมกับน้ำมันมะกอกทุกวันเป็นเวลา 10 สัปดาห์ จะมีอาการผิวไหม้จากแดดน้อยลงถึง 40% (33)

ความปลอดภัยและผลข้างเคียง

โดยทั่วไปแล้วอาการแพ้มะเขือเทศนั้นหาได้ยากมาก (34),(35) แต่ก็สามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน แม้ว่าการแพ้มะเขือเทศจะเกิดได้ยาก แต่ผู้ที่แพ้ละอองหรือเกสรดอกไม้มักจะมีอาการแพ้มะเขือเทศมากกว่า ภาวะนี้เรียกว่า โรคแพ้อาหารจากละอองเกสร หรือกลุ่มอาการภูมิแพ้อาหาร (36)หากคุณมีอาการเหล่านี้จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณจะโจมตีโปรตีนจากผลไม้และผัก ซึ่งอาจนำไปสู่ปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น อาการคันในปาก คอแห้ง หรือบวมที่ปากหรือลำคอ (37)


อ้างอิง 

(1) Tomatoes, raw

(2) Potassium intake, stroke, and cardiovascular disease a meta-analysis of prospective studies

(3) Two-year randomized controlled trial of vitamin K1 (phylloquinone) and vitamin D3 plus calcium on the bone health of older women

(4) Vitamin K and bone health

(5) Effect of folate intake on health outcomes in pregnancy: a systematic review and meta-analysis on birth weight, placental weight and length of gestation

(6) Antioxidant composition in cherry and high-pigment tomato cultivars

(7) Antioxidant nutritional quality of tomato

(8) An update on the health effects of tomato lycopene

(9) Preclinical evidence for the pharmacological actions of naringin: a review

(10) The blood pressure-lowering effect and safety of chlorogenic acid from green coffee bean extract in essential hypertension

(11) Antihypertensive effect of green coffee bean extract on mildly hypertensive subjects

(12) Free hydroxycinnamic acids, lycopene, and color parameters in tomato cultivars

(13) Tomato and tomato byproducts. Human health benefits of lycopene and its application to meat products: a review

(14) Correlation of lycopene measured by HPLC with the L, a, b color readings of a hydroponic tomato and the relationship of maturity with color and lycopene content

(15) Lycopene: chemistry, biology, and implications for human health and disease

(16) Lycopene

(17) Lycopene stability during food processing

(18) Carotenoid bioavailability is higher from salads ingested with full-fat than with fat-reduced salad dressings as measured with electrochemical detection

(19) A physiological pharmacokinetic model describing the disposition of lycopene in healthy men

(20) Low serum lycopene and β-carotene increase risk of acute myocardial infarction in men

(21) Serum lycopene decreases the risk of stroke in men: a population-based follow-up study

(22) Effect of lycopene and tomato products on cholesterol metabolism

(23) Effect of a tomato-based drink on markers of inflammation, immunomodulation, and oxidative stress

(24) Tomatoes versus lycopene in oxidative stress and carcinogenesis: conclusions from clinical trials

(25) Platelets and atherogenesis: Platelet anti-aggregation activity and endothelial protection from tomatoes (Solanum lycopersicum L.)

(26) Platelets and atherogenesis: Platelet anti-aggregation activity and endothelial protection from tomatoes (Solanum lycopersicum L.)

(27) Tomatoes, tomato-based products, lycopene, and cancer: review of the epidemiologic literature

(28) A review of epidemiologic studies of tomatoes, lycopene, and prostate cancer

(29) Prospective study of carotenoids, tocopherols, and retinoid concentrations and the risk of breast cancer

(30) Dietary compared with blood concentrations of carotenoids and breast cancer risk: a systematic review and meta-analysis of prospective studies

(31) Lycopene-rich products and dietary photoprotection

(32) Supplementation with tomato-based products increases lycopene, phytofluene, and phytoene levels in human serum and protects against UV-light-induced erythema

(33) Dietary tomato paste protects against ultraviolet light-induced erythema in humans

(34) Tomato allergy: clinical features and usefulness of current routinely available diagnostic methods

(35) EpidemAAITO: features of food allergy in Italian adults attending allergy clinics: a multi-centre study

(36) Adverse food reactions in patients with grass pollen allergic respiratory disease

(37) Oral allergy syndrome: a clinical, diagnostic, and therapeutic challenge