6 เหตุผลที่ทำให้คุณไม่รู้สึกหิวในตอนเช้า

6 เหตุผลที่ทำให้คุณไม่หิวในตอนเช้า
6 เหตุผลที่ทำให้คุณไม่หิวในตอนเช้า

อาหารเป็นสิ่งที่เราต้องเราต้องทานเป็นประจำ เพราะอาหารเป็นส่วนที่ทำให้ร่างกายของเรามีความแข็งแรง และสามารถช่วยลดความหิวของเราได้ เราเคยได้ยินมาว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน” ซึ่งแน่นอนว่าอาหารมื้อนี้มีประโยชน์ก็จริง แต่อาหารมื้อเช้าก็ไม่ได้จำเป็นสำหรับคนทุกคน คำพูดที่ว่าอาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวันเป็นคำพูดที่ได้รับความนิยมมาก แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องรู้สึกหิวในตอนเช้าของทุกวัน ถึงแม้ว่าในบางกรณีที่คุณไม่หิวในตอนเช้า อาจเป็นสัญญาณของปัญหาร้ายแรง แต่ก็มีแนวโน้มว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่น่าเป็นห่วงอะไรค่ะ

ต่อไปนี้ก็คือ สาเหตุที่เป็นไปได้ 6 ประการ ที่ทำให้คุณไม่รู้สึกหิวในตอนเช้าค่ะ ถ้าคุณพร้อมกันแล้วก็ไปดูกันได้เลยค่ะ

1. คุณทานอาหารเย็นมื้อใหญ่หรือทานของว่างในตอนดึก

ทานอาหารเย็นมื้อใหญ่

สาเหตุหลักประการแรกที่ทำให้คุณไม่รู้สึกหิวเมื่อตื่นนอนขึ้นมา นั่นก็คือ คุณได้ทานอาหารเย็นมื้อใหญ่ หรือคุณทานของว่างในปริมาณมากเกินไปตอนกลางดึก นี่ก็อาจเป็นเรื่องจริงค่ะที่สาเหตุนี้ทำให้คุณไม่หิวในตอนเช้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกินอาหารที่มีไขมันหรือโปรตีนสูง ธาตุอาหารหลักเหล่านี้สามารถชะลอการล้างท้องของคุณ และทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้นแม้ในเช้าวันรุ่งขึ้น (1),(2) อีกทั้งโปรตีนยังสามารถเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอยากอาหารของคุณได้ดี ฮอร์โมนในนั้นได้แก่ เกรลิน, เปปไทด์คล้ายกลูคากอน-1, เปปไทด์ YY และคอเลซิสโตคินิน (3) และในทำนองเดียวกันอาหารที่มีไขมันสูง อาจเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับความอยากอาหาร และความรู้สึกอิ่มส่งผลให้ความหิวลดลง (4),(5) ดังนั้นถ้าหากคุณต้องการเพลิดเพลินกับอาหารค่ำมื้อใหญ่และข้ามหรือรออาหารเช้าในเช้าวันถัดไป ก็ไม่เป็นไรค่ะ ตราบใดที่คุณแน่ใจว่าได้รับสารอาหารที่จำเป็นมาตลอดทั้งวัน

2. ระดับฮอร์โมนของคุณเปลี่ยนไปในชั่วข้ามคืน

ในชั่วข้ามคืนและระหว่างการนอนหลับ ระดับของฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกายของคุณจะผันผวน สิ่งนี้สามารถเปลี่ยนความอยากอาหารของคุณได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับของอะดรีนาลีนนั้นมักจะสูงขึ้นในตอนเช้า ซึ่งเชื่อกันว่าฮอร์โมนนี้สามารถยับยั้งความอยากอาหารได้ โดยชะลออัตราที่กระเพาะอาหารของคุณว่างเปล่า และเพิ่มการสลายคาร์โบไฮเดรตที่เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อเพื่อเติมพลังงานให้กับร่างกายแทน (6),(7) ยิ่งไปกว่านั้นงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่าระดับของ Ghrelin ซึ่งเป็นฮอร์โมนความหิวนั้นลดลงในตอนเช้า ซึ่งน้อยกว่าตอนกลางคืน สิ่งนี้สามารถอธิบายได้ว่าทำไมคุณรู้สึกหิวน้อยลงเมื่อตื่นขึ้น (8) สุดท้ายนี้งานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่าระดับเลปตินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นความรู้สึกอิ่มก็อาจสูงขึ้นในตอนเช้าเช่นกัน อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังได้ผลที่หลากหลาย (9)

โปรดทราบไว้ว่า ความผันผวนของฮอร์โมนในแต่ละวันนั้น เป็นไปตามธรรมชาติ และมักไม่ก่อให้เกิดความกังวลใด ๆ อย่างไรก็ตามถ้าหากคุณพบว่าความหิวหรือความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันหรือรุนแรง ให้ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือแพทย์ค่ะ เพราะมันอาจเป็นการแจ้งเตือนถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

3. ความรู้สึกวิตกกังวลหรือหดหู่

รู้สึกวิตกกังวลหรือหดหู่

ทั้งความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า สามารถเป็นต้นเหตุส่งผลต่อระดับความหิวของคุณได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้อาการต่าง ๆ เช่น นอนไม่หลับ และเหนื่อยล้า ภาวะซึมเศร้าอาจทำให้ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไปด้วย (10) ในขณะเดียวกันความวิตกกังวลสามารถเพิ่มระดับของฮอร์โมนความเครียดบางอย่างที่ลดความอยากอาหารของคุณ (11) อย่างไรก็ตามความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามีผลกระทบต่อผู้คนต่างกัน การศึกษาบางชิ้นพบว่าเงื่อนไขเหล่านี้เชื่อมโยงกับความอยากอาหารที่เพิ่มขึ้นและการรับประทานอาหารสำหรับบางคนแทน (12),(13) หากคุณประสบปัญหาความวิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า และสงสัยว่าอาจส่งผลต่อความอยากอาหารหรือสุขภาพด้านอื่น ๆ ของคุณ ให้รีบไปพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อกำหนดแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณค่ะ

4. คุณกำลังตั้งครรภ์

อาการแพ้ท้องเป็นปัญหาทั่วไปที่ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนประมาณ 80% ระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าการแพ้ท้องจะส่งผลต่อคุณได้ทุกช่วงเวลาของวัน ในกรณีส่วนใหญ่อาการนี้จะดีขึ้น หรือหายไปหลังจากตั้งครรภ์ได้ 14 สัปดาห์ (14) การแพ้ท้องสามารถลดความอยากอาหารของคุณได้ อันที่จริงในการศึกษาหนึ่งในสตรีตั้งครรภ์ 2,270 คน ผู้คน 34% รายงานว่ารับประทานอาหารน้อยลงในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก (15) นอกจากการแพ้ท้องแล้ว การตั้งครรภ์ก็ยังสามารถจะทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ที่ลดความหิวโหยได้ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด และย่อยช้า (16) เราขอแนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานอาหารมื้อเล็ก ๆ และดูแลบ้านให้มีอากาศถ่ายเทเพื่อหลีกเลี่ยงกลิ่นที่ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ ซึ่งวิธีนี้ล้วนเป็นกลยุทธ์ที่อาจลดอาการ และเพิ่มความอยากอาหารได้ ถ้าหากคุณมีอาการแพ้ท้องอย่างต่อเนื่องหรือมีอาการอื่น ๆ ของการตั้งครรภ์ ให้ตรวจสอบการทดสอบการตั้งครรภ์หรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ค่ะ

5. คุณกำลังป่วย

คุณกำลังป่วย

ความรู้สึกที่ไม่ปกติมักทำให้เกิดความอยากอาหารหรือความหิวลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม สามารถทำให้คุณรู้สึกหิวน้อยลงได้ (17),(18),(19) ในบางกรณีการติดเชื้อเหล่านี้ก็ยังจำกัดการรับรสและกลิ่นของคุณด้วย (20) ซึ่งอาจลดความอยากอาหารของคุณ การติดเชื้อบางชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เกิดอาการที่ลดความหิวและความอยากอาหาร รวมทั้งทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน (21) จำไว้ว่าสิ่งสำคัญที่สุดก็คือต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ และเติมพลังงานให้ร่างกายเมื่อคุณป่วย แม้ว่าคุณจะไม่รู้สึกหิวก็ตาม

6. สาเหตุอื่น ๆ

นอกจากปัจจัยทั่วไปที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ อีกมากมายหลายประการที่สามารถทำให้คุณไม่รู้สึกหิวเมื่อตื่นนอนได้ และต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ บางประการที่ทำให้ความหิวของคุฯลดลงในตอนเช้าค่ะ

  • คุณกำลังใช้ยาบางชนิด ยาหลายชนิดรวมทั้งยาขับปัสสาวะ และยาปฏิชีวนะ สามารถลดความหิว และความอยากอาหารได้ (22),(23)
  • คุณอายุมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นความอยากอาหารจะลดลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติในผู้สูงอายุ และมันก็อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความต้องการพลังงาน ฮอร์โมน รสชาติหรือกลิ่น และสภาพแวดล้อมทางสังคม (24)
  • คุณมีปัญหาต่อมไทรอยด์ การสูญเสียความอยากอาหาร อาจเป็นสัญญาณของภาวะไทรอยด์ที่ทำงานต่ำ หรือการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ (25)
  • คุณกำลังอยู่ในช่วงไข่ตก เอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่เพิ่มขึ้นในช่วงตกไข่ อาจระงับความอยากอาหารของคุณได้ (26)
  • คุณมีภาวะเรื้อรังบางอย่าง ภาวะบางอย่าง เช่น โรคตับ หัวใจล้มเหลว โรคไต เอชไอวี หรือมะเร็ง โรคเหล่านี้ก็อาจทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้ (27),(28),(29),(30)

สิ่งที่คุณต้องทำ

หากคุณไม่รู้สึกหิวเมื่อตื่นนอน ให้รอสักครู่ก่อนรับประทานอาหารเช้า บางครั้งเมื่อคุณอาบน้ำ แต่งตัวและเริ่มเตรียมตัวสำหรับวันใหม่ คุณอาจรู้สึกหิวและพร้อมที่จะกิน หากคุณยังไม่รู้สึกหิวคุณสามารถลองกินอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ และมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของคุณ การทดลองอาหารใหม่ ๆ จะทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นกับการรับประทานอาหารเช้าและกระตุ้นความอยากอาหารของคุณ ต่อไปนี้เป็นแนวคิดเกี่ยวกับอาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพและอร่อย

โยเกิร์ตกับเบอร์รี่และกราโนล่า

หากคุณพบว่าการรับประทานอาหารเช้าเป็นเรื่องยากเพราะรู้สึกกระวนกระวายหรือยุ่งยาก การสร้างกิจวัตรยามเช้าอาจเป็นประโยชน์ นอกจากนี้รู้ไว้ด้วยว่ามันไม่เป็นไรถ้าคุณไม่อยากทานอาหารเช้าเลย เพียงให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารที่คุณต้องการในเวลาต่อมาของวัน ดื่มน้ำให้เพียงพอและอย่าเพิกเฉยต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่รับประทานอาหารในตอนเช้า เช่น ปวดหัว เหนื่อยล้าหรือหงุดหงิด

สุดท้ายนี้หากคุณสงสัยว่าภาวะสุขภาพที่แฝงอยู่อาจทำให้คุณสูญเสียความอยากอาหาร ให้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพเพื่อกำหนดแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ


อ้างอิง 

(1) The macronutrients, appetite and energy intake

(2) Effects of randomized whey-protein loads on energy intake, appetite, gastric emptying, and plasma gut-hormone concentrations in older men and women

(3) Increased Dietary Protein as a Dietary Strategy to Prevent and/or Treat Obesity

(4) Hunger and satiety responses to high-fat meals after a high-polyunsaturated fat diet: A randomized trial

(5) Fat Detection: Taste, Texture, and Post Ingestive Effects. (Chapter 15Fats and Satiety)

(6) Effects of meal timing on changes in circulating epinephrine, norepinephrine, and acylated ghrelin concentrations: a pilot study

(7) Neural effects of acute stress on appetite: A magnetoencephalography study

(8) Ghrelin is impacted by the endogenous circadian system and by circadian misalignment in humans

(9) The Impact of Sleep and Circadian Disturbance on Hormones and Metabolism

(10) Depression

(11) Neurohormonal Regulation of Appetite and its Relationship with Stress: A Mini Literature Review

(12) Effects of anxiety on caloric intake and satiety-related brain activation in women and men

(13) Appetite changes reveal depression subgroups with distinct endocrine, metabolic, and immune states

(14) Morning sickness

(15) Nausea and vomiting in early pregnancy: Effects on food intake and diet quality

(16) Management of acute abdomen in pregnancy: current perspectives

(17) Respiratory Viral Infection Alters the Gut Microbiota by Inducing Inappetence

(18) Guidelines for the Evaluation and Treatment of Pneumonia

(19) Flu: Overview

(20) Alteration, Reduction and Taste Loss: Main Causes and Potential Implications on Dietary Habits

(21) Influenza

(22) Therapeutic Uses Of Diuretic Agents

(23) Update on the adverse effects of antimicrobial therapies in community practice

(24) An overview of appetite decline in older people

(25) Subclinical Hypothyroidism

(26) Estrogen Deficiency and the Origin of Obesity during Menopause

(27) Prevalence and associated factors for decreased appetite among patients with stable heart failure

(28) Nutrition in alcohol-related liver disease: Physiopathology and management

(29) Chronic Kidney Disease

(30) Pharmacologic management of human immunodeficiency virus wasting syndrome